งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:43:53
เปิดอ่าน: 286 ครั้ง

จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทางวิชาการ รวมทั้งเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่สาธารณะ ในรูปแบบของการเสวนาวิชาการ และการนำเสนอบทความ ซึ่งการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLOs) ในเรื่องของการมีทักษะการปฏิบัติงาน และทักษะการแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร รวมถึงสาขาที่เกี่ยวข้อง เพราะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการพัฒนาการเกษตรสร้างมูลค่าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เข้าใจถึงปัญหาซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการวิจัยและแก้ไขปัญหาได้อย่างสัมฤทธิ์ผล และสามารถทำงานวิจัยเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกันในการนำผลงานวิจัยต่อยอดขยายผลสร้างประโยชน์ต่อองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างแท้จริง

 

                สำหรับการการนำเสนอผลงานวิจัยหัวข้อที่สนใจคือ การใช้เทคโนโลยีการปลูกพืชไร้ดิน การปลูกพืชอินทรีย์ และการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกลับมาใช้ใหม่ เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชผัก เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ในด้านผลของระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ต้นสับปะรดสี พบว่าความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตต้นสับปะรดสี สามารถนําไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการ ปลูกเลี้ยงต้นสับปะรดสี และนําข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดทางการค้าในอนาคตต่อไปได้ และ ประเทศไทยมีเศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวจํานวนมหาศาล การหาวิธีการใช้ประโยชน์จึงมีความสําคัญ เช่นการนํามาเป็นวัสดุเพาะต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรเพื่อให้ได้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สูง และใช้เวลาการผลิตสั้นกว่า การใช้เศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร

                และวัสดุเพาะจากพีทมอสผสมวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล อัตราส่วน 50:50 โดยปริมาตรมีศักยภาพในการเพาะต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรให้มีปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์สูงได้หรือมีการนำเอาชีวนวัตกรรมวัสดุปรับปรุงดินจากก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเก่าหมักร่วมกับวัตถุดิบอินทรีย์เหลือทิ้งทางการเกษตรโดยใช้เอนโดไฟติกแบคทีเรียเป็นหัวเชื้อในการผลิตสามารถจัดอยู่ในเกณฑ์วัสดุปรับปรุงดินคุณภาพสูงที่กรมพัฒนาที่ดินได้กําหนดไว้  หรือแม้กระทั่งผลของชนิดพลาสติกฟิล์มต่อการเจริญเติบโต คุณภาพและผลผลิตของผักกาดหอมพลาสติกคลุมหลังคาโรงเรือนถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความจําเป็นต่อการปลูกพืชในโรงเรือน ดังนั้นการเลือกชนิดของพลาสติกคลุมหลังคาจึงมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต โดยสรุปพบว่าการปลูกด้วยพลาสติกสีขาวและสีเหลืองมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกด้วยพลาสติกสีแดง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1409
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
รุ่งทิพย์ กาวารี » #SFC เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เทคนิคโครมาโตกราฟีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ใช้คอลัมน์แบบเปิดในการแยกสาร ซึ่งใช้เวลานานมาก มีความละเอียดต่ำ มีอัตราการไหลต่ำ (ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วง) การทำ Gradient ไม่สามารถทำได้ และจำเป็นต้องมี...
Flash  HPLC  Prep HPLC  SFC  Supercritical Fluid Chromatography     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 17/11/2567 16:18:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:45:19   เปิดอ่าน 139  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะ...
การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:35:33   เปิดอ่าน 278  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:55:17   เปิดอ่าน 361  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:12:40   เปิดอ่าน 181  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง