เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีขั้นพื้นฐาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น
วันที่เขียน 28/11/2567 14:21:47     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/12/2567 20:18:41
เปิดอ่าน: 51 ครั้ง

           เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีขั้นพื้นฐาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น

          เป็นเทคนิคที่ใช้แยกสารออกจากกัน โดยอาศัยหลักการทางโครมาโตกราฟี (chromatography) จากความแตกต่างในด้านสมบัติที่ต่างกันของสารที่ต้องการแยก เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพวิเคราะห์ (Qualitative) และปริมาณวิเคราะห์ (Quantitative) สามารถวิเคราะห์สารได้หลายชนิด เช่น สารอินทรีย์ สารประกอบทางชีวภาพ การวิเคราะห์ทางอาหาร ยา สมุนไพร ยาฆ่าแมลง ตัวอย่างสิ่งแวดล้อม หาปริมาณวิตามินซี และอื่น ๆ ไมโครโมเลกุลตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ ต้องเป็นของแข็งหรือของเหลว ต้องละลายได้ 100 %
          หลักการ เทคนิคการแยกองค์ประกอบของสารผสมของเครื่องมือ อาศัยความแตกต่างของอัตราการ เคลื่อนที่ของแต่ละองค์ประกอบของสารผสมบนเฟสคงที่ (Stationary phase) ภายใต้การพาของ เฟสเคลื่อนที่ (Mobile phase) สำหรับเครื่อง HPLC เฟสคงที่ คือ สารที่อยู่ภายในคอลัมน์ ส่วนเฟสเคลื่อนที่ คือ ตัวทำละลาย อินทรีย์ผสม เมื่อสารที่ต้องการวิเคราะห์ผ่านเข้าสู่เครื่อง HPLC สารดังกล่าวจะถูกพาเข้าสู่คอลัมน์โดยตัวท้าละลายอินทรีย์ผสม เพื่อให้เกิดการแยกสาร (Separation) โดยอาศัยการทำปฏิกิริยา (Interaction) ระหว่างสารที่อยู่ ภายในคอลัมน์ (Stationary phase) และความสามารถในการละลายของสารผสม นอกจากนี้การแยกสารผสมมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักโมเลกุล โครงสร้างและสมบัติทางเคมีของสารที่อยู่ภายในคอลัมน์ ซึ่งหลังจากที่สารแต่ละชนิดถูกแยกเป็นส่วนๆจะเคลื่อนที่อยู่ภายในคอลัมน์ในเวลาที่ต่างกัน โดยสารเชิงเดี่ยวแต่ละชนิดจะผ่านเข้าสู่อุปกรณ์ วัดสัญญาณ (Detector) และแปลผลออกมาเป็นโครมาโทแกรม (Chromatogram) ซึ่งแต่ละสารจะมีเวลาที่อยู่ในคอลัมน์ (Retention time RT)เฉพาะตัว ในการวิเคราะห์จะนำพื้นที่ใต้พีค ของแต่ละสารมาคำนวณผล เปรียบเทียบกับกราฟสารมาตรฐาน (Calibration curve) ทำให้ทราบปริมาณของสารตัวอย่าง

          ความแตกต่างระหว่างวิธีแยกสารแบบ Flash และPrep

เทคนิคโครมาโตกราฟีทั้งสองแตกต่างกันในวัสดุที่ใช้สำหรับ Stationary phase ขนาดอนุภาคต่างกัน ซึ่งขนาดของคอลัมน์ (เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (Internal Diameter - ID) และความยาว) รวมถึงอัตราการไหลใน Mobile phase ดังที่แสดงในตาราง

          ตารางความแตกต่างระหว่าง Flash โครมาโตกราฟีและ Prep HPLC 

 

แฟลชโครมาโตกราฟี

Prep HPLC

ขนาดอนุภาค 

15 – 63 µm

5 – 15 µm

ID คอลัมน์ 

12 – 115 mm

10 – 70 mm

อัตราการไหล

15 – 250 mL/min

5 – 100 mL/min

ความจุโหลด 

< 300 g

< 10 g

แรงดันสูงสุด

50 บาร์

300 บาร์

การประยุกต์ใช้งาน (Applications)

มีการนำไปประยุกต์ใช้ในด้าน

  • Natural products/ extracts
  • Cabohydrates
  • Proteins and peptides
  • Vitamins
  • Lipids
  • Small molecule drugs/ synthesis
  • Chiral/ achiral molecules

          การแยกสารด้วยเทคนิคใหม่ SFC

          เทคนิคการวิเคราะห์แบบ Supercritical fluid chromatography (SFC) และ High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) ถือเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมยา อาหาร และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม คำถามยังคงอยู่ว่า SFC หรือ HPLC ดีกว่ากัน SFC เป็นเทคนิคการแยกสารที่ใช้ของเหลวเหนือวิกฤตเป็นเฟสเคลื่อนที่ เทคนิคนี้มีข้อดีหลายประการเมื่อเทียบกับ HPLC ประการแรกและสำคัญที่สุด SFC สามารถวิเคราะห์สารประกอบที่แยกได้ยากด้วย HPLC เช่น สารประกอบ Chiral นอกจากนี้ SFC ยังสามารถวิเคราะห์สารประกอบที่ไม่ละลายในตัวทำละลายที่ใช้ใน HPLC ได้ด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ SFC ยังเร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า HPLC ซึ่งทำให้เป็นตัวเลือกที่คุ้มต้นทุนสำหรับห้องปฏิบัติการหลายแห่ง

                                                                              เบญญาภา  หลวงจินา

                                                                                                                                                             นักวิทยาศาสตร์

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1530
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
รุ่งทิพย์ กาวารี » #SFC เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เทคนิคโครมาโตกราฟีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ใช้คอลัมน์แบบเปิดในการแยกสาร ซึ่งใช้เวลานานมาก มีความละเอียดต่ำ มีอัตราการไหลต่ำ (ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วง) การทำ Gradient ไม่สามารถทำได้ และจำเป็นต้องมี...
Flash  HPLC  Prep HPLC  SFC  Supercritical Fluid Chromatography     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 17/11/2567 16:18:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/12/2567 19:48:00   เปิดอ่าน 161  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะ...
การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/12/2567 23:58:35   เปิดอ่าน 356  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/12/2567 16:28:51   เปิดอ่าน 429  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง