#การอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11
วันที่เขียน 9/9/2566 13:08:47     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/9/2566 12:00:47
เปิดอ่าน: 26 ครั้ง

จากการอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11 ระหว่างวันที่ 22- 23 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมทองกวาว สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเนื้อหาประกอบด้วยหลักสูตรการอบรมและการฝึกปฏิบัติเสริมสร้างทักษะด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ได้องค์ความรู้เพื่อสามารถนำไปถ่ายทอดแก่นักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงาน ที่ปฏิบัติงานในหมวดวิชาที่รับผิดชอบ และปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการกลางของสาขาวิชาฯ เพื่อป้องกันอันตรายและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานวิจัยของตนเองอีกด้วย

การอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ 

 

มีเนื้อหาหลักสูตรอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพในครั้งนี้  ประกอบด้วยหลักสูตรการอบรมที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

หัวข้อที่ 1 กฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ กฎหมายว่าด้วยอาชีวอนามัย ข้อกำหนดของสหประชาชาติ และข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก

หัวข้อที่ 2 หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ความหมาย องค์ประกอบ และหลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) ได้แก่ อันตรายในห้องปฏิบัติการ  การจำแนกเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ตามระดับความเสี่ยง  ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety level: BSL) ของห้องปฏิบัติการ  การปฏิบัติที่ดีทางจุลชีววิทยา (Good microbiological practice) ความหมาย องค์ประกอบ และหลักการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยของโครงสร้างและสถานที่  การรักษาความปลอดภัยด้านบุคคล  การรักษาความปลอดภัยของสารชีวภาพ  การรักษาความปลอดภัยในการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสารชีวภาพ  การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

หัวข้อที่ 3 การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ (Biorisk management) ความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ  การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)  การจัดการและการควบคุมความเสี่ยงทางชีวภาพ

หัวข้อที่ 4 การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ การออกแบบสถานที่ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ (Facility design)  การปฏิบัติที่ดีทางจุลชีววิทยา (Good microbiological practice)  อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment)

หัวข้อที่ 5 อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal protective equipment: PPE) ประเภทของ PPE  การเลือกประเภท PPE  การใช้ PPE  การจัดการ PPE หลังใช้งาน

หัวข้อที่ 6 อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment) ได้แก่ ตู้ชีวนิรภัย (Biosafety cabinet: BSC) Laminar flow และ Fume hood ความแตกต่างของอุปกรณ์ ชนิดและประเภท หลักการทำงาน การใช้งานอย่างถูกวิธี การบำรุงรักษาการตรวจรับรอง  เครื่องหมุนเหวี่ยง (Centrifuge) การใช้งานอย่างถูกวิธี และการบำรุงรักษา

หัวข้อที่ 7 การทำลายเชื้อโรค ประเภท หลักการ และวิธีการทำลายเชื้อ การเลือกวิธีที่เหมาะสม  การประเมินประสิทธิภาพการทำลาย

หัวข้อที่ 8 การขนส่งเชื้อโรค การขนส่งเชื้อโรค วิธีปฏิบัติในการบรรจุและการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์

หัวข้อที่ 9 การจัดการขยะติดเชื้อ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย และการจัดการขยะประเภทต่างๆ ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะมีคม ขยะรังสี ขยะเคมี ขยะพิษ ซากสัตว์

หัวข้อที่ 10 การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล องค์ประกอบของชุดจัดการสารชีวภาพรั่วไหล (Biological spill kit)  ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหลในสถานปฏิบัติการ ในตู้ชีวนิรภัยและในเครื่อง centrifuge  การรายงานอุบัติการณ์

 

การฝึกปฏิบัติเสริมสร้างทักษะด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ

ฐานที่ 1 การสวมใส่และถอดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal protective equipment: PPE) ได้แก่ ฝึกการสวมใส่และการถอด PPE  ฝึกการจัดการ PPE หลังใช้งาน ฝึกการล้างมือ

ฐานที่ 2 การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล จำลองเหตุการณ์สารชีวภาพรั่วไหล ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดจัดการสารชีวภาพรั่วไหล ฝึกเขียนรายงานอุบัติการณ์

     ฐานที่ 3 การออกแบบสถานที่ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ (Facility design) ฝึกปฏิบัติการวางแผนผังในสถานปฏิบัติการ แยกพื้นที่สะอาดและพื้นที่ปนเปื้อน การพิจารณาทิศทางการไหลเวียนของอากาศ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีผลต่อความปลอดภัยทางชีวภาพ การกำหนดเส้นทางการเข้าออกของคน ตัวอย่าง และวัตถุติดเชื้อ การจัดการพื้นที่เพื่อการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ในงานวิจัย
ปัจจุบันเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำประโยชน์กับงานหลายๆ ด้าน อาทิเช่น ด้านการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค ด้านอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงพันธุ์พืช การนำเทคนิคทางอณูพันธุศาสต...
LAMP, PCR, Loop-mediated isothermal amplification, เทคนิค LAMP     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 27/9/2565 15:43:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/9/2566 0:40:51   เปิดอ่าน 1658  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
อบรม online -นงคราญ » มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2564 ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการเพื่อเข้าสู่การตรวจประเมินและรองรับห้องปฏิบัติการปลอดภัยเพื่อการยอมรับร่วม (peer evaluation)
การพัฒนาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ หน่วยงาน/องค์กร ต้องมีการกระตุ้นในทุกระดับทั้งระดับองค์กร มหาวิทยาลัย หน่วยงาน คณะ/ภาควิชาและห้องปฏิบัติการ มีแผนยุทธศาสตร์เพื่อใช้ขับเคลื่อนและดำเนินงานด้านความ...
ESPReL Checklist  กลุ่มช่วยวิชาการ  การขอตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการใน peer evaluation  มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ  อบรมonline     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 21/12/2564 12:37:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/9/2566 21:55:26   เปิดอ่าน 1940  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง