ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:55:17
เปิดอ่าน: 361 ครั้ง

ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเครื่องอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค เพื่อช่วยในการดำรงชีวิตมีความสะดวกสบาย สารเคมีเหล่านี้มีประโยชน์มากมายแต่ก็สามารถก่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน หากขาดความระมัดระวังในการใช้งานหรือการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมโดยตรงและทางอ้อม เนื่องมาจากการบริโภคโดยตรงหรือได้รับพิษจากการตกค้าง สำหรับกลุ่มผู้ใช้สารเคมีโดยตรง เช่นนักวิจัย อาจารย์ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมและตลอดจนเกษตรกรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารเคมี จึงเป็นกลุ่มที่ต้องมีความใส่ใจในการหาความรู้และศึกษาถึงประโยชน์ และโทษ จำเป็นต้องมีความสามารถและความชำนาญในการใช้ รวมถึงการเก็บรักษาและการกำจัดสารเคมีที่เหลือหรือหลังจากการใช้งาน เพื่อเกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อตนเอง หรือผู้ใกล้ชิดตลอดจนการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยจากสารเคมีดังกล่าว ที่อาจส่งผลในระยะยาวต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี

เบญญาภา  หลวงจินา

นักวิทยาศาสตร์

ของเสียสารเคมีที่เกิดจากกิจกรรมในห้องปฏิบัติการเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพนักศึกษา บุคลากรและสิ่งแวดล้อม การจัดการของเสียสารเคมีอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการต้องทราบและถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัย ลดความเสี่ยง และป้องกันการรั่วไหลของเสียสู่สิ่งแวดล้อม

  1. ระบบจัดการสารเคมี การจัดการของเสียสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ มีขั้นตอนดังนี้

       การจัดการข้อมูลของเสีย โดยจะต้องมีการจัดการข้อมูลของเสีย  การจำแนกประเภทข้อมูลของเสีย การรวบรวมและการจัดเก็บ รวมถึงการบำบัดและการกำจัดของเสีย ดังแผนภาพต่อไปนี้ 

 

การรวบรวมการจัดเก็บ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

  1. จำแนกของเสียให้ถูกต้องตามเกณฑ์จัดเก็บในภาชนะบรรจุที่เหมาะสม
  2. ตรวจสอบสภาพภาชนะบรรจุอย่างสม่ำเสมอ
  3. ภาชนะทุกชนิดที่บรรจุของเสียต้องมีฉลากที่เหมาะสมและแสดงข้อมูลครบถ้วน
  4. ข้อความบนฉลากมีความชัดเจนไม่จางไม่เลือน
  5. ตรวจสอบสภาพของฉลากบนภาชนะของเสียอย่างสม่ำเสมอ
  6. ห้ามบรรจุของเสียเกินกว่า80% ของความจุภาชนะ หรือปริมาณของเสียต้องอยู่ต่ำกว่าปากภาชนะอย่างน้อย 1 นิ้ว
  7. มีการกำหนดพื้นที่/บริเวณจัดเก็บของเสียอย่างชัดเจน
  8. จัดเก็บ/จัดวางของเสียที่เข้ากันไม่ได้โดยอิงตามเกณฑ์การเข้ากันไม่ได้ของสารเคมี 
  9. มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุของเสียที่เหมาะสม
  10. ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียใกล้ท่อระบายน้ำใต้หรือในอ่างน้ำ หากจำเป็น ต้องมีภาชนะรองรับ
  11. ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียใกล้บริเวณอุปกรณ์ฉุกเฉิน
  12. ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียปิดหรือขวางทางเข้า-ออก
  13. วางภาชนะบรรจุของเสียให้ห่างจากความร้อนแหล่งกำเนิดไฟและเปลวไฟ
  14. ห้ามเก็บของเสียประเภทไวไฟมากกว่า38 ลิตรหากจำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้สำหรับเก็บสารไวไฟโดยเฉพาะ
  15. ห้ามเก็บของเสียไว้ในตู้ควันอย่างถาวร
  16. มีการกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บของเสียในห้องปฏิบัติการ

- กรณีที่ของเสียพร้อมส่งกำจัด (ปริมาตร 80% ของภาชนะ) : ไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 90 วัน

- กรณีของเสียไม่เต็มภาชนะ (ปริมาตรน้อยกว่า 80% ของภาชนะ) : ไม่ควรเก็บของเสียไว้นากว่า 1 ปี

การบำบัดและกำจัดของเสีย

ใช้ระบบ 4R

Reduce

  • ลดปริมาณการซื้อสารเคมีที่ไม่จำเป็น
  • ลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง
  • ลดปริมาณของเสียก่อนการกำจัดให้น้อยลง
  • บำบัดของเสียก่อนปล่อยลงระบบน้ำทิ้ง
  • บำบัดของเสียก่อนส่งกำจัด เพื่อลดอันตราย

Reuse  คือการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง

  • ทำความสะอาดขวดสารเคมีเก่าแล้วนำกลับไปใช้ใหม่
  • นำสารละลายต่างๆมาล้างของ
  • นำสารบางประเภทหรือสารใกล้หมดอายุมาท า Spill kit
  • ใช้สารเก่าในการ neutralize กรด- เบส ฯลฯ

Replace

  • เปลี่ยนการใช้สารเคมีในการทดลองจากสารที่เป็นพิษ เป็นสารที่เป็นมิตร
  • เปลี่ยนกระบวนการทดลองที่ก่อให้เกิดพิษ เป็นกระบวนการใหม่ที่ไม่ผ่านวิธีเดิม
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นพิษตามเกณฑ์ของ USEPA เช่นbarium arsenic cadmium chromium read mercury selenium silver benzene carbon tetrachloride chloroform dichlorobenzene cresol methyl ethyl ketone nitrobenzene pyridine tetrachloroethylene trichloroethylene trichlorophenol vinyl chloride
  • หากเป็นไปได้ ให้ใช้ Ethanol แทน Methanol (Ethanol < 24% w/w in H2O ไม่ถือว่าเป็นสารลุกติดไฟได้)

 

Recycle  คือการนำสารเคมีกลับมาใช้ใหม่โดยที่มีสมบัติทางกายภาพเปลี่ยนไป แต่มีองค์ประกอบทางเคมี

 เหมือนเดิม โดยการผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การกลั่นตัวทำละลาย , แก้ว , โลหะมาหลอมใหม่

 

  1. ระบบการจัดการสารเคมีของเสียของเสียจากห้องปฏิบัติการ ต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ

เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม

สารบบของเสียสารเคมี ประกอบด้วย

  • การจัดการข้อมูลของเสีย

ระบบบันทึกข้อมูล หมายถึง ระบบบันทึกข้อมูลของเสียสารเคมี ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ / หน่วยงาน / องค์กร เพื่อใช้ในการบันทึกและติดตามความเคลื่อนไหวของเสียสารเคมีทั้งหมด

 

1.1 มีการบันทึกข้อมูลของเสียในรูปแบบ

  • เอกสาร
  • อิเล็กทรอนิกส์

 

1.2 โครงสร้างของข้อมูลของเสียที่บันทึก ไม่ว่าใช้รูปแบบใดก็ตาม ควรประกอบด้วย

  • ผู้รับผิดชอบ หมายถึง ผู้ผลิต/ผู้ท าให้เกิด/ผู้ดูแล ของเสียในขวดนั้นๆ
  • รหัสของภาชนะบรรจุ (Bottle ID)
  • ประเภทของเสีย
  • ปริมาณของเสีย (Waste volume / Weight)
  • วันที่บันทึกข้อมูล (Input date)
  • ห้องที่เก็บของเสีย (Storage room)
  • อาคารที่เก็บของเสีย (Storage Building)

 

1.3 การรายงานข้อมูล หมายถึง การรายงานข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้นและที่กำจัดทิ้งของห้องปฏิบัติการ/

หน่วยงาน/องค์กร โดยมีการจัดทำให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ พร้อมทั้งสามารถรายงานความเคลื่อนไหว ของของเสียได้ด้วย การรายงานข้อมูลที่ครบวงจรนั้น ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

  1. มีรายงานข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้น
  2. มีรูปแบบการรายงานชัดเจน
  • ประเภทของเสีย
  • ปริมาณของเสีย
  1. มีรายงานข้อมูลของเสียที่กำจัดทิ้ง
  2. มีการปรับปรุงข้อมูลเป็นประจำสม่ำเสมอ
  3. การป้องกันและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

การเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

  • มีอุปกรณ์สำหรับตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอยู่ในบริเวณที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก
  • มีแผนป้องกันภาวะฉุกเฉินที่เป็นรูปธรรม
  • ซ้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่เหมาะสมกับหน่วยงาน
  • ตรวจสอบพื้นที่และสถานที่เพื่อพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
  • ตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์พร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ
  • มีขั้นตอนการจัดการเบื้องต้นเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่เป็นรูปธรรม

 

 ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ

 เมื่อเกิดเพลิงไหม้ / เหตุฉุกเฉิน

ตั้งสติ อย่าตื่นตกใจ ตะโกนบอกเพื่อน/ผู้ร่วมงาน

  • อย่าดับเพลิงเองถ้ารู้สึกไม่แน่ใจในวิธีการดับเพลิง
  • รีบออกจากอาคารอย่างเป็นระเบียบ
  • ส่งต่อข้อมูลสำคัญต่างๆให้กับเจ้าหน้าที่
  • ห้ามใช้ลิฟท์ให้ใช้บันไดหนีไฟแทน
  • มารวมกันที่จุดรวมรวมพล
  • โทรศัพท์แจ้งเหตุไฟไหม้199

 สารเคมีหกรั่วไหล

  • แจ้งผู้ที่อยู่ใกล้เคียงให้ทราบว่าเกิดสารเคมีหกและอยู่ในอาการสงบ
  • ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีจากMaterials Safety Data Sheet (MSDS)
  • หากเป็นของแข็งให้กวาดไปรวมไว้แล้วทิ้งลงในภาชนะเก็บรวบรวมของเสียที่เหมาะสม

 กรณีเครื่องแก้วบาด

  • ล้างด้วยน้ำที่ไหลผ่านปริมาณมากเป็นเวลาอย่างน้อย10–15 นาทีหรือจนแน่ใจว่า

ได้ล้างสารเคมีหรือเศษแก้วขนาดเล็กออกแล้ว

  • ใช้ผ้าสะอาดกดเพื่อห้ามเลือดจนหยุดไหล
  • ใส่ยาใส่แผลแล้วปิดด้วยพลาสเตอร์ปิดแผล
  • หากเป็นแผลใหญ่รีบพาไปพบแพทย์

 

 กรณีสารเคมีหกรดร่างกาย

  • ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เปื้อนสารเคมีออกโดยเร็ว
  • เช็ดหรือซับสารเคมีที่หกรดออกให้มากที่สุดโดยเร็ว
  • กรณีสารละลายน้ำแต่ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำล้างบริเวณที่สารหกรดด้วยน้ำไหลปริมาณมากๆเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที หรือจนแน่ใจว่าชำระล้างสารออกหมดแล้ว หากสารไม่ละลายน้ำให้ล้างด้วยสบู่ ใช้อ่างน้ำ หรือ Safety shower ที่อยู่ใกล้ที่สุด 
  • ในกรณีที่รุนแรงควรพบแพทย์ทันที

 

  1. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

      อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal Protective Devices (PPD) หรือ Personal Protective Equipment (PPE)) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้น เนื่องจากสภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานแต่อุปกรณ์ PPE มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถลดอันตรายจากแหล่งกำเนิดของอันตราย แต่เป็นเพียงสิ่งที่ป้องกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับงานที่ทำ ถ้าป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเสีย/เสื่อมสภาพการป้องกัน จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสกับอันตรายทันที

วิธีการเลือกใช้อุปกรณ์ PPE ที่เหมาะสม ควรพิจารณาตามเกณฑ์ต่อไปนี้

  • เลือกอุปกรณ์PPE ให้ตรงกับการปกป้องอันตรายที่ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับสัมผัสและกิจกรรมที่ปฏิบัติงาน
  • ตรวจสอบประสิทธิภาพในของอุปกรณ์ปกป้องที่ใช้อย่างสม่ำเสมอและมีมาตรฐานรับรองเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันที่เชื่อถือได้
  • เลือกอุปกรณ์PPE ที่มีขนาดเหมาะสมและพอดีกับผู้สวมใส่เพื่อให้เกิดความสบายต่อการสวมใส่ 

(fit testing)

  • อุปกรณ์PPE จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
  • อุปกรณ์PPE มีวิธีการใช้งานง่าย
  • มีคุณภาพดีทนทานอายุการใช้งานยาวนาน บำรุงรักษาง่าย ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ได้ง่าย
  • หาซื้อง่ายและราคาเหมาะสม

 

 

อ้างอิง

เอกสารการฝึกอบรม “การบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการจัดการสารเคมี ของเสียอันตรายผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นัทธี สุรีย์

https://mooc.cmu.ac.th/

https://learning.mooc.cmu.ac.th/courses/

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1486
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
รุ่งทิพย์ กาวารี » #SFC เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เทคนิคโครมาโตกราฟีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ใช้คอลัมน์แบบเปิดในการแยกสาร ซึ่งใช้เวลานานมาก มีความละเอียดต่ำ มีอัตราการไหลต่ำ (ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วง) การทำ Gradient ไม่สามารถทำได้ และจำเป็นต้องมี...
Flash  HPLC  Prep HPLC  SFC  Supercritical Fluid Chromatography     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 17/11/2567 16:18:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:45:19   เปิดอ่าน 139  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะ...
การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 14:12:21   เปิดอ่าน 277  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:01:52   เปิดอ่าน 180  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง