การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
วันที่เขียน 12/11/2564 10:38:28     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 9:18:54
เปิดอ่าน: 1543 ครั้ง

การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

การประเมินค่างาน (Job Evaluation) เป็นเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ใน การกำหนดระดับตำแหน่งและอัตราการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฏิบัติงานใน ตำแหน่งงานต่าง ๆ ในองค์กร บนหลักการที่ยึดถืองานเป็นหลัก การประเมินค่างาน เป็นการเปรียบเทียบความความสำคัญ ความยาก และคุณภาพของงานในความรับผิดชอบของตำแหน่งต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการกาหนดระดับตำแหน่ง หรืออัตราค่าตอบแทนของตำแหน่ง ต่างๆ ที่เป็นระบบ เหมาะสมและเป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานใน องค์กร “ไม่ใช่ประเมินตัวบุคคล” และ “ไม่ใช่วัดเชิงปริมาณงาน”

 

กระบวนการก่อนประเมินค่างาน คือการวิเคราะห์งาน ประกอบด้วย

1.การวิเคราะห์โครงสร้าง ภารกิจ ความสัมพันธ์ของตำแหน่ง เป็นการจัดแบ่งงานและภาระงานในหน่วยงาน ตามสายการบังคับบัญชาและ มีความสัมพันธ์ของตำแหน่งต่างๆ

2.การวิเคราะห์ลักษณะงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานและลักษณะงานที่ปฏิบัติ

3.การวิเคราะห์คุณภาพและความยุ่งยากซับซ้อนของงาน ระดับความรับผิดชอบ ระดับการตัดสินใจ และระดับของผลกระทบ และระดับความเสี่ยง

 

หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน

  1. 1. ต้องเข้าใจงาน ผู้ประเมินต้องมีความเข้าใจลักษณะงานที่ปฏิบัติ โดยจะต้องมีการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) พิจารณาหน้าที่ความ รับผิดชอบของตำแหน่งที่จะประเมินว่าจำเป็นต้องใช้ผู้มีความสามารถ อย่างไรมาดำรงตำแหน่ง หากไม่เข้าใจงานจะไม่สามารถประเมินได้อย่าง ถูกต้อง
  2. 2. ประเมินค่างาน ไม่ใช่ ประเมินค่าคน ในการประเมินค่างานจะต้อง คำนึงถึง “งานของตำแหน่ง” เท่านั้น ไม่ใช่ ประเมินบุคคลที่ครอง ตำแหน่ง หรือการประเมินบุคคลเพื่อเลื่อนตำแหน่ง หรือการประเมินผล การปฏิบัติงานของบุคคล
  3. 3. มีมาตรฐาน ในการกำหนดองค์ประกอบในการประเมินค่างานนั้น จะต้องสะท้อนกับงานปัจจุบัน และสอดคล้องกับโครงสร้างค่าตอบแทน หรือระดับตำแหน่งที่เป็นมาตรฐานกลาง
  4. 4. ไม่มีอคติ ผู้ประเมินจะต้องมีการดำเนินการวิเคราะห์งาน และตีค่า งานของตำแหน่งอย่างเป็นธรรม โดยไม่นาความรู้สึกส่วนตัวมาพิจารณา ประเมินค่างาน

5.ตรวจสอบให้แน่ใจ เพื่อความเที่ยงตรงและแม่นยำในการประเมิน ค่างาน ในขั้นตอนสุดท้ายควรตรวจสอบวัตถุประสงค์หลักของงานที่บ่งบอกลักษณะที่ปฏิบัติของตำแหน่งว่าตรงกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งหรือไม่ ตลอดจนตรวจสอบความสอดคล้องกับการประเมินค่างานแต่ละองค์ประกอบ และอาจต้องมีการตรวจสอบความสัมพันธ์หรือ เทียบเคียงกับตำแหน่งอื่นในองค์กรหรือนอกองค์กรด้วย

 

สิ่งที่ต้องเตรียมในการประเมินค่างาน

1.วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ขององค์กร

2.หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน

3.มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

4.ภาระงานของตำแหน่ง และแบบประเมินค่างาน

สิ่งที่เป็นหลักสำคัญของตำแหน่ง คือ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพของงาน และความรู้ความสามารถที่ต้องการ

 

สิ่งที่ไม่นำมาพิจารณาในการประเมินค่าคือ

1.ความขยัน

2.ประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงาน

3.บุคลิก ลักษณะ บุคคล

4.วุฒิการศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้อง

5.ความอาวุโส

6.ปริมาณงาน

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1244
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
พัฒนาตนเอง -นงคราญ » AI ในการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัย
การใช้ AI ในการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัยสามารถช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ AI อย่างระมัดระวังและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ
AI  AI สำหรับทบทวนวรรณกรรม  Connected Papers  Perplexity  ResearchRabbit  SciSpace  อบรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 26/2/2568 18:03:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 7:50:09   เปิดอ่าน 402  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย » การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การจัดแยกประเภท 2.การจัดเก็บของเสีย 3.การบันทึกปริมาณของเสีย 4.การรายงานปริมาณของเสีย 5.การเก็บรวบรวมของเสียก่อนนำไปกำจัด
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 25/12/2567 15:27:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 8:11:45   เปิดอ่าน 715  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (ESPReL Checklist) » มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist)
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้วย ESPReL Checklist ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี องค์ประกอบที่ 3 ระบ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 16/12/2567 15:44:32  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 7:16:14   เปิดอ่าน 1863  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง