Blog : มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (ESPReL Checklist)
รหัสอ้างอิง : 1642
ชื่อสมาชิก : ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panarin@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (ESPReL Checklist)
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้วย ESPReL Checklist ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือ 1.องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย ต้องมีการกระตุ้นในทุกระดับทั้งองค์กร ในการบริหารจัดการจะเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ประกอบด้วย 1. นโยบายและแผน สามารถทำได้ทุกระดับ ระดับห้องปฏิบัติการ ระดับหน่วยงาน ระดับองค์กรที่จะกลยุทธ์ในการบริหารจัดการรวมถึงการมีระบบรายงานและระบบการตรวจติดตาม มีแผนปฏิบัติการที่ประกอบด้วยกิจกรรมด้าน ความปลอดภัยต่างๆ มีการสื่อสารให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรับทราบ และการเพิ่มพูนความรู้และการฝึกทักษะด้วยการอบรมอย่างสม่ำเสมอ 2. โครงสร้างการบริหาร ด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการต้องมีองค์ประกอบชัดเจน 3 ส่วน คือ ส่วนอำนวยการ ส่วนบริหารจัดการ ส่วนปฏิบัติการ 3. ผู้รับผิดชอบระดับต่างๆ มีการแต่งตั้ง ระบุบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนและมีรายงานการปฎิบัติการเพื่อการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องปฏิบัติตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดของการปฏิบัติการที่ดี สำรวจรวบรวมวิเคราะห์ประเมินและจัดการความเสี่ยงในระดับบุคคล/โครงการ/ห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ เข้าร่วมกิจกรรมและรับการอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยที่เหมาะสมของหน่วยงาน/ห้องปฏิบัติการ เช่น การจัดการความเสี่ยงการซ้อมรับมือเหตุฉุกเฉินฯลฯ จัดทำระบบเอกสารที่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบความปลอดภัยให้ทันสมัยอยู่เสมอ จัดทำรายงานการดำเนินงานความปลอดภัยการเกิดภัยอันตรายและความเสี่ยงที่พบเสนอต่อผู้บริหาร องค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี 1. การจัดการข้อมูลสารเคมีระบบบันทึกข้อมูลหมายถึงระบบบันทึกข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ/ หน่วยงาน/องค์กร เพื่อใช้ในการบันทึกและติดตามความเคลื่อนไหวของสารเคมีทั้งหมด ได้แก่ ชื่อสารเคมี CASno.(ถ้ามี) ประเภทความเป็น อันตรายของสารเคมี ปริมาณ 2. การเก็บสารเคมี ได้แก่ ข้อกำหนดทั่วไปในการจัดเก็บสารเคมี ข้อกำหนดสาหรับการจัดเก็บสารไวไฟ ข้อกำหนดสาหรับการจัดเก็บสารกัดกร่อน ข้อกำหนดสำหรับการจัดเก็บแก๊ส ข้อกำหนดสำหรับการจัดเก็บสารออกซิไดซ์ ข้อกำหนดสาหรับการจัดเก็บสารที่ไวต่อปฏิกิริยา ข้อกำหนดเกี่ยวกับภาชนะบรรจุภัณฑ์และฉลากสารเคมี เอกสารข้อมูลความปลอดภัย 3. การเคลื่อนย้ายสารเคมี สิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลักคือ ความเป็นอันตรายของสารเคมี ความเข้ากันไม่ได้(incompatibility) การเคลื่อนย้ายสารเคมี การเคลื่อนย้ายภายในห้องปฏิบัติการ การเคลื่อนย้ายภายนอกห้องปฏิบัติการควรทำให้ถูกวิธีทั้งการเคลื่อนย้ายภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการ เช่น มีรถเข็น มีภาชนะรองขวดสารเคมีเพื่อป้องกัน การตกแตก และตัวดูดซับเพื่อป้องกันการประแทกกันระหว่างขนส่ง องค์ประกอบที่ 3 ระบบการจัดการของเสีย จะต้องทราบลักษณะงานที่ปฏิบัติและสารเคมีที่ใช้งานเพื่อจะได้ทราบวิธีการจัดการและกำจัดอย่างถูกต้อง 1.การจัดการข้อมูลของเสีย มีระบบบันทึกข้อมูล หมายถึงระบบบันทึกข้อมูลของเสียสารเคมี ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ/หน่วยงาน/องค์กรเพื่อใช้ในการบันทึกและติดตามความเคลื่อนไหวของเสียสารเคมีทั้งหมด ระบบรายงานข้อมูลของเสีย และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ 2.การเก็บของเสีย จัดเก็บของเสียให้ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการของเสียได้แก่ การจำแนกประเภทของเสีย ห้องปฏิบัติการควรมีการจำแนกประเภท/การจัดเก็บของเสียให้ถูกต้องเหมาะสมตามเกณฑ์ของระบบมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับเพื่อการจัดเก็บบาบัดและกำจัดที่ปลอดภัยทั้งนี้อ้างอิงเกณฑ์ตามระบบมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บของเสีย ข้อกำหนดเกี่ยวกับภาชนะบรรจุ ฉลากของเสีย ความสมบูรณ์ของภาชนะ มีภาชนะรองรับขวดของเสียกำหนดปริมาตรและการส่งกำจัดและตำแหน่งการวางของเสีย 3. การกำจัดของเสีย ได้แก่ การบำบัดของเสียก่อนทิ้ง การบำบัดของเสียก่อนส่งกำจัด การส่งกำจัด 4. การลดการเกิดของเสีย ใช้หลักการ การลดการใช้สารตั้งต้น (Reduce) , Recovery และ Recycle เพื่อลดปริมาณก่อนทิ้งและกำจัดได้ และการใช้สารทดแทน (Replace) องค์ประกอบที่ 4 ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือประกอบด้วย 1.งานสถาปัตยกรรม และงานสถาปัตยกรรมภายใน มีสภาพภายนอกและภายในห้องปฏิบัติการที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ไม่มีการวางของรกรุงรัง/สิ่งของที่ไม่จำเป็น หรือ ขยะจำนวนมาก ตั้งอยู่บนพื้นห้องหรือเก็บอยู่ภายในห้อง ขนาดพื้นที่ห้องปฏิบัติการเหมาะสมและเพียงพอกับกิจกรรม/การใช้งาน/จำนวนผู้ใช้/ปริมาณเครื่องมือและอุปกรณ์ และมีการแยกส่วนที่เป็นพื้นที่ห้องปฏิบัติการ (Lab) ออกจากพื้นที่อื่นๆ 2.งานวิศวกรรมโครงสร้าง ไม่มีการชารุดเสียหายบริเวณโครงสร้าง ไม่มีรอยแตกร้าวตามเสา –คานมีสภาพภายนอกและภายในห้องปฏิบัติการที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย โครงสร้างอาคารสามารถรองรับนheหนักบรรทุกของอาคารได้ 3.งานวิศวกรรมไฟฟ้า มีแสงสว่างธรรมชาติหรือแสงประดิษฐ์พอเพียงและมีคุณภาพเหมาะสมกับการทางานโดยอ้างอิงตามกฎกระทรวงฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2552 และตามเกณฑ์ของสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย (TIEA) สายไฟถูกยึดอยู่กับพื้นผนังหรือเพดานไม่ควรมีสายไฟที่อยู่ในสภาพการเดินสายไม่เรียบร้อย 4.งานวิศวกรรมสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม มีระบบน้ำดี/น้ำประปาที่ใช้งานได้ดี มีการเดินท่อและวางแผนผังการเดินท่อ อย่างเป็นระบบและไม่รั่วซึม การแยกระบบน้ำทิ้งทั่วไปกับระบบน้ำทิ้งปนเปื้อนสารเคมีออกจากกัน มีระบบบำบัดน้ำเสียแยก เพื่อบำบัดน้ำทิ้งทั่วไป กับน้ำทิ้งปนเปื้อนสารเคมีออกจากกัน ก่อนออกสู่รางระบายน้ำสาธารณะ 5.งานวิศวกรรมระบบปรับอากาศและระบายอากาศ มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมกับการทำงานและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ เช่น มีการติดตั้งระบบระบายอากาศด้วย พัดลมดูดอากาศให้มีการดำเนินการติดตั้งในตำแหน่งและปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงานและสภาพแวดล้อม (~5vol/hr) การติดตั้งระบบปรับอากาศในตำแหน่งและปริมาณที่เหมาะส
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (ESPReL Checklist) » มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist)
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้วย ESPReL Checklist ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี องค์ประกอบที่ 3 ระบบการจัดการของเสีย องค์ประกอบที่ 4 ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 5 ระบบการป้องกัน และแก้ไขภัยอันตราย องค์ประกอบที่ 6 การใช้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ องค์ประกอบที่ 7 การจัดการข้อมูลและเอกสาร
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 48  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 16/12/2567 15:44:32  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/12/2567 18:57:51

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้