ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 1355
ชื่อสมาชิก : เบญญาภา หลวงจินา
เพศ : หญิง
อีเมล์ : Cholticha@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 13/6/2556 12:48:17
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 13/6/2556 12:48:17


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
ของเสียสารเคมีที่เกิดจากกิจกรรมในห้องปฏิบัติการเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพนักศึกษา บุคลากรและสิ่งแวดล้อม การจัดการของเสียสารเคมีอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการต้องทราบและถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัย ลดความเสี่ยง และป้องกันการรั่วไหลของเสียสู่สิ่งแวดล้อม 1. ระบบจัดการสารเคมี การจัดการของเสียสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ มีขั้นตอนดังนี้ การจัดการข้อมูลของเสีย โดยจะต้องมีการจัดการข้อมูลของเสีย การจำแนกประเภทข้อมูลของเสีย การรวบรวมและการจัดเก็บ รวมถึงการบำบัดและการกำจัดของเสีย ดังแผนภาพต่อไปนี้ การรวบรวมการจัดเก็บ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้ 1. จำแนกของเสียให้ถูกต้องตามเกณฑ์ จัดเก็บในภาชนะบรรจุที่เหมาะสม 2. ตรวจสอบสภาพภาชนะบรรจุอย่างสม่ำเสมอ 3. ภาชนะทุกชนิดที่บรรจุของเสียต้องมีฉลากที่เหมาะสมและแสดงข้อมูลครบถ้วน 4. ข้อความบนฉลากมีความชัดเจน ไม่จาง ไม่เลือน 5. ตรวจสอบสภาพของฉลากบนภาชนะของเสียอย่างสม่ำเสมอ 6. ห้ามบรรจุของเสียเกินกว่า 80% ของความจุภาชนะ หรือปริมาณของเสียต้องอยู่ต่ำกว่าปากภาชนะอย่างน้อย 1 นิ้ว 7. มีการกำหนดพื้นที่/บริเวณจัดเก็บของเสียอย่างชัดเจน 8. จัดเก็บ/จัดวางของเสียที่เข้ากันไม่ได้ โดยอิงตามเกณฑ์การเข้ากันไม่ได้ ของสารเคมี 9. มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุของเสียที่เหมาะสม 10. ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียใกล้ท่อระบายน้ำ ใต้ หรือในอ่างน้ำ หากจำเป็น ต้องมีภาชนะรองรับ 11. ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียใกล้บริเวณอุปกรณ์ฉุกเฉิน 12. ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียปิดหรือขวางทางเข้า-ออก 13. วางภาชนะบรรจุของเสียให้ห่างจากความร้อนแหล่งกำเนิดไฟและเปลวไฟ 14. ห้ามเก็บของเสียประเภทไวไฟมากกว่า 38 ลิตร หากจำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้สำหรับเก็บสารไวไฟโดยเฉพาะ 15. ห้ามเก็บของเสียไว้ในตู้ควันอย่างถาวร 16. มีการกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บของเสียในห้องปฏิบัติการ - กรณีที่ของเสียพร้อมส่งกำจัด (ปริมาตร 80% ของภาชนะ) : ไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 90 วัน - กรณีของเสียไม่เต็มภาชนะ (ปริมาตรน้อยกว่า 80% ของภาชนะ) : ไม่ควรเก็บของเสียไว้นากว่า 1 ปี การบำบัดและกำจัดของเสีย ใช้ระบบ 4R Reduce • ลดปริมาณการซื้อสารเคมีที่ไม่จำเป็น • ลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง • ลดปริมาณของเสียก่อนการกำจัดให้น้อยลง • บำบัดของเสียก่อนปล่อยลงระบบน้ำทิ้ง • บำบัดของเสียก่อนส่งกำจัด เพื่อลดอันตราย Reuse คือการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง • ทำความสะอาดขวดสารเคมีเก่าแล้วนำกลับไปใช้ใหม่ • นำสารละลายต่างๆมาล้างของ • นำสารบางประเภทหรือสารใกล้หมดอายุมาท า Spill kit • ใช้สารเก่าในการ neutralize กรด - เบส ฯลฯ Replace • เปลี่ยนการใช้สารเคมีในการทดลองจากสารที่เป็นพิษ เป็นสารที่เป็นมิตร • เปลี่ยนกระบวนการทดลองที่ก่อให้เกิดพิษ เป็นกระบวนการใหม่ที่ไม่ผ่านวิธีเดิม • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นพิษตามเกณฑ์ของ USEPA เช่น barium arsenic cadmium chromium read mercury selenium silver benzene carbon tetrachloride chloroform dichlorobenzene cresol methyl ethyl ketone nitrobenzene pyridine tetrachloroethylene trichloroethylene trichlorophenol vinyl chloride • หากเป็นไปได้ ให้ใช้ Ethanol แทน Methanol (Ethanol < 24% w/w in H2O ไม่ถือว่าเป็นสารลุกติดไฟได้ ) Recycle คือการนำสารเคมีกลับมาใช้ใหม่โดยที่มีสมบัติทางกายภาพเปลี่ยนไป แต่มีองค์ประกอบทางเคมี เหมือนเดิม โดยการผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การกลั่นตัวทำละลาย , แก้ว , โลหะมาหลอมใหม่ 2. ระบบการจัดการสารเคมีของเสีย ของเสียจากห้องปฏิบัติการ ต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม สารบบของเสียสารเคมี ประกอบด้วย • การจัดการข้อมูลของเสีย ระบบบันทึกข้อมูล หมายถึง ระบบบันทึกข้อมูลของเสียสารเคมี ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ / หน่วยงาน / องค์กร เพื่อใช้ในการบันทึกและติดตามความเคลื่อนไหวของเสียสารเคมีทั้งหมด 1.1 มีการบันทึกข้อมูลของเสียในรูปแบบ • เอกสาร • อิเล็กทรอนิกส์ 1.2 โครงสร้างของข้อมูลของเสียที่บันทึก ไม่ว่าใช้รูปแบบใดก็ตาม ควรประกอบด้วย • ผู้รับผิดชอบ หมายถึง ผู้ผลิต/ผู้ท าให้เกิด/ผู้ดูแล ของเสียในขวดนั้นๆ • รหัสของภาชนะบรรจุ (Bottle ID) • ประเภทของเสีย • ปริมาณของเสีย (Waste volume / Weight) • วันที่บันทึกข้อมูล (Input date) • ห้องที่เก็บของเสีย (Storage room) • อาคารที่เก็บของเสีย (Storage Building) 1.3 การรายงานข้อมูล หมายถึง การรายงานข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้นและที่กำจัดทิ้งของห้องปฏิบัติการ/ หน่วยงาน/องค์กร โดยมีการจัดทำให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ พร้อมทั้งสามารถรายงานความเคลื่อนไหว ของของเสียได้ด้วย การรายงานข้อมูลที่ครบวงจรนั้น ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ 1. มีรายงานข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้น 2. มีรูปแบบการรายงานชัดเจน • ประเภทของเสีย • ปริมาณของเสีย 3. มีรายงานข้อมูลของเสียที่กำจัดทิ้ง 4. มีการปรับปรุงข้อมูลเป็นประจำสม่ำเสมอ 3. การป้องกันและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน การเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน • มีอุปกรณ์สำหรับตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน อยู่ในบริเวณที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก • มีแผนป้องกันภาวะฉุกเฉินที่เป็นรูปธรรม • ซ้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่เหมาะสมกับหน่วยงาน • ตรวจสอบพื้นที่และสถานที่เพื่อพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน • ตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์พร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ • มีขั้นตอนการจัดการเบื้องต้นเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ที่เป็นรูปธรรม ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ / เหตุฉุกเฉิน ตั้งสติ อย่าตื่นตกใจ ตะโกนบอกเพื่อน/ผู้ร่วมงาน • อย่าดับเพลิงเองถ้ารู้สึกไม่แน่ใจในวิธีการดับเพลิง • รีบออกจากอาคารอย่างเป็นระเบียบ • ส่งต่อข้อมูลสำคัญต่างๆให้กับเจ้าหน้าที่ • ห้ามใช้ลิฟท์ ให้ใช้บันไดหนีไฟแทน • มารวมกันที่จุดรวมรวมพล • โทรศัพท์แจ้งเหตุไฟไหม้ 199 สารเคมีหกรั่วไหล • แจ้งผู้ที่อยู่ใก
- ยังไม่มีรายการคำถาม