ASEAN DIGITAL LITERACY PROGRAMME รู้ทันสื่อสังคมออนไลน์
วันที่เขียน 9/2/2566 16:58:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 9:24:20
เปิดอ่าน: 672 ครั้ง

ปัจจุบันการดำเนินชีวิตประจำวันมีความเกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ โซเซียลมีเดีย โดยเฉพาะในประเทศไทย มีการใช้งานโซเซียลมีเดียเพื่อการติดต่อสื่อสาร การจำหน่ายสินค้า การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ปรากฏในสื่อดังกล่าว มีทั้งข้อมูล สารสนเทศ ที่เป็นจริงและข้อมูลบิดเบือน ผู้ใช้งานควรมีความรู้เท่านั้นสื่อในสังคมออนไลน์ เพื่อความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ เช่น ป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของข่าวสารที่เป็นเท็จ การพลั้งเผลอให้ข้อมูลทางด้านการเงิน ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลความลับขององค์กร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การดำเนินธุรกิจ สร้างความเสียหายต่อองค์กรและตัวบุคคล จากสถิติ พบว่า จำนวนประชากรอาเซียน คิดเป็น 8.58% ของประชากรโลก (จำนวนประชากรโลก 683.3 ล้านคน)

  - มีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกือบร้อยละ 10.0

  - จำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย คิดเป็นร้อยละ 12.7

  - คนวัยทำงานใช้เวลา 3.15 ชม.ต่อวัน บนโซเซียลมีเดีย

  - เยาวชนใช้เวลากับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต  10 ชั่วโมงต่อวัน

  - ประเทศไทยมีอัตราการใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งที่มาของข่าวสูงติดอันดับ 3 ของโลก

  - โซเซียลมีเดีย ที่มีความนิยมใช้งานมากที่สุดในปี 2022 ได้แก่ FB , youtube และ Whatsapp (แหล่งอ้างอิง) https://www.wordstream.com/blog/ws/2022/01/11/most-popular-social-media-platforms

ยุคก่อนอินเทอร์เน็ต ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากแหล่ง ห้องสมุด หนังสือพิม์ โทรทัศน์  ผู้นำชุมชน
เพื่อน/ครอบครัว หรือการบอกต่อ ๆ กัน ซึ่งมีขั้นตอนการกลั่นกรอง ตรวจสอบอย่างเป็นระบบก่อนเผยแพร่ แต่ปัจจุบันข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัลผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เผยแพร่ ส่งต่ออย่างรวดเร็วโดยไม่มีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ผลกระทบของการได้รับข้อมูลจากการใช้งานโซเชียลมีเดียในด้านลบ เช่น

  1. เสี่ยงต่อการเสพติดเป็นโรคซึมเศร้า
  2. ผู้ใช้เงินถูกมิจฉาชีพเชิดเงินในบัญชี
  3. ทำให้ตกเป็นเหยื่อคำโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย
  4. เป็นช่องทางการปุกปั่นก่อให้เกิดความรุนแรง
  5. เป็นช่องทางการกลั่นแกล้ง (bullying)

 ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสารแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. ข้อมูลที่แฝงเจตนาร้าย (Mal-information) ข้อมูลมีพื้นฐานของความจริง แต่ถูกนำไปใช้เพื่อทำร้ายบุคคล องค์กร หรือประเทศ
  2. ข้อมูลเท็จ/ข้อมูลที่ผิด (Misinformation) ข้อมูลสารสนเทศที่ปลอมขึ้นมาหรือเป็นเท็จ แต่บุคคลที่เผยแพร่เชื่อว่าเป็นความจริง จึงอาจจะแชร์ต่อไปโดยไม่ได้ตั้งใจให้เกิดผลเสียหาย
  3. ข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ข้อมูลที่ถูกบิดเบือน ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกไปโดยที่ผู้เผยแพร่รู้แก่ใจว่าไม่เป็นความจริง หรือมีเป้าหมาย คือ เพื่อผลประโยชน์และตั้งใจทำให้เกิดผลเสียหาย

กรณีของข้อมูลบิดเบือน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์และตั้งใจทำให้เกิดผลเสียหาย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. คลิกเบท (Click-Bait) – คอนเทนส์ที่ใช้คำ หรือ รูปภาพพาดหัวเพื่อดึงดูดให้คนคลิกเข้าไปอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมในเว็บไซต์
  2. การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) – การสื่อสารในลักษณะก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทางวาจา การเขียน หรือพฤติกรรมที่โจมตี หรือพฤติกรรมที่เหยียดหยาม หรือเลือกปฏิบัติ โดยพาดพิงถึงอัตลักษณ์ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล
  3. ข้อมูลบิดเบือนทางการเมือง (Political Disinformation) – ข้อมูลที่นำมาใช้ในการแก่งแย่ง แย่งชิงอิทธิพลและอำนาจภายในประเทศ มีเป้าหมายเป็นปัจเจก กลุ่มรณรงค์ หรือพรรคการเมือง
  4. ข้อมูลบิดเบือนจากรัฐบาล (State sponsored) – ข้อมูลที่ถูกสร้างโดยรัฐบาลใน หรือต่างประเทศ เพื่อเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ทางการเมือง เน้นสร้างความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก้อนทางการเมือง

แนวทางต่อสู้/ป้องกันข้อมูลบิดเบือน/ข้อมูลเท็จ

  1. การตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-checking)

         1.1 พิสูจน์อักษร พิสูจน์ความจริงของข้อโต้แย้ง หาแหล่งที่มา

         1.2 ใช้เครื่องมือออนไลน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้าว/ข้อมูล

         1.3 ค้นหาประวัติโปรไฟล์ของผู้โพสต์

  1. 2. สื่อสารมวลชนคุณภาพ (Quality Joumalism)

         2.1 สื่อสารมวลชนคุณภาพ คือ หนึ่งในกลยุทธ์ต่อสู้กับข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน

        2.2 อย่างไรก็ตาม สื่อสารมวลชนคุณภาพมีราคาสูง ไม่สามารถทำผลกำไรได้ กินเวลาและไม่น่าดึงดูดใจเท่าข่าวปลอม

        2.3 หลักฐานพื้นฐานของสื่อมวลชน ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำ มนุษยธรรม ไม่ขึ้นต่อใคร ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความโปร่งใส การเก็บความลับ

  1. ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)

        คือ การที่ไม่หลงเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิดวิเคราะห์ สงสัย และรู้จักตั้งคำถามว่าข้อมูลนั้นจริงหรือไม่จริง ใครเป็นคนให้ข้อมูล คนให้ข้อมูลต้องการสื่ออะไร หรือมีจุดมุ่งหมายแอบแผงหรือไม่

  1. จริยธรรมสื่อ (Media Ethics)

        จริยธรรมสื่อ คือ หลักกาและมาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับความถูกต้อง การพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่ ความสมดุล ความเป็นกลาง และการกรองข้อมูลสู่สาธารณะ

        จริยธรรมสื่อดิจิทัล คือ จริยธรรมที่ครอบคลุมสื่อดิจิทัล ทั้งในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย ปริมาณข้อมูลที่มากเกินไป ความแบ่งแยกทางดิจิทัล ความแบ่งแยกทางเพศและการเซ็นเซอร์

 

ประเทศไทยมีโซเซียลมีเดียแฟลตฟอร์มบน Facebook ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) หรือเว็บไซต์  https://www.antifakenewscenter.com ที่รายงานข่าวปลอมที่เผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์

Facebook ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย หรือ https://www.facebook.com/AntiFakeNewsCenter

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

https://www.wordstream.com/blog/ws/2022/01/11/most-popular-social-media-platforms

https://www.antifakenewscenter.com

https://www.facebook.com/AntiFakeNewsCenter

เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง ASEAN DIGITAL LITERACY PROGRAMME วันที่ 11 มกราคม 2566

          โดยวิทยากร ผศ.ดร.สายัณห์ อุ่นนันกาศ

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1323
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 2:47:19   เปิดอ่าน 33  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 8:26:56   เปิดอ่าน 95  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 2:13:52   เปิดอ่าน 33  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » คุณธรรมจริยธรรมในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย (2)
จรรยาบรรณและจริยธรรม ในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องกับแนวทางเพื่อให้การใช้เทคโนโลยีในงานวิจัย การสอน และการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและถูกต้องตามหลักจริยธรรม
การเข้าถึงและการรวมกลุ่ม  ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ  จรรยาบรรณและจริยธรรม  เทคโนโลยี  แนวทางวิจัยที่มีจริยธรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 1/9/2567 12:56:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 2:13:53   เปิดอ่าน 35  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง