โครงการอบรม เรื่อง “ASEAN DIGITAL LITERACY PROGRAMME”(การรู้เท่าทันสื่อในสังคมออนไลน์)
วิทยากร ผศ.ดร.สายัณห์ อุ่นนันกาศ
วันที่ 11 มกราคม 2566 เวลา 14.00-16.00 น. ณ อาคารจุฬาภรณ์
จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้รับผลประโยชน์ปลายทาง สำหรับนักศึกษา บุคลากร และผู้ที่สนใจ ได้มีความรู้ในด้านการรู้เท่าทันสื่อในสังคมออนไลน์ ความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ลดผลกระทบในเชิงลบของข้อมูลบิดเบือนในประเทศสมาชิกอาเซียน และสร้างภูมิคุ้มกันต่อข้อมูลบิดเบือน และข้อมูลเท็จให้แก่ชุมชนในภูมิภาค
ปัจจุบันการดำเนินชีวิตประจำวันมีความเกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ โซเซียลมีเดีย โดยเฉพาะในประเทศไทย มีการใช้งานโซเซียลมีเดียเพื่อการติดต่อสื่อสาร การจำหน่ายสินค้า การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ปรากฏในสื่อดังกล่าว มีทั้งข้อมูล สารสนเทศ ที่เป็นจริงและข้อมูลบิดเบือน ผู้ใช้งานควรมีความรู้เท่านั้นสื่อในสังคมออนไลน์ เพื่อความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ เช่น ป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของข่าวสารที่เป็นเท็จ การพลั้งเผลอให้ข้อมูลทางด้านการเงิน ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลความลับขององค์กร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การดำเนินธุรกิจ สร้างความเสียหายต่อองค์กรและตัวบุคคล จากสถิติ พบว่า จำนวนประชากรอาเซียน คิดเป็น 8.58% ของประชากรโลก (จำนวนประชากรโลก 683.3 ล้านคน)
- มีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกือบร้อยละ 10.0 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
- จำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย คิดเป็นร้อยละ 12.7
- คนวัยทำงานใช้เวลา 3.15 ชม.ต่อวัน บนโซเซียลมีเดีย
- เยาวชนใช้เวลากับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 10 ชั่วโมงต่อวัน
- ประเทศไทยมีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวัน สูงสุดติดอันดับ 7 ของโลก
- ประเทศไทยมีอัตราการใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งที่มาของข่าวสูงติดอันดับ 3 ของโลก
- โซเซียลมีเดีย ที่มีความนิยมใช้งานมากที่สุดในปี 2022 ได้แก่ FB , youtube และ Whatsapp (แหล่งอ้างอิง) https://www.wordstream.com/blog/ws/2022/01/11/most-popular-social-media-platforms
ในยุคก่อนอินเทอร์เน็ต ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากแหล่ง ห้องสมุด หนังสือพิม์ โทรทัศน์ ผู้นำชุมชน
เพื่อน/ครอบครัว หรือการบอกต่อ ๆ กัน ซึ่งมีขั้นตอนการกลั่นกรอง ตรวจสอบอย่างเป็นระบบก่อนเผยแพร่ แต่ปัจจุบันข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัลผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เผยแพร่ ส่งต่ออย่างรวดเร็วโดยไม่มีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่
ข้อดี-ข้อเสีย ของโซเชียลมีเดีย
- เสี่ยงต่อการเสพติดเป็นโรคซึมเศร้า
- ผู้ใช้เงินถูกมิจฉาชีพเชิดเงินในบัญชี
- ทำให้ตกเป็นเหยื่อคำโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย
- เป็นช่องทางการปุกปั่นก่อให้เกิดความรุนแรง
- เป็นช่องทางการกลั่นแกล้ง (Cyberbullying)
- ผลการเลือกตั้งถูกบิดเบือน
ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ข้อมูลที่แฝงเจตนาร้าย (Mal-information) ข้อมูลมีพื้นฐานของความจริง แต่ถูกนำไปใช้เพื่อทำร้ายบุคคล องค์กร หรือประเทศ
- ข้อมูลเท็จ/ข้อมูลที่ผิด (Misinformation) ข้อมูลสารสนเทศที่ปลอมขึ้นมาหรือเป็นเท็จ แต่บุคคลที่เผยแพร่เชื่อว่าเป็นความจริง จึงอาจจะแชร์ต่อไปโดยไม่ได้ตั้งใจให้เกิดผลเสียหาย
- ข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ข้อมูลที่ถูกบิดเบือน ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกไปโดยที่ผู้เผยแพร่รู้แก่ใจว่าไม่เป็นความจริง หรือมีเป้าหมาย คือ เพื่อผลประโยชน์และตั้งใจทำให้เกิดผลเสียหาย
ข้อมูลบิดเบือน 4 ประเภท ได้แก่
- คลิกเบท (Click-Bait) คอนเทนส์ที่ใช้คำ หรือ รูปภาพพาดหัวเพื่อดึงดูดให้คนคลิกเข้าไปอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมในเว็บไซต์
- การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) การสื่อสารในลักษณะก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทางวาจา การเขียน หรือพฤติกรรมที่โจมตี หรือพฤติกรรมที่เหยียดหยาม หรือเลือกปฏิบัติ โดยพาดพิงถึงอัตลักษณ์ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล
- ข้อมูลบิดเบือนทางการเมือง (Political Disinformation) ข้อมูลที่นำมาใช้ในการแก่งแย่ง แย่งชิงอิทธิพลและอำนาจภายในประเทศ มีเป้าหมายเป็นปัจเจก กลุ่มรณรงค์ หรือพรรคการเมือง
- ข้อมูลบิดเบือนจากรัฐบาล (State Sponsored) ข้อมูลที่ถูกสร้างโดยรัฐบาลใน หรือต่างประเทศ เพื่อเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ทางการเมือง เน้นสร้างความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก้อนทางการเมือง
การปลอมเชิงลึก (Deepfakes) การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น AI หรือ Machine Learning ในการปลอมแปลงรูปภาพ วีดีโอ และคลิปเสียงเพื่อทำให้เกิดการเข้าใจผิด
แนวทางต่อสู้/ป้องกันข้อมูลบิดเบือน/ข้อมูลเท็จ
- การตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-checking)
1.1 พิสูจน์อักษร พิสูจน์ความจริงของข้อโต้แย้ง หาแหล่งที่มา
1.2 ใช้เครื่องมือออนไลน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าว/ข้อมูล เช่น AFP Fact Check, Co-Fact หรือไลน์แม่รู้ดี Bot
1.3 ค้นหาประวัติโปรไฟล์ของผู้โพสต์บน Wikipedia หรือ โซเชียลมีเดีย
- สื่อสารมวลชนคุณภาพ (Quality Journalism)
2.1 สื่อสารมวลชนคุณภาพ คือ หนึ่งในกลยุทธ์ต่อสู้กับข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน
2.2 อย่างไรก็ตาม สื่อสารมวลชนคุณภาพมีราคาสูง ไม่สามารถทำผลกำไรได้ กินเวลาและไม่น่าดึงดูดใจเท่าข่าวปลอม
2.3 หลักฐานพื้นฐานของสื่อมวลชน ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำ มนุษยธรรม ไม่ขึ้นต่อใคร ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความโปร่งใส การเก็บความลับ
- ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)
คือ การที่ไม่หลงเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิดวิเคราะห์ สงสัย และรู้จักตั้งคำถามว่าข้อมูลนั้นจริงหรือไม่จริง ใครเป็นคนให้ข้อมูล คนให้ข้อมูลต้องการสื่ออะไร หรือมีจุดมุ่งหมายแอบแผงหรือไม่
- จริยธรรมสื่อ (Media Ethics)
จริยธรรมสื่อ คือ หลักการและมาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับความถูกต้อง การพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่ ความสมดุล ความเป็นกลาง และการกรองข้อมูลสู่สาธารณะ
จริยธรรมสื่อดิจิทัล คือ จริยธรรมที่ครอบคลุมสื่อดิจิทัล ทั้งในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย ปริมาณข้อมูลที่มากเกินไป ความแบ่งแยกทางดิจิทัล ความแบ่งแยกทางเพศและการเซ็นเซอร์
ประเทศไทยมีโซเซียลมีเดียแฟลตฟอร์มบน Facebook ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand)
หรือเว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com ที่รายงานข่าวปลอมที่เผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์
Facebook ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
https://www.facebook.com/AntiFakeNewsCenter
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
https://www.wordstream.com/blog/ws/2022/01/11/most-popular-social-media-platforms
https://www.antifakenewscenter.com
https://www.facebook.com/AntiFakeNewsCenter