รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : Biosecurity
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะที่การรักษาความปลอดภัยเน้นการควบคุมการเข้าถึงและการใช้สิ่งมีชีวิตหรือสารชีวภาพที่มีความเสี่ยงสูง หากมีความรู้และทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมจะช่วยป้องกันอันตรายทางชีวภาพ และส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมให้มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานดังนี้ 1. เพิ่มความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการกับสารชีวภาพอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 2. ป้องกันอุบัติเหตุ ทำให้ลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุและการติดเชื้อจากการทำงานกับสารชีวภาพที่อาจเป็นอันตราย 3. เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานในการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ 4. ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงมาตรฐานและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทำให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมาย 5. เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และ 7. ป้องกันการปนเปื้อน ทำให้ลดโอกาสของการปนเปื้อนที่อาจส่งผลต่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของผลการทดลอง
คำสำคัญ : การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 350  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/12/2567 0:26:04
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11
จากการอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11 ระหว่างวันที่ 22- 23 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมทองกวาว สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเนื้อหาประกอบด้วยหลักสูตรการอบรมและการฝึกปฏิบัติเสริมสร้างทักษะด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ได้องค์ความรู้เพื่อสามารถนำไปถ่ายทอดแก่นักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงาน ที่ปฏิบัติงานในหมวดวิชาที่รับผิดชอบ และปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการกลางของสาขาวิชาฯ เพื่อป้องกันอันตรายและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานวิจัยของตนเองอีกด้วย
คำสำคัญ : Biosafety  Biosecurity  การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ  ความปลอดภัยทางชีวภาพ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 242  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 9/9/2566 13:08:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/12/2567 12:21:50