ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาการผลิตการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย
วันที่เขียน 9/1/2567 13:42:38     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 8:04:21
เปิดอ่าน: 436 ครั้ง

เข้าร่วมเสวนา เรื่อง ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาการผลิตการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings

ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาการผลิตการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย

ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตรายเป็นหลักฐานการรับรองว่าผู้ถือใบอนุญาตมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพได้อย่างถูกต้อง มาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตรายตามข้อกำหนดมีดังนี้

ลักษณะของงานวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตราย มีดังนี้

  1. งานวิเคราะห์ตรวจสอบ ได้แก่ การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ การศึกษาค้นคว้า การวิจัยข้อมูลและสถิติต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์หรือประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยในสาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตราย
  2. งานออกแบบและการควบคุม ได้แก่ การออกแบบและการควบคุมการใช้สารเคมีอันตราย พร้อมทั้งการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสม ให้ถูกต้องและปลอดภัย
  3. งานอำนวยการ ได้แก่ การดูแลการจัดการสารเคมีอันตรายตาม (1) และ (2)
  4. งานให้คำปรึกษา ได้แก่ การให้คำแนะนำ การให้ข้อมูล การตรวจวินิจฉัย และการรับรองการจัดการสารเคมีอันตรายตาม (1) (2) และ (3)

 

ประเภทของงานวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตราย มีดังนี้

  1. การผลิต การใช้ การแปรรูป การบรรจุ การเก็บรักษา การบาบัด การขจัด หรือการปลดปล่อยสารเคมีอันตราย
  2. การวิเคราะห์ การวิจัย การทดสอบ และการตรวจสอบสารเคมีอันตราย
  3. การนำเข้า การส่งออก การขนส่ง การขนถ่ายและการจัดการสารเคมีอันตราย และผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่มีสารเคมีอันตรายเป็นส่วนผสม
  4. การตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยทางเคมีของห้องปฏิบัติการ ยานพาหนะ และบรรจุภัณฑ์ ตาม (1) (2) และ (3)

 

สิทธิประโยชน์ของการสมัครเป็นสมาชิกประเภทสามัญของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายรับรองตามพ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๑

  • สามารถได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในสาขาควบคุม
  • สามารถได้รับหนังสือรับรองและใบประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาชีพส่งเสริม
  • ได้รับการส่งเสริมในด้านต่างๆ
  • มีส่วนร่วมต่อการเข้าร่วมประชุม สัมมนา แสดงความคิดเห็น และดาเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างประวัติศาสตร์ในการพัฒนาวิชาชีพ
  • มีเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพ เทียบเท่ากับวิชาชีพอื่น

 

การขอใบอนุญาตวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาการผลิตการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย

  1. สำหรับผู้มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สาขาเคมีเคมีอุตสาหกรรม

เคมีประยุกต์เคมีเทคนิคให้เข้ารับการประเมินภาคทฤษฎีโดยการสอบข้อเขียน

  1. สำหรับผู้มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องและผ่านการฝึกอบรมตามที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำหนด

2.1 ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายน้อยกว่า 8 ปีให้เข้ารับการประเมินภาคทฤษฎี

2.2 ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายมากกว่า 8 ปีให้เข้ารับการประเมินภาคทฤษฎีและการประเมินเชิงปฏิบัติการ

  1. การจัดทำและนำเสนอบทความเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย
  2. การอภิปรายการจัดการความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอันตราย

 

คุณสมบัติสำคัญของการขอรับใบอนุญาตวิชาชีพควบคุม

  1. ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญของ สชวท. และถ้าขาดจากสมาชิกภาพเมื่อใดให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลง
  2. มีสมรรถนะเฉพาะ/ความรู้ประเมินจากกลุ่มวิชาเรียนตั้งแต่ปริญญาตรี-เอกอาจมีการพิจารณาจำนวนหน่วยกิตและประสบการณ์
  3. การอบรมจรรยาบรรณวิชาชีพ

การต่ออายุใบอนุญาต

ส่วนที่ 1 ผลงานและประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม

  1. งานประจำที่รับผิดชอบ 20 คะแนน/ปี
  2. คู่มือการปฏิบัติงานตำราหรือบทความที่ สชวท. รับรอง 20 คะแนน/ผลงาน
  3. การศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้อง 10 คะแนน/ครั้ง
  4. การเป็นวิทยากรบรรยาย 10 คะแนน/ครั้ง
  5. การนำเสนอผลงานทางวิชาชีพหรือวิชาการในการประชุมวิชาชีพหรือวิชาการ 10 คะแนน/ครั้ง
  6. กิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากข้อ1.1 -1.5 และ สชวท. ให้การรับรอง 10 คะแนน/ปี

 

ส่วนที่ 2 การเพิ่มพูนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

  1. เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของ สชวท.(อย่างน้อย 1 ครั้ง) 20 คะแนน/ครั้ง
  2. การเข้าร่วมประชุมวิชาชีพหรือวิชาการ 10 คะแนน/ครั้ง
  3. การอบรมในหลักสูตรอื่นที่ สชวท. ให้การรับรอง 20 คะแนน/ครั้ง
  4. การเข้าร่วมสัมมนาวิชาชีพหรือวิชาการ 10 คะแนน/ครั้ง

 

หมายเหตุ

  1. ต้องมีผลการปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 รายการทั้งในส่วนที่ 1 และ 2
  2. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของ สชวท. อย่างน้อย 1 ครั้ง ในรอบ 3 ปี หรือ 5 ปี ก่อนการต่ออายุใบอนุญาตในครั้งต่อไป
  3. ต้องผ่านการอบรมจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มีอายุ 5ปี)

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1412
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
พัฒนาตนเอง -นงคราญ » AI ในการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัย
การใช้ AI ในการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัยสามารถช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ AI อย่างระมัดระวังและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ
AI  AI สำหรับทบทวนวรรณกรรม  Connected Papers  Perplexity  ResearchRabbit  SciSpace  อบรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 26/2/2568 18:03:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 7:50:09   เปิดอ่าน 402  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย » การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การจัดแยกประเภท 2.การจัดเก็บของเสีย 3.การบันทึกปริมาณของเสีย 4.การรายงานปริมาณของเสีย 5.การเก็บรวบรวมของเสียก่อนนำไปกำจัด
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 25/12/2567 15:27:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 3:55:41   เปิดอ่าน 714  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (ESPReL Checklist) » มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist)
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้วย ESPReL Checklist ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี องค์ประกอบที่ 3 ระบ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 16/12/2567 15:44:32  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 7:16:14   เปิดอ่าน 1863  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง