ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 1642
ชื่อสมาชิก : ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panarin@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การจัดแยกประเภท 2.การจัดเก็บของเสีย 3.การบันทึกปริมาณของเสีย 4.การรายงานปริมาณของเสีย 5.การเก็บรวบรวมของเสียก่อนนำไปกำจัด กลุ่มของเสียอันตรายประเภทของแข็ง 5 ชนิด ได้แก่ 1. ขวดสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว (ขวดเปล่า) 2. เครื่องแก้วแตก ชำรุด หรือขวดสารเคมีแตก 3. สารเคมีหมดอายุ เสื่อมสภาพ เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ 4. ขยะปนเปื้อนเชื้อโรค (และเชื้อตัดแต่งพันธุกรรม) 5. ขยะปนเปื้อนสารเคมี กลุ่มของเสียอันตรายพิเศษ 6 ชนิด ได้แก่ 1.วัสดุกัมมันตรังสี 2.เชื้อโรค (และเชื้อตัดแต่งพันธุกรรม) 3.ของเสียจากโรงงานต้นแบบ 4.ปนเปื้อน EtBr 5.ยาเสื่อมสภาพ 6.ยาอันตรายสูง แผนผังการจัดแยกของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย แผนผังการจัดแยกของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย ได้แก่ ของเสียอันตรายชนิดของแข็ง 5 ประเภท ของเสียอันตรายพิเศษ 6 ประเภท ดำเนินการจัดแยกจัดเก็บของเสียโดยใช้แผนผัง และเกณฑ์ข้อกำหนดในการจัดแยกประเภทของเสียสารเคมีและของเสียอันตรายที่ชัดเจน ตามขอบข่ายของประเภทของเสียสารเคมีและของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการที่ได้จัดแยกไว้ ส่วนของเสียอันตรายชนิดของเหลว 18 ประเภท มีความซับซ้อนเนื่องจากของเสียอาจเป็นสารเชิงซ้อนและของผสม ซึ่งต้องมีการจัดการที่เป็นขั้นตอน จัดแยกตามแผนผังการจัดแยกของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย โดยเรียงตามลำดับขั้นของอันตราย ต้องยึดหลักตามแผนผังการจัดแยกของเสียสารเคมีและของเสียอันตรายอย่างเคร่งครัด หลักปฏิบัติในการจัดแยกและจัดเก็บของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย โดยใช้แผนผังและเกณฑ์ข้อกำหนดการจัดแยกประเภทของเสีย ได้แก่ บันทึกชนิด,ปริมาณ,ความเข้มข้นสารเคมี พิจารณากลุ่มสารเคมีตามแผนผังการจัดแยกประเภท ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณากลุ่มสารไวไฟและระเบิดได้ ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก รหัส L12, L13, L18, L19 และ L20 เรียงลำดับขั้นของอันตราย (มากไปหาน้อย) ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณากลุ่มโลหะหนักและสารพิษ รหัส L04, L05, L07, L08, L10 และ L11 เรียงลำดับขั้นของอันตราย (มากไปหาน้อย) คำนวณความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้และความเข้มข้นของสารประกอบที่เป็นของเสียจากการวิเคราะห์ทดสอบ (แบบฟอร์ม HW01) เปรียบเทียบความเข้มข้นของโลหะหนักและสารพิษ ตามมาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม ขั้นตอนที่ 3 การพิจารณากลุ่มสารประกอบเชิงซ้อนอนินทรีย์/อินทรีย์ รหัส L14, L15, L16 และ L17 เรียงลำดับขั้นของอันตราย (มากไปหาน้อย) ขั้นตอนที่ 4 การพิจารณากลุ่มสารที่เป็นกรด ด่าง และเกลือ รหัส L01, L02 และ L03 เรียงลำดับขั้นของอันตราย (มากไปหาน้อย) การจัดเก็บของเสียอันตรายต้องคำนึงถึง 1.ภาชนะบรรจุของเสีย 2.ฉลากของเสีย 3.สถานที่จัดเก็บของเสีย ภาชนะและอุปกรณ์ในการจัดเก็บของเสีย (ถังเก็บของเสียชนิดของเหลว) ทำจากวัสดุ Polyethylene (PE) ทนต่อการกัดกร่อน มีช่องบรรจุขนาดใหญ่ มีฝาปิด มีที่หิ้ว ขนาดบรรจุ 30 ลิตร (สามารถบรรจุของเสียอันตรายที่เป็นของเหลวไม่เกิน 21 ลิตร 70%ของปริมาตรถัง) ภาชนะและอุปกรณ์ในการจัดเก็บของเสีย (ถังเก็บของเสียชนิดของแข็ง) ทำจากวัสดุ Polyethylene (PE) ทนต่อการกัดกร่อน มีช่องบรรจุขนาดใหญ่ มีฝาเปิด และฝาปิดที่สามารถล็อคปิดถังได้ มีที่หิ้ว ขนาดบรรจุ 100 ลิตร (สามารถบรรจุของเสียอันตรายที่เป็นของแข็งไม่เกิน 70%ของปริมาตรถัง) และควรมีถุงพลาสติกรองด้านในถัง ภาชนะและอุปกรณ์ในการจัดเก็บของเสียถาดรอง (ถังเก็บของเสีย) ทำจากวัสดุ Polypropylene (PP) สามารถรองรับถังเก็บของเสียขนาด 30 ลิตร สามารถรองรับการรั่วไหลของของเสียได้ไม่น้อยกว่า 60% ฉลากของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย การติดฉลาก เพื่อให้ทราบว่าสิ่งที่บรรจุอยู่นั้นเป็นของเสียประเภทใด และมีส่วนประกอบอะไร จำนวนเท่าไหร่ ส่วนประกอบของฉลาก วันที่เริ่มบรรจุ วันที่สิ้นสุดการบรรจุ ชื่อหน่วยงานที่ผลิตของเสีย ประเภทของเสีย ส่วนประกอบและปริมาณของเสีย การทำฉลากควรทำ 2 ใบ เพื่อติดด้านบนภาชนะบรรจุของเสีย และติดด้านข้างภาชนะบรรจุของเสีย สถานที่จัดเก็บของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย สถานที่จัดเก็บแยกเป็น 3 ส่วน คือ สถานที่จัดเก็บของเสียภายในห้องปฏิบัติการ สถานที่จัดเก็บของเสียภายในอาคารและสถานที่จัดเก็บรวบรวมของเสียส่วนกลาง และต้องมีป้ายบ่งบอกสถานที่เก็บของเสียอย่างชัดเจน 1.ลักษณะสถานที่จัดเก็บของเสียภายในห้องปฏิบัติการ แยกออกจากส่วนปฏิบัติการ ไม่โดนแดดไม่ร้อน อากาศถ่ายเทได้สะดวก แยกของเสียที่อยู่รวมกับของเสียชนิดอื่นไม่ได้ (Incompatibility) ไม่วางของเสียใกล้แหล่งจุดติดไฟ เก็บของเสียไม่เกิน 200 ลิตรหากเป็นสารไวไฟต้องไม่เกิน 38 ลิตร ควรกำหนดระยะเวลาการเก็บในห้องปฏิบัติการ ควรย้ายไปเก็บที่สถานที่เก็บประจำอาคารทุกเดือน 2.ลักษณะสถานที่จัดเก็บของเสียประจำอาคาร อยู่ชั้นล่างสุดของอาคาร ไม่โดนแดดไม่ร้อน อากาศถ่ายเทได้สะดวก แยกของเสียที่อยู่รวมกับของเสียชนิดอื่นไม่ได้ (Incompatibility) ไม่วางของเสียใกล้แหล่งจุดติดไฟ เก็บของเสียไม่เกิน 3 เดือนให้ย้ายไปสถนที่เก็บส่วนกลาง 3.ลักษณะสถานที่จัดเก็บของเสียส่วนกลางของหน่วยงาน โรงเรือนหรือพื้นที่บริเวณกว้าง ไม่โดนแดดไม่ร้อน อากาศถ่ายเทได้สะดวก แยกของเสียที่อยู่รวมกับของเสียชนิดอื่นไม่ได้ (Incompatibility) ไม่วางของเสียใกล้แหล่งจุดติดไฟ ห้องจัดเก็บมีประตูปิดมิดชิด ส่งกำจัดของเสียที่โรงบำบัดของเสีย บริษัทที่ได้รับใบอนุญาต ขั้นตอนการจัดเก็บของเสียในห้องปฏิบัติการ 1.สวมใส่ PPE (ถุงมือ แว่นตา เสื้อกาวน์) 2.บรรจุของเสียลงในภาชนะตวงเพื่อวัดปริมาณ 3.บันทึกปริมาณของเสียลงในแบบฟอร์มHZW02, 03, 04 4.บรรจุของเสียลงในภาชนะใส่ของเสียไม่เกิน 80% 5.ย้ายถังเก็บของเสียไปเก็บไว้ ณ จุดวางของเสียในห้องปฏิบัติการ
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้วย ESPReL Checklist ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือ 1.องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย ต้องมีการกระตุ้นในทุกระดับทั้งองค์กร ในการบริหารจัดการจะเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ประกอบด้วย 1. นโยบายและแผน สามารถทำได้ทุกระดับ ระดับห้องปฏิบัติการ ระดับหน่วยงาน ระดับองค์กรที่จะกลยุทธ์ในการบริหารจัดการรวมถึงการมีระบบรายงานและระบบการตรวจติดตาม มีแผนปฏิบัติการที่ประกอบด้วยกิจกรรมด้าน ความปลอดภัยต่างๆ มีการสื่อสารให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรับทราบ และการเพิ่มพูนความรู้และการฝึกทักษะด้วยการอบรมอย่างสม่ำเสมอ 2. โครงสร้างการบริหาร ด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการต้องมีองค์ประกอบชัดเจน 3 ส่วน คือ ส่วนอำนวยการ ส่วนบริหารจัดการ ส่วนปฏิบัติการ 3. ผู้รับผิดชอบระดับต่างๆ มีการแต่งตั้ง ระบุบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนและมีรายงานการปฎิบัติการเพื่อการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องปฏิบัติตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดของการปฏิบัติการที่ดี สำรวจรวบรวมวิเคราะห์ประเมินและจัดการความเสี่ยงในระดับบุคคล/โครงการ/ห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ เข้าร่วมกิจกรรมและรับการอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยที่เหมาะสมของหน่วยงาน/ห้องปฏิบัติการ เช่น การจัดการความเสี่ยงการซ้อมรับมือเหตุฉุกเฉินฯลฯ จัดทำระบบเอกสารที่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบความปลอดภัยให้ทันสมัยอยู่เสมอ จัดทำรายงานการดำเนินงานความปลอดภัยการเกิดภัยอันตรายและความเสี่ยงที่พบเสนอต่อผู้บริหาร องค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี 1. การจัดการข้อมูลสารเคมีระบบบันทึกข้อมูลหมายถึงระบบบันทึกข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ/ หน่วยงาน/องค์กร เพื่อใช้ในการบันทึกและติดตามความเคลื่อนไหวของสารเคมีทั้งหมด ได้แก่ ชื่อสารเคมี CASno.(ถ้ามี) ประเภทความเป็น อันตรายของสารเคมี ปริมาณ 2. การเก็บสารเคมี ได้แก่ ข้อกำหนดทั่วไปในการจัดเก็บสารเคมี ข้อกำหนดสาหรับการจัดเก็บสารไวไฟ ข้อกำหนดสาหรับการจัดเก็บสารกัดกร่อน ข้อกำหนดสำหรับการจัดเก็บแก๊ส ข้อกำหนดสำหรับการจัดเก็บสารออกซิไดซ์ ข้อกำหนดสาหรับการจัดเก็บสารที่ไวต่อปฏิกิริยา ข้อกำหนดเกี่ยวกับภาชนะบรรจุภัณฑ์และฉลากสารเคมี เอกสารข้อมูลความปลอดภัย 3. การเคลื่อนย้ายสารเคมี สิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลักคือ ความเป็นอันตรายของสารเคมี ความเข้ากันไม่ได้(incompatibility) การเคลื่อนย้ายสารเคมี การเคลื่อนย้ายภายในห้องปฏิบัติการ การเคลื่อนย้ายภายนอกห้องปฏิบัติการควรทำให้ถูกวิธีทั้งการเคลื่อนย้ายภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการ เช่น มีรถเข็น มีภาชนะรองขวดสารเคมีเพื่อป้องกัน การตกแตก และตัวดูดซับเพื่อป้องกันการประแทกกันระหว่างขนส่ง องค์ประกอบที่ 3 ระบบการจัดการของเสีย จะต้องทราบลักษณะงานที่ปฏิบัติและสารเคมีที่ใช้งานเพื่อจะได้ทราบวิธีการจัดการและกำจัดอย่างถูกต้อง 1.การจัดการข้อมูลของเสีย มีระบบบันทึกข้อมูล หมายถึงระบบบันทึกข้อมูลของเสียสารเคมี ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ/หน่วยงาน/องค์กรเพื่อใช้ในการบันทึกและติดตามความเคลื่อนไหวของเสียสารเคมีทั้งหมด ระบบรายงานข้อมูลของเสีย และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ 2.การเก็บของเสีย จัดเก็บของเสียให้ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการของเสียได้แก่ การจำแนกประเภทของเสีย ห้องปฏิบัติการควรมีการจำแนกประเภท/การจัดเก็บของเสียให้ถูกต้องเหมาะสมตามเกณฑ์ของระบบมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับเพื่อการจัดเก็บบาบัดและกำจัดที่ปลอดภัยทั้งนี้อ้างอิงเกณฑ์ตามระบบมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บของเสีย ข้อกำหนดเกี่ยวกับภาชนะบรรจุ ฉลากของเสีย ความสมบูรณ์ของภาชนะ มีภาชนะรองรับขวดของเสียกำหนดปริมาตรและการส่งกำจัดและตำแหน่งการวางของเสีย 3. การกำจัดของเสีย ได้แก่ การบำบัดของเสียก่อนทิ้ง การบำบัดของเสียก่อนส่งกำจัด การส่งกำจัด 4. การลดการเกิดของเสีย ใช้หลักการ การลดการใช้สารตั้งต้น (Reduce) , Recovery และ Recycle เพื่อลดปริมาณก่อนทิ้งและกำจัดได้ และการใช้สารทดแทน (Replace) องค์ประกอบที่ 4 ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือประกอบด้วย 1.งานสถาปัตยกรรม และงานสถาปัตยกรรมภายใน มีสภาพภายนอกและภายในห้องปฏิบัติการที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ไม่มีการวางของรกรุงรัง/สิ่งของที่ไม่จำเป็น หรือ ขยะจำนวนมาก ตั้งอยู่บนพื้นห้องหรือเก็บอยู่ภายในห้อง ขนาดพื้นที่ห้องปฏิบัติการเหมาะสมและเพียงพอกับกิจกรรม/การใช้งาน/จำนวนผู้ใช้/ปริมาณเครื่องมือและอุปกรณ์ และมีการแยกส่วนที่เป็นพื้นที่ห้องปฏิบัติการ (Lab) ออกจากพื้นที่อื่นๆ 2.งานวิศวกรรมโครงสร้าง ไม่มีการชารุดเสียหายบริเวณโครงสร้าง ไม่มีรอยแตกร้าวตามเสา –คานมีสภาพภายนอกและภายในห้องปฏิบัติการที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย โครงสร้างอาคารสามารถรองรับนheหนักบรรทุกของอาคารได้ 3.งานวิศวกรรมไฟฟ้า มีแสงสว่างธรรมชาติหรือแสงประดิษฐ์พอเพียงและมีคุณภาพเหมาะสมกับการทางานโดยอ้างอิงตามกฎกระทรวงฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2552 และตามเกณฑ์ของสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย (TIEA) สายไฟถูกยึดอยู่กับพื้นผนังหรือเพดานไม่ควรมีสายไฟที่อยู่ในสภาพการเดินสายไม่เรียบร้อย 4.งานวิศวกรรมสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม มีระบบน้ำดี/น้ำประปาที่ใช้งานได้ดี มีการเดินท่อและวางแผนผังการเดินท่อ อย่างเป็นระบบและไม่รั่วซึม การแยกระบบน้ำทิ้งทั่วไปกับระบบน้ำทิ้งปนเปื้อนสารเคมีออกจากกัน มีระบบบำบัดน้ำเสียแยก เพื่อบำบัดน้ำทิ้งทั่วไป กับน้ำทิ้งปนเปื้อนสารเคมีออกจากกัน ก่อนออกสู่รางระบายน้ำสาธารณะ 5.งานวิศวกรรมระบบปรับอากาศและระบายอากาศ มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมกับการทำงานและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ เช่น มีการติดตั้งระบบระบายอากาศด้วย พัดลมดูดอากาศให้มีการดำเนินการติดตั้งในตำแหน่งและปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงานและสภาพแวดล้อม (~5vol/hr) การติดตั้งระบบปรับอากาศในตำแหน่งและปริมาณที่เหมาะส
การอบรมหลักสูตรความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (BSL-2) ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) คือการใช้แนวคิด มาตรการของ Containment principles, Technologies, และ Practices ที่ช่วยในการป้องกัน การติดเชื้อหรือการหลุดรอดของเชื้อโรค หรือสารพิษ โดยไม่ได้ตั้งใจต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นหรือสุขภาพของบุคคลอื่น หรือ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม โดยมี BSL เป็นระดับความปลอดภัยของ biocontainment ที่เหมาะสมกับการทำงานกับเชื้อที่มีความรุนแรงในแต่ละระดับ ได้แก่ Biosafety level 1 (BSL1) เป็นระดับความปลอดภัยพื้นฐาน สามารถท างานกับเชื้อโรคกลุ่มที่ 1 เชื้อที่ไม่ก่อโรคในคนหรือ สัตว์ หรือพืช หรือเชื้อโรคที่มีความเสี่ยงน้อยหรืออันตรายน้อย Biosafety level 2 (BSL2) ใช้ทำงานกับ 1) เชื้อโรคกลุ่มที่ 2 เชื้อทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์ หรือเชื้อโรคที่มีความเสี่ยงปานกลางหรืออันตราย ปานกลาง และไม่สามารถกระจายในอากาศ 2) พิษจากสัตว์ทุกกลุ่ม 3) สารชีวภาพทุกกลุ่ม ผู้รับผิดชอบต้องประเมินความเสี่ยง และบริหารจัดการให้เหมาะสม Biosafety level 3 (BSL3) ใช้ทำงานกับเชื้อโรคกลุ่มที่ 3 เชื้อทำให้เกิดโรคร้ายแรงในคนและสัตว์ หรือเชื้อโรคกลุ่มที่ 2 ที่มีโอกาส แพร่กระจายทางอากาศ หรือเชื้อโรคที่มีความเสี่ยงสูงหรืออันตรายสูง ผู้รับผิดชอบต้องประเมินความเสี่ยง และบริหารจัดการให้ เหมาะสม Biosafety level 4 (BSL4) ใช้ทำงานกับเชื้อโรคกลุ่มที่ 4 เชื้อทำให้เกิดโรคร้ายแรงมากในคนและสัตว์ ไม่มียารักษา หรือเชื้อโรคที่มีความเสี่ยง สูงมากหรืออันตรายสูงมาก ผู้รับผิดชอบต้องประเมินความเสี่ยง และบริหารจัดการให้เหมาะสม โครงการต้องผ่าน การพิจารณาจากคณะกรรมการเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ก่อนการดำเนินงาน การบริหารจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ เป็นขบวนการจัดการความเสี่ยงในการทำงานกับเชื้อก่อโรคและพิษใน ห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ (สถานปฏิบัติการ) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานและข้อปฏิบัติ ที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) และการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของเชื้อก่อโรคและพิษเหล่านั้น มีอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล เพื่อทราบชนิด และลักษณะการใช้ งานของอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE) และเลือกใช้อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE) ได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัยทาง ชีวภาพ การทำลายเชื้อโรคเพื่อการลดการปนเปื้อน (Decontamination) กระบวนการเพื่อขจัดหรือลดความเป็นอันตรายเนื่องจากวัสดุ ติดเชื้อ จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการ ขยะติดเชื้อ มูลฝอยติดเชื้อ และ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ จัดการกรณีเกิดเหตุสารชีวภาพหกหล่น/ รั่วไหลเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจตรงกัน มีแนวทางปฏิบัติงานมีทิศทางเดียวกันทั้งหมด ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน สามารถใช้เป็นแนวทางขององค์กร สถานปฏิบัติการ ในการจัดการขั้นตอนการปฏิบัติให้เป็นมาตรฐาน
- ยังไม่มีรายการคำถาม
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทางวิชาการ รวมทั้งเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่สาธารณะ ในรูปแบบของการเสวนาวิชาการ และการนำเสนอบทความ ซึ่งการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLOs) ในเรื่องของการมีทักษะการปฏิบัติงาน และทักษะการแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร รวมถึงสาขาที่เกี่ยวข้อง เพราะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการพัฒนาการเกษตรสร้างมูลค่าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เข้าใจถึงปัญหาซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการวิจัยและแก้ไขปัญหาได้อย่างสัมฤทธิ์ผล และสามารถทำงานวิจัยเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกันในการนำผลงานวิจัยต่อยอดขยายผลสร้างประโยชน์ต่อองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างแท้จริง สำหรับการการนำเสนอผลงานวิจัยหัวข้อที่สนใจคือ การใช้เทคโนโลยีการปลูกพืชไร้ดิน การปลูกพืชอินทรีย์ และการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกลับมาใช้ใหม่ เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชผัก เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ในด้านผลของระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ต้นสับปะรดสี พบว่าความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตต้นสับปะรดสี สามารถนําไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการ ปลูกเลี้ยงต้นสับปะรดสี และนําข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดทางการค้าในอนาคตต่อไปได้ และ ประเทศไทยมีเศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวจํานวนมหาศาล การหาวิธีการใช้ประโยชน์จึงมีความสําคัญ เช่นการนํามาเป็นวัสดุเพาะต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรเพื่อให้ได้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สูง และใช้เวลาการผลิตสั้นกว่า การใช้เศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร และวัสดุเพาะจากพีทมอสผสมวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล อัตราส่วน 50:50 โดยปริมาตรมีศักยภาพในการเพาะต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรให้มีปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์สูงได้ หรือมีการนำเอาชีวนวัตกรรมวัสดุปรับปรุงดินจากก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเก่าหมักร่วมกับวัตถุดิบอินทรีย์เหลือทิ้งทางการเกษตรโดยใช้เอนโดไฟติกแบคทีเรียเป็นหัวเชื้อในการผลิตสามารถจัดอยู่ในเกณฑ์วัสดุปรับปรุงดินคุณภาพสูงที่กรมพัฒนาที่ดินได้กําหนดไว้ หรือแม้กระทั่งผลของชนิดพลาสติกฟิล์มต่อการเจริญเติบโต คุณภาพและผลผลิตของ ผักกาดหอมพลาสติกคลุมหลังคาโรงเรือนถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความจําเป็นต่อการปลูกพืชในโรงเรือน ดังนั้นการเลือกชนิดของพลาสติกคลุมหลังคาจึงมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต โดยสรุปพบว่าการปลูกด้วยพลาสติกสีขาวและสีเหลืองมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกด้วยพลาสติกสีแดง
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2564 : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นโยบายส่งเสริมความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและการขับเคลื่อน (พ.ศ. 2562 –2665) และมาตรการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ • มุ่งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับชาติและนานาชาติผลักดันให้เกิดการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารอันตรายซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในด้านมาตรฐานการวิจัยอย่างเป็นระบบ • มุ่งขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพโดยเชื่อมโยงกับการจัดสรรทุนวิจัย • มุ่งพัฒนาระบบการจัดการและสร้างเครือข่ายเพื่อความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและขยายผลครอบคลุมสารอันตราย • พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ทั้งผู้วิจัย ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง และร่วมมือในการดาเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย • สร้างความเข้มแข็งให้หน่วยงานเครือข่ายมีบุคลากรทุกระดับที่มีความสามารถในการบริหารจัดการรวมถึงระบบตรวจสอบติดตามความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี • เกิดมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเทียบได้กับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ ก่อให้เกิดประโยชน์ของมาตรฐานการวิจัยดังนี้ 1) ปกป้องคุ้มครองสิทธิของอาสาสมัคร 2) ป้องกันความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพมนุษย์ และความหลากหลายทางชีวภาพ 3) ผลการวิจัยได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับสากล 4) ควบคุมการเลี้ยง และการใช้สัตว์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจรรยาบรรณ 5) ป้องกันความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการและสิ่งแวดล้อม 6) รักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงของนักวิจัย การประเมินในระบบการสำรวจสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558) โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (2555) ได้ให้ความหมายของ ห้องปฏิบัติการปลอดภัยว่า คือ ห้องปฏิบัติการที่มีการป้องกันและลดความเสี่ยงอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกิดความปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มาตรฐาน ESPReLChecklist ได้แก่ ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ การบริหารระบบ การจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ลักษณะ ทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบการจัดการของเสีย ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลและเอกสาร การจัดการข้อมูลสารเคมี และการจัดการความเสี่ยงระบบการจัดการสารเคมี ข้อมูลที่มีความจำเป็นต้องทราบ สารนั้นคืออะไร ปริมาณมากน้อยแค่ไหน ความเป็นอันตรายอย่างไร การจัดเก็บปลอดภัยต้องทำอย่างไร การใช้งานอย่างไรต้องปลอดภัย หลักเกณฑ์ทั่วไปในการจัดเก็บสารเคมีอย่างปลอดภัย • ต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง มากเท่าไหร่ และความเสี่ยงอย่างไร • เก็บสารเคมีในภาชนะที่เหมาะสม มีฉลากชัดเจน มีการตรวจสอบสม่ำเสมอ • แยกตามความเป็นอันตราย /ความเข้ากันไม่ได้ • เก็บสารเคมีในตู้บริเวณเหมาะสมและป้ายเตือนอันตรายที่ชัดเจนไม่วางขวดบนพื้นหรือโต๊ะปฏิบัติการ • ไม่เก็บสารไวไฟไว้มากเกินไป • มีเอกสาร SDS ของสารเคมีทุกชนิดที่จัดเก็บ • มีการประเมินความเสี่ยง การจัดเตรียมมาตรฐานรองรับเหตุฉุกเฉินที่เหมาะสม
การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ การประเมินค่างาน (Job Evaluation) เป็นเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ใน การกำหนดระดับตำแหน่งและอัตราการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฏิบัติงานใน ตำแหน่งงานต่าง ๆ ในองค์กร บนหลักการที่ยึดถืองานเป็นหลัก การประเมินค่างาน เป็นการเปรียบเทียบความความสำคัญ ความยาก และคุณภาพของงานในความรับผิดชอบของตำแหน่งต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการกาหนดระดับตำแหน่ง หรืออัตราค่าตอบแทนของตำแหน่ง ต่างๆ ที่เป็นระบบ เหมาะสมและเป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานใน องค์กร “ไม่ใช่ประเมินตัวบุคคล” และ “ไม่ใช่วัดเชิงปริมาณงาน” กระบวนการก่อนประเมินค่างาน คือการวิเคราะห์งาน ประกอบด้วย 1.การวิเคราะห์โครงสร้าง ภารกิจ ความสัมพันธ์ของตำแหน่ง เป็นการจัดแบ่งงานและภาระงานในหน่วยงาน ตามสายการบังคับบัญชาและ มีความสัมพันธ์ของตำแหน่งต่างๆ 2.การวิเคราะห์ลักษณะงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานและลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3.การวิเคราะห์คุณภาพและความยุ่งยากซับซ้อนของงาน ระดับความรับผิดชอบ ระดับการตัดสินใจ และระดับของผลกระทบ และระดับความเสี่ยง หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน 1. ต้องเข้าใจงาน ผู้ประเมินต้องมีความเข้าใจลักษณะงานที่ปฏิบัติ โดยจะต้องมีการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) พิจารณาหน้าที่ความ รับผิดชอบของตำแหน่งที่จะประเมินว่าจำเป็นต้องใช้ผู้มีความสามารถ อย่างไรมาดำรงตำแหน่ง หากไม่เข้าใจงานจะไม่สามารถประเมินได้อย่าง ถูกต้อง 2. ประเมินค่างาน ไม่ใช่ ประเมินค่าคน ในการประเมินค่างานจะต้อง คำนึงถึง “งานของตำแหน่ง” เท่านั้น ไม่ใช่ ประเมินบุคคลที่ครอง ตำแหน่ง หรือการประเมินบุคคลเพื่อเลื่อนตำแหน่ง หรือการประเมินผล การปฏิบัติงานของบุคคล 3. มีมาตรฐาน ในการกำหนดองค์ประกอบในการประเมินค่างานนั้น จะต้องสะท้อนกับงานปัจจุบัน และสอดคล้องกับโครงสร้างค่าตอบแทน หรือระดับตำแหน่งที่เป็นมาตรฐานกลาง 4. ไม่มีอคติ ผู้ประเมินจะต้องมีการดำเนินการวิเคราะห์งาน และตีค่า งานของตำแหน่งอย่างเป็นธรรม โดยไม่นาความรู้สึกส่วนตัวมาพิจารณา ประเมินค่างาน 5.ตรวจสอบให้แน่ใจ เพื่อความเที่ยงตรงและแม่นยำในการประเมิน ค่างาน ในขั้นตอนสุดท้ายควรตรวจสอบวัตถุประสงค์หลักของงานที่บ่งบอกลักษณะที่ปฏิบัติของตำแหน่งว่าตรงกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งหรือไม่ ตลอดจนตรวจสอบความสอดคล้องกับการประเมินค่างานแต่ละองค์ประกอบ และอาจต้องมีการตรวจสอบความสัมพันธ์หรือ เทียบเคียงกับตำแหน่งอื่นในองค์กรหรือนอกองค์กรด้วย สิ่งที่ต้องเตรียมในการประเมินค่างาน 1.วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ขององค์กร 2.หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน 3.มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 4.ภาระงานของตำแหน่ง และแบบประเมินค่างาน สิ่งที่เป็นหลักสำคัญของตำแหน่ง คือ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพของงาน และความรู้ความสามารถที่ต้องการ สิ่งที่ไม่นำมาพิจารณาในการประเมินค่าคือ 1.ความขยัน 2.ประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงาน 3.บุคลิก ลักษณะ บุคคล 4.วุฒิการศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้อง 5.ความอาวุโส 6.ปริมาณงาน
“Smart Laboratory : ระบบออนไลน์กับการพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการ” ในสังคมยุคปัจุบันระบบออนไลน์ ต่างๆมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการทำงานประจำวัน ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวก ง่ายต่อระบบการจัดการ ทำให้การทำงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบออนไลน์ที่นำมาใช้ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ • QR_LIMS ระบบสารสนเทศ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ยุคไทยแลนด์ 4.0 ระบบ ออนไลน์นี้เกิดขึ้นจากปัญหา ความไม่สะดวกในการจัดเก็บข้อมูล มีข้อมูลจำนวนมาก การบันทึกข้อมูลอยู่ในรูปแบบกระดาษ การดำเนินการมีความล่าช้า เจ้าหน้าที่มีน้อย การดำเนินงานด้วยมือ ความไม่สะดวกของลูกค้าที่เข้ามารับการติดต่อบริการ ความไม่สะดวกในการจัดทำรายงานต่อผู้บริหาร มีแนวทางสำหรับการจัดการของระบบขาดประสิทธิภาพ คือ การนำ QR_LIMS เข้ามาใช้เพราะSmart lab สามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพและเพิ่มรายได้ โดยได้ดำเนินการ จัดการข้อมูลให้เป็นระบบง่ายต่อการเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ ตรวจสอบการทำงานได้ง่าย ทำงานได้รวดเร็วประหยัดเวลาลดขั้นตอนไม่มีข้อจำกัดในการทำงาน ปรับการทำงานให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ง่าย เป็นความสะดวกของผู้บริหารในการพัฒนาด้านการตลาดโดยวิเคราะห์จากฐานข้อมูลลูกค้า บุคลากรทุกคนทางานแทนกันได้ทางานได้เต็มประสิทธิภาพ • การจัดการครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เหตุผลสำคัญที่ต้องนำหลักการจัดการดังกล่าวนี้มา ใช้เพราะเกิดจากปัญหา ผู้ใช้บริการใช้งานเครื่องมือไม่ถูกต้อง ผู้ดูแลไม่มีเวลาสอนใช้ รบกวนเวลาทางานอื่น เครื่องมือเสียหาย ทาให้กระทบกับงาน เสียงบประมาณซ่อมและเสียเวลาในการรอซ่อม และประโยชน์ของการนำสื่อวีดีโอมาใช้จัดการเครื่องมือ คือผู้ใช้บริการใช้งานเครื่องมือได้อย่างถูกต้อง ผู้ดูแลไม่ต้องมาคอยสอนการใช้ซ้ำ ผู้ใช้บริการสามารถดูวีดีโอซ้ำได้หลายๆรอบ ลดความเสียหาย้องเครื่องมือและ ลดงบประมาณการซ่อมสามารถส่งสื่อวีดีโอให้กับผู้รับบริการได้ศึกษาการใช้ล่วงหน้าได้ • การจองใช้เครื่องมือด้วยระบบออนไลน์ เกิดจากปัญหา การเข้าถึงข้อมูลยาก ความล้าช้าจาก ขั้นตอนการเบิก ไม่มีการตัดStockทันที ทำให้ปริมาณคงเหลือไม่เป็นปัจจุบัน สิ้นเปลืองกระดาษในการกรอกแบบฟอร์มเบิก ดังนั้นเป้าหมายของระบบการจองเครื่องมือด้วยระบบออนไลน์ คือ พัฒนาระบบการเบิกจ่ายให้ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาระบบการเบิกจ่ายให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการอย่างทันท่วงที รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา เพิ่มความสุขความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการ • การเบิกคืนเครื่องแก้วแบบออนไลน์ เหตุผลหลักปัญหาของการนำระบบออนไลน์การเบิกคืน เครื่องแก้วมาใช้ เพราะยังมีการใช้ระบบเบิกจ่ายที่เขียนลงในกระดาษ ไม่มีการจัดเก็บลงในระบบอิเลกทรอนิค จึงทำให้เกิดปัญหาขาดขั้นตอนการเบิก-คืนที่ชัดเจน ไม่สะดวกในการเบิก หรือคืนการติดตามการคืนที่ยาก ดังนั้นการทำขั้นตอนที่ชัดเจนและมีโปรแกรมออนไลน์ช่วยจัดการจะสามารถดำเนินงานได้สะดวกมากขึ้น • ระบบการจองใช้ เครื่องมือออนไลน์ด้วย โปรแกรม Trello จุดเริ่มต้นของปัญหาการนำระบบนี้มาใช้ เพราะเครื่องมือมีราคาแพง มีความซับซ้อนในการใช้งาน มีนักวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ มีการใช้กระดาษในการเขียนจองจำนวนมาก การจองต้องติดต่อนักวิทยาศาสตร์โดยตรงทำให้ไม่ได้รับความสะดวก การรับแจ้งเครื่องมีปัญหาระหว่างการทดสอบล่าช้าเสียเวลา การจองต้องเดินทางมายังห้องปฏิบัติการ การขอใช้เครื่องซ้ำกันในวันเดียวกัน มีข้อผิดพลาดในการจองเช่นลืมวันจองใช้เครื่องมือ ไม่สามารถวางแผนการทำงานได้ล่วงหน้าเพราะไม่เห็นตารางการใช้เครื่องมือ และเมื่อมีการนำระบบจองเครื่องมือออนไลน์ด้วยโปรแกรม Trello มาใช้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นได้ดี ทำให้ลดความผิดพลาดของการจองใช้เครื่องมือได้ • การพัฒนาการจองห้องปฏิบัติการออนไลน์ การพัฒนาระบบจองห้องนี้เกิดจากความต้องการใช้ ห้องปฏิบัติการนอกเวลาของนักศึกษา เพื่อปฏิบัติและทดสอบโปรแกรม อ่านหนังสือ เพื่อการประชุมหรือการติวหนังสือก่อนสอบ แต่นักศึกษายังใช้ระบบการจองแบบเก่าด้วยการกรอกแบบฟอร์มหรือการจดลงในสมุดและเดินทางไปห้องเจ้าหน้าที่เพื่อส่งแบบฟอร์มและรอการอนุมัติการในการใช้ห้อง แนวทางแก้ไขสามารถทำได้โดยการนำเอาระบบการจองห้องปฏิบัติการแบบออนไลน์เข้ามาใช้ทำให้เกิดความสะดวกสบายทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการ
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เพื่อขยายขอบข่ายการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้ครอบคลุมตามนโยบายและแนวทางในการกำกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน และเพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง สำหรับการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ จะประกอบด้วยการจัดการข้อมูลของเสีย ,การจำแนกประเภทของของเสีย ,การรวบรวมและจัดเก็บของเสีย ,การบำบัดและกำจัดของเสีย ,การตรวจติดตามการประเมินและรายงานผลการดำเนินการด้านต่างๆของการจัดการของเสีย และการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านองค์ประกอบที่ 4-7 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558)” การดำเนินงานของห้องปฏิบัติการก่อให้เกิดการพัฒนาความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการได้นำเอาเครื่องมือเพื่อ การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า ESPReL Checklist1 ซึ่งเป็นรายการสำรวจสำหรับประเมิน สถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เครื่องมือนี้แสดงจุดแข็ง จุดอ่อนของการจัดการด้านต่างๆ ที่สามารถนาไปใช้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงอย่างเป็น ระบบได้ เมื่อ วช. ดำเนินงานจนมีความพร้อมของเครื่องมือระดับหนึ่ง จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดย การพัฒนา ESPReLChecklist ไปเป็นมาตรฐานระดับชาติ คือ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความ ปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี” (มอก. 2677–2558) ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ 1. สามารถนำระบบการจัดการสารเคมีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการสารเคมี การเก็บสารเคมี การเคลื่อนย้ายสารเคมี ในห้องปฏิบัติการให้ถูกต้องและปลอดภัยตามหลักสากล 2. เข้าใจหลักการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการกับของเสีย การจำแนก และรวบรวมของเสียในห้องปฏิบัติการของตนเองให้ถูกต้องและปลอดภัย 3. เข้าใจหลักการมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระดับพื้นฐาน ESPRel Checklist และได้ทดลองฝึกปฏิบัติการใช้งาน ESRel Checklist เพื่อสำรวจสถานภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ 4. สามารถนำเกณฑ์พื้นฐาน ESPRel Checklist เบื้องต้นมาทดลองประยุกต์ใช้เบื้องต้นในห้องปฏิบัติการ
- ยังไม่มีรายการคำถาม
เข้าร่วมโครงการการพัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร ISO 22000: 2018 และ FSSC 22000 Version 5 ในระหว่างวันเสาร์ที่ 21 และวันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
12