Quantitative PCR (qPCR)
วันที่เขียน 25/9/2566 13:14:19     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:12:32
เปิดอ่าน: 220 ครั้ง

PCR (Polymerase chain reaction) เป็นเทคนิคที่มีการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต จากปริมาณ DNA ตั้งต้น เพิ่มขึ้นเป็นล้านล้านสำเนา ภายในระยะเวลาอันสั้น ขั้นตอนในการทำ PCR แบบดั้งเดิม ได้แก่ การทำให้ DNA เสียสภาพที่อุณหภูมิสูงและแยกตัวออกเป็นสายเดี่ยว (Denatulation) การจับกันของไพรเมอร์และดีเอ็นเอ โดยการลดอุณหภูมิลง ไพรเมอร์จะเข้าไปจับกับดีเอ็นเอแม่พิมพ์ (Annealing) และการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ โดย Taq DNA polymerase จะนำเบสต่างๆ (A, T, C, G) ไปสังเคราะห์ต่อจากไพรเมอร์จนได้ดีเอ็นเอสายคู่เหมือนเดิม (Extension) Quantitative PCR (QPCR) หรือ PCR เชิงปริมาณ เหมาะสำหรับใช้ในหาปริมาณ DNA และสามารถตรวจสอบการขยายตัวของโมเลกุล DNA ได้ในระหว่างการทำ PCR ในเวลาจริง เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนามาจากการทำ PCR แบบดั้งเดิม โดยใช้การติดฉลากด้วยสารเรืองแสงประเภท fluorochrome ทำให้สามารถวัดปริมาณของดีเอ็นเอเป้าหมายตั้งต้นจากสิ่งต้องการตรวจวัดได้และสามารถวัดปริมาณดีเอ็นเอที่เพิ่มขึ้นมาได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้กระบวนการเสร็จสิ้นก่อน

PCR (Polymerase chain reaction) เป็นเทคนิคที่มีการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต จากปริมาณ DNA ตั้งต้น เพิ่มขึ้นเป็นล้านล้านสำเนา ภายในระยะเวลาอันสั้น ขั้นตอนในการทำ PCR แบบดั้งเดิม ได้แก่ การทำให้ DNA เสียสภาพที่อุณหภูมิสูงและแยกตัวออกเป็นสายเดี่ยว (Denatulation) การจับกันของไพรเมอร์และดีเอ็นเอ โดยการลดอุณหภูมิลง ไพรเมอร์จะเข้าไปจับกับดีเอ็นเอแม่พิมพ์ (Annealing) และการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ โดย Taq DNA polymerase จะนำเบสต่างๆ (A, T, C, G) ไปสังเคราะห์ต่อจากไพรเมอร์จนได้ดีเอ็นเอสายคู่เหมือนเดิม (Extension) Quantitative PCR (QPCR) หรือ PCR เชิงปริมาณ เหมาะสำหรับใช้ในหาปริมาณ DNA และสามารถตรวจสอบการขยายตัวของโมเลกุล DNA ได้ในระหว่างการทำ PCR ในเวลาจริง เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนามาจากการทำ PCR แบบดั้งเดิม โดยใช้การติดฉลากด้วยสารเรืองแสงประเภท fluorochrome ทำให้สามารถวัดปริมาณของดีเอ็นเอเป้าหมายตั้งต้นจากสิ่งต้องการตรวจวัดได้และสามารถวัดปริมาณดีเอ็นเอที่เพิ่มขึ้นมาได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้กระบวนการเสร็จสิ้นก่อน วิธีการตรวจสอบปริมาณของดีเอ็นเอ 1. ใช้สีฟลูออเรสเซนต์ที่สามารถแทรกจับกับเส้นดีเอ็นเอ ได้แก่ SYBR-Green ซึ่งเป็นสีฟลูออเรสเซนต์ที่สามารถเข้าจับกับดีเอ็นเอตรงตำแหน่ง minor groove ของดีเอ็นเอสายคู่ได้ เมื่อสารนี้ถูกกระตุ้นด้วยแสงอัตราไวโอเลต จะมีการคายพลังงานออกมาเป็นแสงของฟลูออเรสเซนต์ โมเลกุลของสีจะจับได้มากน้อยขึ้นกับความยาวของ PCR product 2. ใช้ probe ที่ติดฉลากด้วยสีฟลูออเรสเซนต์ซึ่งเป็นสารเรืองแสง ในการตรวจสอบ วิธีมีความจำเพาะสูงกว่าการใช้สี SYBR Green โดยการนำ fluorchrome หรือสีฟลูออเรสเซนต์ 2 ประเภท ติดฉลากเข้ากับสาย probe เมื่อ probe ถูกกระตุ้นด้วยแสงพลังงานสูง fluorochrome ตัวแรก (Quencher) จะดูดพลังงานเอาไว้ และถ่ายทอดพลังงานให้ fluorochrome ตัวที่สอง (reporter dye) โดยไม่สูญเสียพลังงานออกมาสู่ระบบภายนอกในรูปของแสง การติดฉลากด้วยฟลูออเรสเซนต์และนำมาใช้ในการไฮบริไดเซซันมี 3 แบบคือ TaqMan hybridization probes, Molecular beacon probes, Scorpion probes 3. ใช้ hybridization probe เป็น probe ที่อาศัยการถ่ายเทพลังงานจากสีฟลูออเรสเซนต์ไปยังอีกสิ่งหนึ่ง โดยมีโอลิโกนิวคลีโอไทด์ ที่มีลำดับเบสจำเพาะ 2 สาย ติดฉลากด้วยสีฟลูออเรสเซนต์ เส้นแรกเป็น upstream probe ซึ่งเป็นโมเลกุลผู้ให้ทางปลาย 3’ ส่วนอีกเส้นเป็น downstream probe ซึ่งเป็นโมเลกุลผู้รับ ทางปลาย 5’ probes ทั้งสองเส้น มีการออกแบบให้ไฮบริไดซ์ที่บริเวณใกล้กันบนโมเลกุลดีเอ็นเอเป้าหมาย ซึ่งทำให้ฟลูออเรสเซนต์ที่ติดอยู่บนโมเลกุลของ probes ทั้งสองเส้น เข้ามาใกล้กันและเกิดการถ่ายเทพลังงาน ทำให้สามารถตรวจสอบแสงฟลูเรสเซนต์ได้ การแปลผลการทดสอบ 1. ผล qPCR จะแสดงในรูปของกราฟ (Amplification plot) โดย แกน x แสดงจำนวนรอบของ PCR แกน Y แสดง Fluorescence intensity 2. Amplification plot แบ่งเป็น 3 ช่วง (Phase) ได้แก่ Initial phase ช่วงที่แสง fluorescence ต่ำ กว่าที่เครื่องจะตรวจวัดได้ Exponential phase เป็นช่วงที่ fluorescence เพิ่มขึ้นแบบ exponential และ Plateau phase เป็นช่วงที่ fluorescence เริ่มคงที่ 3. Threshold หมายถึงเส้นตรงที่ลากขนานกับแกนจำนวนรอบของการทำงานของ real time PCR บน กราฟของ real time PCR ซึ่งเป็นเส้นที่อยู่เหนือเส้น baseline 4. Ct (cycle threshold) values หมายถึง ค่าจำนวนรอบของการทำงานของ real time PCR ที่ให้ค่า แสงฟลูออเรสเซ็นต์ตัดกับเส้น Threshold เป็นค่าที่บ่งชี้ความเข้มข้นของดีเอ็นเอเป้าหมายที่ต้องการทดสอบ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1382
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
รุ่งทิพย์ กาวารี » #SFC เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เทคนิคโครมาโตกราฟีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ใช้คอลัมน์แบบเปิดในการแยกสาร ซึ่งใช้เวลานานมาก มีความละเอียดต่ำ มีอัตราการไหลต่ำ (ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วง) การทำ Gradient ไม่สามารถทำได้ และจำเป็นต้องมี...
Flash  HPLC  Prep HPLC  SFC  Supercritical Fluid Chromatography     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 17/11/2567 16:18:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:54:07   เปิดอ่าน 140  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะ...
การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:35:33   เปิดอ่าน 278  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:55:17   เปิดอ่าน 361  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:12:40   เปิดอ่าน 181  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง