วิธีการเตรียมสไลด์ถาวรเพื่อแสดงการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
วันที่เขียน 26/9/2566 11:21:21     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/9/2567 19:30:14
เปิดอ่าน: 204 ครั้ง

การเตรียมสไลด์ถาวรเพื่อศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเผยแพร่วิธีการเตรียมสไลด์ ให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในหลักสูตรพันธุศาสตร์ ได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนต่อไป การศึกษาตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตหรือส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยผนึกลงบนสไลด์ แล้วนำมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นวิธีการที่ดีทําให้สามารถศึกษาส่วนประกอบที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ การทําสไลด์ถาวร จะช่วยให้ศึกษาถึงรายละเอียดของสิ่งมีชีวิตได้ มีความสะดวกในการใช้งาน ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวอย่างพืช (ดอกข้าวโพด) และไม่เสียเวลาทําใหม่เหมือนกับสไลด์ชั่วคราว

ขั้นตอนการทำสไลด์ถาวร

การเตรียมสไลด์โดยวิธีsquash technique

  1. เลือกดอกข้าวโพดที่มีขนาดแตกต่างกันประมาณ 4-6 ดอกย่อย นำมาวางเรียงบนสไลด์
  2. แกะอับเรณูออกจากดอกย่อยของข้าวโพดที่มีจำนวน 3 อัน/ดอกย่อย
  3. หยดสีย้อมโครโมโซมอะซีโต-ออร์ซีนบนอับเรณู ทิ้งไว้นาน 8 นาที ในระหว่างรอให้ใช้มีดตัด หรือหั่นอับเรณูให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อทำให้เซลล์ microsporocytes หลุดออกจากผนังของอับเรณูและให้สีย้อมเข้าไปในอับเรณูได้ดียิ่งขึ้น
  4. ใช้ปากคีบคีบผนังของอับเรณูและชิ้นส่วนอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่ทิ้งไป ปิดสไลด์ด้วยโคเวอร์กลาส ใช้กระดาษซับซับสีส่วนเกินออก
  5. กดสไลด์ด้วยวิธี squash technique ทำโดยนำกระดาษซับวางบนโต๊ะที่เรียบสม่ำเสมอ ไม่มีวัสดุอื่นๆ อยู่ใต้กระดาษซับ เพราะเมื่อกดสไลด์จะแตก วางสไลด์บนกระดาษซับ วางกระดาษซับปิดบนโคเวอร์กลาสบริเวณมุมด้านซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดที่กระดาษซับบริเวณที่อยู่บนโคเวอร์กลาสเพื่อไม่ให้โคเวอร์กลาสขยับ แล้วใช้กระดาษซับอีกแผ่นหนึ่งปิดทับโคเวอร์กลาสในส่วนที่เหลือจากนั้นจึงใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดบนกระดาษซับตรงบริเวณที่มีเซลล์อยู่

 การเตรียมสไลด์ถาวร

  1. อุ่นสไลด์ที่เตรียมโดย squash technique ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที
  2. จุ่มสไลด์ในสารละลาย Acetic acid: Butanol (1:1) นาน 5 นาที
  3. จุ่มสไลด์ในสารละลาย Acetic acid: Butanol (1:3) นาน 5 นาที
  4. จุ่มสไลด์ในสารละลาย Butanol นาน 5 นาที
  5. แยกกระจกปิดสไลด์ออกจากสไลด์ วางบนกระดาษซับ ผึ่งให้แห้ง
  6. หยดน้ำยา permount บนสไลด์แผ่นใหม่ แล้วใช้กระจกปิดสไลด์จาก ข้อ 5 ที่ผึ่งแห้งแล้วปิดทับ กดกระจกปิดสไลด์ให้แนบกับสไลด์ ไม่ให้มีฟองอากา
  7. หยดน้ำยา permount บนสไลด์ที่ผึ่งให้แห้งจากข้อ 5 แล้วใช้กระจกปิดสไลด์แผ่นใหม่ปิดทับ กดกระจกปิดสไลด์ให้แนบกับสไลด์ ไม่ให้มีฟองอากาศ
  8. ทิ้งไว้ให้แห้ง ประมาณ 2 วัน แล้วจึงเก็บใส่กล่อง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1387
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/9/2567 15:28:23   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/9/2567 10:56:23   เปิดอ่าน 94  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง