|
|
|
|
บทความ
»
อาหารพื้นบ้านของชาวล้านนา
|
ภาคเหนือหรืออาณาจักรล้านนาในอดีต เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตจวบจน
ปัจจุบัน มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้จากหลาย ๆ แหล่ง ทำให้ได้รับวัฒนธรรมหลากหลาย
จากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวัน รวมถึงประเภทอาหารและการบริโภคอาหาร ประกอบกับลักษณะ
ภูมิประเทศที่มีเทือกเขาน้อยใหญ่ และมีแหล่งต้นน้ำหลายสาย ทำให้อากาศค่อนข้างหนาวเย็นในฤดูหนาว
และฤดูฝน ส่งผลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมายโดยเฉพาะผักพื้นบ้าน ชาวล้านนา (คนที่อาศัยในภาคเหนือ)
ได้สรรค์สร้างอาหารที่มีหลากหลายประเภทหรือตำหรับที่มีเสน่ห์ และมีเอกลักษณ์รสชาติเป็นของตนเอง
การปรุงอาหารของชาวล้านนาส่วนใหญ่จะมีทั้งรสอ่อน เผ็ด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่หวาน อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่
น้ำตาล ความหวานจะได้จากวัตถุดิบส่วนผสมที่นำมาประกอบอาหาร เช่น ความหวานจากผัก และปลา เป็นต้น
|
คำสำคัญ :
อาหารล้านนา
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
5848
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
กัณณิกา ข้ามสี่
วันที่เขียน
11/10/2562 10:31:57
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 15:35:07
|
|
|
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา
»
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา
|
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา
ตามหนังสือที่ ศธ ๐๕๒๓.๑.๙.๒/๒๘๓๑ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๒ ได้อนุมัติให้กระผม รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย เดินทางไปปฏิบัติงาน ในวันที่ ๒๔-๒๙ มีนาคม ๒๕๖๒ เพื่อเข้าร่วมประชุมวิชาการ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 7 เรื่อง (ดังตารางลงทะเบียนเอกสารแนบ) ได้แก่
1. เรื่อง Smart Farm : เกษตรไทยยุค 4.0 ในวันที่ 25/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
2. เรื่อง สูตรตำหรับนาโนเพื่อนวัตกรรมอาหารสัตว์ ในวันที่ 26/03/2562 เวลา 09.00-12.00 น.
3. เรื่อง นวัตกรรมจากไข่เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ในวันที่ 26/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
4. เรื่อง จากทรัพยากรชีวภาพสู่การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในวันที่ 27/03/2562 เวลา 09.00-12.00 น.
5. เรื่องการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์และคความต้องการโภชนะสำหรับโคนมไทย ในวันที่ 27/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
6. เรื่อง นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน ในวันที่ 28/03/2562 เวลา 09.00-12.00 น.
7. เรื่องการขอรับมาตรฐานกับ สมอ. ในวันที่ 27/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
และได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในด้านวิชาการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของอุตสาหกรรมที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการบริการในภาคเอกชน ตลอดจนเข้ารวมชมนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรและพัฒนาสังคมไทยให้เข้มแข็ง รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนำไปใช้ให้การเรียนการสอน งานวิจัย หรือการพัฒนาตนเองได้ โดยผลที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนาดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนากระบวนการทำสารเสริมในอาหารสัตว์น้ำในแคปซูล อัลจิเนต-ไคโตซานและกรรมวิธีการผลิต จากการที่ได้งบของ NIA จำนวน 1,180,000 บาท จากสิทธิบัตรเลขที่ 1801004807 จากการนำความรู้ในเรื่องที่ 2 และ 6. คือ เรื่อง สูตรตำหรับนาโนเพื่อนวัตกรรมอาหารสัตว์ และนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน อีกทั้งนำความรู้ในเรื่อง ที่ โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามหลักการ BEDO’s Concept และ สรรหาชุมชนใหม่ : กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ไผ่ และงานฝีมือ ของ BEDO งบ 1,289,000 บาท ในเรื่องที่ 4. เรื่อง จากทรัพยากรชีวภาพสู่การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และยังสามารถนำมาประยุคใช้ในงานขอทุนวิจัย และพัฒนางานวิจัยอื่น ๆ ได้อีก เช่น การศึกษาบทบาทของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกในระหว่างการผลิตสีย้อมห้อมแบบธรรมชาติเพื่อการผลิตสีย้อมแบบยั่งยืน ของ สวทช. งบ 200,000 บาท และ เขียนงานวิจัยขอทุน วช. 2563 เรื่อง ผลของเอนโดไฟติกเเบคทีเรียต่อคุณภาพการให้สีครามของห้อมในพื้นที่จังหวัดเเพร่
|
คำสำคัญ :
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา นวัตกรรมอาหารสัตว์ ซินไบโอติก
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2345
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
1
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐพร จันทร์ฉาย
วันที่เขียน
29/9/2562 16:04:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 22:06:59
|
|
|
เผยแพร่อบรม สัมมนา
»
กระแสของผู้บริโภคด้านอาหารในปัจจุบัน
|
ข้าพเจ้า นางสาวจุฑามาศ มณีวงศ์ ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ในการเข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน ในงานประชุม “2019 International Joint Conference on JSAM and SASJ, and CIGR VI Technical Symposium Joining FWFNWG and FSWG Workshop” ณ มหาวิทยาลัยฮอกไกโด เมืองซับโปโร ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน 2562 ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบโปสเตอร์ เลขที่ อว 69.4.4/54 ลงวันที่ 17 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2562 นั้น จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุม ดังต่อไปนี้
ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับความรู้จากการบรรยาย เรื่อง แนวทางการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคด้านโภชนาการและอาหารปลอดภัย และ เรื่องการยืดอายุการเก็บรักษาปลาซาดีนและหอยเซลล์โดยใช้วิธี high hydrostatic pressure โดยสรุปเนื้อหาของงานดังนี้
หัวข้อ แนวทางการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคด้านโภชนาการและอาหารปลอดภัย โดย Dongxiao Sun-Waterhouse ได้บรรยายเกี่ยวกับ การวิจัยค้นคว้าและพัฒนากระบวนการผลิตอาหารสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือคุณค่าทางโภชนาการ คุณภาพของอาหารและอาหารปลอดภัย ผู้บริโภคในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารเพื่อให้อาหารนั้นยังคงมีคุณค่าหรือมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ทำให้อาหารนั้นสะดวกต่อการบริโภคมากขึ้น กระแสความต้องการของผู้บริโภคอาหาร ได้แก่ 1) อาหารต้องไม่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือการอักเสบ 2) อาหารต้องส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร 3) อาหารมีปริมาณน้ำตาลต่ำหรือไม่มีน้ำตาล 4) เครื่องดื่มมีปริมาณน้ำตาลต่ำและแคลอรีต่ำ 5) ความชอบส่วนบุคคลของผู้บริโภค เช่น ผู้ที่บริโภคมังสวิรัติ, ผู้ที่ชอบบริโภคเนื้อ หรือวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแต่แหล่ง 6) วัตถุดิบหรือส่วนผสมจากพืช 7) เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดี 8) ชนิดและปริมาณโปรตีนในอาหาร 9) ชนิดและปริมาณไขมันในอาหาร 10) ของกินเล่นทำจากวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ถั่ว หรือ ผลไม้ เป็นต้น
จากกระแสความต้องการของผู้บริโภค ดังที่กล่าวมาแล้ว การติดฉลากเพื่อบ่งบอกส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการบนผลิตภัณฑ์นั้นมาความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค โดย Dongxiao Sun-Waterhouse ได้ทำการวิจัยสำรวจ พบว่าการติดฉลากที่บ่งบอกคุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยของอาหารบนผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
และได้รับฟังการบรรยาย เรื่องการยืดอายุการเก็บรักษาปลาซาดีนและหอยเซลล์โดยใช้วิธี high hydrostatic pressure โดย Amauri Rosenthal จากการบริโภคปลาซาดีนและหอยเซลล์ มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น จึงมีการหาวิธีในการยืดอายุเก็บรักษาให้ได้ยาวนานขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ ในงานวิจัยนี้ใช้ High hydrostatic pressure (HHP) ช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร โดยใช้ HHP ที่ความดัน 300-400 MPa กับปลาซาดีนและหอยเซลล์ นาน 0-15 นาที วิเคราะห์หาปริมาณจุลินทรีย์ที่เหลือรอดและเจริญระหว่างการเก็บรักษาในตู้เย็น (4-5 องศาเซลเซียส) จากผลการทดลองพบว่าการใช้ความดันสูงและเวลานานสามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ที่สามารถเจริญที่อุณหภูมิทั่วไปและจุลินทรีย์ที่สามารถเจริญในที่อุณหภูมิต่ำในปลาซาดีนและหอยเซลล์ได้ เมื่อเก็บไว้นาน 21 วัน จากการวิเคราะห์โปรตีนพบว่าเนื้อสัมผัสของโปรตีนเปลี่ยนแปลงไปในเชิงลบ ส่วนกรดนิวคลีอิกบางส่วนถูกทำลาย นอกจากนี้ยังพบการเกิดการเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในหอยเซลล์อีกด้วย จึงสรุปได้ว่า HHP สามารถยืดอายุการเก็บรักษาปลาซาดีนและหอยเซลล์ได้นานขึ้น ลดการเจริญของจุลินทรีย์ในระหว่างการเก็บรักษาในตู้เย็น แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การสูญเสียกรดนิวคลีอิกในอาหาร อีกทั้งยังมีการเกิดสารชนิดอื่นขึ้นอีกด้วย ซึ่งสารดังกล่าวควรมีการตรวจสอบว่ามีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคหรือไม่
นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ เรื่อง Effect of Sucrose and Glucose on Coffee Kombucha Carbonation
จากการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ ทราบแนวโน้มและกระแสของการบริโภคอาหารของผู้บริโภคในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำมาประยุกต์ใช้การเรียนการสอนรายวิชา ชว 453 เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร ต่อไป
|
คำสำคัญ :
คุณค่าทางโภชนาการ อาหารปลอดภัย อาหารสุขภาพ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1535
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
จุฑามาศ มณีวงศ์
วันที่เขียน
27/9/2562 12:09:02
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 18:46:41
|
|
|
เผยแพร่อบรม สัมมนา
»
กระแสของผู้บริโภคด้านอาหารในปัจจุบัน
|
ข้าพเจ้า นางสาวจุฑามาศ มณีวงศ์ ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ในการเข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน ในงานประชุม “2019 International Joint Conference on JSAM and SASJ, and CIGR VI Technical Symposium Joining FWFNWG and FSWG Workshop” ณ มหาวิทยาลัยฮอกไกโด เมืองซับโปโร ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน 2562 ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบโปสเตอร์ เลขที่ อว 69.4.4/54 ลงวันที่ 17 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2562 นั้น จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุม ดังต่อไปนี้
ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับความรู้จากการบรรยาย เรื่อง แนวทางการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคด้านโภชนาการและอาหารปลอดภัย และ เรื่องการยืดอายุการเก็บรักษาปลาซาดีนและหอยเซลล์โดยใช้วิธี high hydrostatic pressure โดยสรุปเนื้อหาของงานดังนี้
หัวข้อ แนวทางการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคด้านโภชนาการและอาหารปลอดภัย โดย Dongxiao Sun-Waterhouse ได้บรรยายเกี่ยวกับ การวิจัยค้นคว้าและพัฒนากระบวนการผลิตอาหารสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือคุณค่าทางโภชนาการ คุณภาพของอาหารและอาหารปลอดภัย ผู้บริโภคในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารเพื่อให้อาหารนั้นยังคงมีคุณค่าหรือมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ทำให้อาหารนั้นสะดวกต่อการบริโภคมากขึ้น กระแสความต้องการของผู้บริโภคอาหาร ได้แก่ 1) อาหารต้องไม่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือการอักเสบ 2) อาหารต้องส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร 3) อาหารมีปริมาณน้ำตาลต่ำหรือไม่มีน้ำตาล 4) เครื่องดื่มมีปริมาณน้ำตาลต่ำและแคลอรีต่ำ 5) ความชอบส่วนบุคคลของผู้บริโภค เช่น ผู้ที่บริโภคมังสวิรัติ, ผู้ที่ชอบบริโภคเนื้อ หรือวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแต่แหล่ง 6) วัตถุดิบหรือส่วนผสมจากพืช 7) เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดี 8) ชนิดและปริมาณโปรตีนในอาหาร 9) ชนิดและปริมาณไขมันในอาหาร 10) ของกินเล่นทำจากวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ถั่ว หรือ ผลไม้ เป็นต้น
จากกระแสความต้องการของผู้บริโภค ดังที่กล่าวมาแล้ว การติดฉลากเพื่อบ่งบอกส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการบนผลิตภัณฑ์นั้นมาความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค โดย Dongxiao Sun-Waterhouse ได้ทำการวิจัยสำรวจ พบว่าการติดฉลากที่บ่งบอกคุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยของอาหารบนผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
และได้รับฟังการบรรยาย เรื่องการยืดอายุการเก็บรักษาปลาซาดีนและหอยเซลล์โดยใช้วิธี high hydrostatic pressure โดย Amauri Rosenthal จากการบริโภคปลาซาดีนและหอยเซลล์ มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น จึงมีการหาวิธีในการยืดอายุเก็บรักษาให้ได้ยาวนานขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ ในงานวิจัยนี้ใช้ High hydrostatic pressure (HHP) ช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร โดยใช้ HHP ที่ความดัน 300-400 MPa กับปลาซาดีนและหอยเซลล์ นาน 0-15 นาที วิเคราะห์หาปริมาณจุลินทรีย์ที่เหลือรอดและเจริญระหว่างการเก็บรักษาในตู้เย็น (4-5 องศาเซลเซียส) จากผลการทดลองพบว่าการใช้ความดันสูงและเวลานานสามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ที่สามารถเจริญที่อุณหภูมิทั่วไปและจุลินทรีย์ที่สามารถเจริญในที่อุณหภูมิต่ำในปลาซาดีนและหอยเซลล์ได้ เมื่อเก็บไว้นาน 21 วัน จากการวิเคราะห์โปรตีนพบว่าเนื้อสัมผัสของโปรตีนเปลี่ยนแปลงไปในเชิงลบ ส่วนกรดนิวคลีอิกบางส่วนถูกทำลาย นอกจากนี้ยังพบการเกิดการเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในหอยเซลล์อีกด้วย จึงสรุปได้ว่า HHP สามารถยืดอายุการเก็บรักษาปลาซาดีนและหอยเซลล์ได้นานขึ้น ลดการเจริญของจุลินทรีย์ในระหว่างการเก็บรักษาในตู้เย็น แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การสูญเสียกรดนิวคลีอิกในอาหาร อีกทั้งยังมีการเกิดสารชนิดอื่นขึ้นอีกด้วย ซึ่งสารดังกล่าวควรมีการตรวจสอบว่ามีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคหรือไม่
นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ เรื่อง Effect of Sucrose and Glucose on Coffee Kombucha Carbonation
จากการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ ทราบแนวโน้มและกระแสของการบริโภคอาหารของผู้บริโภคในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำมาประยุกต์ใช้การเรียนการสอนรายวิชา ชว 453 เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร ต่อไป
|
คำสำคัญ :
คุณค่าทางโภชนาการ อาหารปลอดภัย อาหารสุขภาพ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1535
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
จุฑามาศ มณีวงศ์
วันที่เขียน
27/9/2562 12:09:02
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 18:46:41
|
|
|
|
รุ่งทิพย์ กาวารี
»
#ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในตามมาตรฐาน BRC Food issue 8
|
BRC (British Retail Consortium) Food Issue 8 คือ มาตรฐานความปลอดภัยอาหารสากลที่เกิดจากสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร ระบุข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและคุณภาพที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ขยายข้อกำหนดสำหรับการติดตามด้านสภาวะแวดล้อมเพื่อสะท้อนถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้น (สภาวะแวดล้อมในที่นี้หมายถึง อากาศในห้อง ผนัง พื้นห้อง สิ่งแวดล้อมภายนอก) ส่งเสริมสถานประกอบการให้มีการพัฒนาระบบเพื่อความมั่นคงและการป้องกันอาหาร เพิ่มความชัดเจนในข้อกำหนดสำหรับโซนความเสี่ยงด้านการผลิตที่มีความเสี่ยงสูง ดูแลสูง และความรอบคอบ ให้ความชัดเจนมากขึ้นสำหรับผลิตอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง และมั่นใจในการบังคับใช้และการเปรียบเทียบกับ Global Food Safety Initiative (GFSI) ได้แก่ BRC, FSSC, IFS, Thai Union standard
ขอบเขตของมาตรฐาน BRC Food Safety กำหนดมาตรฐานสำหรับการผลิต การแปรรูป และการบรรจุอาหารแปรรูปทั้งเจ้าของสินค้า/ผู้ผลิตสินค้า และสินค้าของลูกค้า วัตถุดิบหรือส่วนผสมสำหรับใช้โดยบริษัทผู้ให้บริการด้านอาหาร บริษัทอาหาร และ/หรือผู้ผลิตอาหาร มาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์หลัก เช่น ผลไม้และผัก มาตรฐานสำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสัตว์เลี้ยง
|
คำสำคัญ :
BRC Food issue 8 British Retail Consortium มาตรฐานความปลอดภัยอาหาร
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
87328
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
รุ่งทิพย์ กาวารี
วันที่เขียน
11/5/2562 14:38:14
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 21:21:37
|
|
|
|
|
จากสารชีวมวลสู่พลังงานเชื้อเพลิง
»
เศษอาหาร
|
การผลิตแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารเข้มข้นด้วยกระบวนการหมักแบบไม่ใช้แสงโดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบกวนต่อเนื่องภายใต้สภาวะที่ไม่มีออกซิเจนอิสระและไม่มีการควบคุมความเป็นกรดด่าง ที่อัตราการป้อนสารอินทรีย์แตกต่างกัน จากการศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นของสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารพบว่าสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารที่ใช้ในการศึกษานี้มีปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งที่ระเหยได้ และ ค่าปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ เท่ากับ 372,000, 254,000 และ 27,456 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ มากไปกว่านั้นอัตราส่วนระหว่าง ค่าปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่อปริมาณไนโตรเจนต่อปริมาณฟอสฟอรัสคือ 100: 1.46: 1.53 แสดงให้เห็นว่าสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารนี้มีสารอาหารจำพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในการย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารภายใต้สภาวะที่ไม่มีออกซิเจนอิสระ
|
คำสำคัญ :
แก๊สชีวภาพ (Biogas) เศษอาหาร (Food waste)
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
9669
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
พัชรี อินธนู
วันที่เขียน
25/1/2559 10:26:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 21:50:48
|
|
|
|
|