BRC (British Retail Consortium) Food Issue 8
BRC (British Retail Consortium) Food Issue 8 คือ มาตรฐานความปลอดภัยอาหารสากลที่เกิดจากสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร ระบุข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและคุณภาพที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ขยายข้อกำหนดสำหรับการติดตามด้านสภาวะแวดล้อมเพื่อสะท้อนถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้น (สภาวะแวดล้อมในที่นี้หมายถึง อากาศในห้อง ผนัง พื้นห้อง สิ่งแวดล้อมภายนอก) ส่งเสริมสถานประกอบการให้มีการพัฒนาระบบเพื่อความมั่นคงและการป้องกันอาหาร เพิ่มความชัดเจนในข้อกำหนดสำหรับโซนความเสี่ยงด้านการผลิตที่มีความเสี่ยงสูง ดูแลสูง และความรอบคอบ ให้ความชัดเจนมากขึ้นสำหรับผลิตอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง และมั่นใจในการบังคับใช้และการเปรียบเทียบกับ Global Food Safety Initiative (GFSI) ได้แก่ BRC, FSSC, IFS, Thai Union standard
ขอบเขตของมาตรฐาน BRC Food Safety กำหนดมาตรฐานสำหรับการผลิต การแปรรูป และการบรรจุอาหารแปรรูปทั้งเจ้าของสินค้า/ผู้ผลิตสินค้า และสินค้าของลูกค้า วัตถุดิบหรือส่วนผสมสำหรับใช้โดยบริษัทผู้ให้บริการด้านอาหาร บริษัทอาหาร และ/หรือผู้ผลิตอาหาร มาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์หลัก เช่น ผลไม้และผัก มาตรฐานสำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสัตว์เลี้ยง
ข้อกำหนด BRC ที่ตรวจประเมิน
Clause
|
Requirements
|
1
|
Senior Management Commitment
|
2
|
The Food Safety Plan - HACCP
|
3
|
Food Safety and Quality Management System
|
4
|
Site Standards
|
5
|
Product Control
|
6
|
Process Control
|
7
|
Personnel
|
8
|
High-Risk, High-Care and Ambient High-Care Production Risk Zones
|
9
|
Requirements for Traded Products
|
ข้อกำหนดในส่วนที่ 1-7 บังคับต้องปฏิบัติทุกข้อ จะต้องประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานทั้งหมด สถานประกอบการใด ๆ ที่มีสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง ดูแลเป็นพิเศษ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในส่วนที่ 8 ถ้าบริษัทไม่มีพื้นที่ไม่ต้องทำ และในกรณีที่สถานประกอบการมีผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมาขาย (เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ผลิตหรือดำเนินการที่สถานประกอบการ แต่ซื้อและขายโดยสถานประกอบการ) มีข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีรายละเอียดตามที่ระบุในส่วนที่ 9
ข้อกำหนด จำนวน 12 ข้อ ไม่ปฏิบัติไม่ได้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่
- ความมุ่งมั่นผู้บริหารระดับสูงและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Senior management commitment and continual improvement) (1.1)
- แผนความปลอดภัยในอาหาร – HACCP (The food safety plan – HACCP) (2)
- การตรวจติดตามภายใน (Internal audits) (3.4)
- การบริหารจัดการผู้จำหน่ายวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ (3.5.1)
- การดำเนินการแก้ไข และป้องกัน (Corrective and preventative actions) (3.7)
- การสอบย้อนกลับ (Traceability) (3.9)
- แผนผังโรงงาน, แผนภูมิกระบวนการผลิต และการกั้นแยกพื้นที่ (Layout, product flow and segregation) (4.3)
- การทำความสะอาดและสุขลักษณะ (Housekeeping and hygiene) (4.11)
- การจัดการสารก่อภูมิแพ้ (Management of allergens) (5.3)
- การควบคุมการปฏิบัติงาน (Control of operations) (6.1)
- การติดฉลากและการควบคุมหีบห่อ (Labelling and pack control) (6.2)
- การฝึกอบรม: การจัดการวัตถุดิบ, การเตรียม, การการแปรรูป, บรรจุภัณฑ์ และพื้นที่จัดเก็บ (Training: raw material handling, preparation, processing, packing and storage areas) (7.1)
ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในตามมาตรฐาน BRC Food issue 8 ได้แก่
CLAUSE 1. ความมุ่งมั่นของผู้บริหารอาวุโส ต้องแสดงให้เห็นถึงการมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดมาตรฐาน Global Standard for Food Safety และกระบวนการที่ซึ่งก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยในอาหาร มีโครงสร้างองค์กร ความรับผิดชอบ และ อำนาจตามหน้าที่ในการจัดการ องค์กรต้องมีแผนผังองค์กรและเส้นทางการสื่อสารที่ชัดเจน เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลต่อการจัดการ ความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ กฎหมาย และ คุณภาพ
CLAUSE 2. แผนความปลอดภัยในอาหาร – HACCP บริษัทต้องมีการประยุกต์ใช้แผนงานความปลอดภัยในอาหารตามหลักการของ Codex Alimentarius HACCP อย่างเต็มที่และมีประสิทธิผล มีโปรแกรมขั้นพื้นฐาน อธิบายผลิตภัณฑ์ ระบุวัตถุประสงค์การใช้งาน สร้างแผนภูมิกระบวนการผลิต ทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิต ระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแต่ละขั้นตอนกระบวนการดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงและพิจารณามาตรการเพื่อควบคุมอันตรายที่ระบุ กำหนดจุดควบคุมวิกฤต (CCPs) กำหนดขีดจำกัดวิกฤต (CL) สำหรับแต่ละ CCP กำหนดแผนการเฝ้าระวัง สำหรับแต่ละ CCP จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไข กำหนดระเบียบปฏิบัติการตรวจสอบ มีเอกสาร HACCP และการจัดทำบันทึก ทบทวนแผน HACCP
CLAUSE 3. ระบบการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร คู่มือคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร จัดทำเป็นเอกสารเพื่อให้สามารถที่จะนำไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ มีไว้ใช้เพื่อการอบรม และสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย มีระบบการควบคุมเอกสารเพื่อให้มั่นใจว่ามีการใช้งานเอกสารและแบบฟอร์มที่ใช้บันทึกเป็นฉบับที่ถูกต้อง เก็บรักษาบันทึกต้นฉบับ จัดเก็บบันทึกเท่ากับอายุผลิตภัณฑ์บวกเพิ่ม 12 เดือน การตรวจติดตามมีการทวนสอบแผนความปลอดภัยอาหาร การอนุมัติการผลิตและวัตถุดิบ การแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ การควบคุมสินค้าที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด การสอบย้อนกลับ การจัดการข้อร้องเรียน การจัดการอุบัติการณ์ การถอนผลิตภัณฑ์ และการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
CLAUSE 4. มาตรฐานโรงงาน / มาตรฐานสถานที่ตั้ง สถานที่ตั้งต้องมีขนาด ตำแหน่ง การก่อสร้างและคงไว้ซึ่ง ที่เหมาะสมเพื่อลดการปนเปื้อนและสามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย มีการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันด้านอาหาร มีแผนผังโรงงาน, แผนภูมิกระบวนการผลิต และ การกั้นแยกพื้นที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ควบคุมความเสี่ยงด้านสาธารณูปโภค เครื่องมือ อุปกรณ์ การบำรุงรักษา สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพนักงาน การปนเปื้อนทางเคมีและกายภาพ เครื่องมือคัดแยกและตรวจจับสิ่งแปลกปลอม การทำความสะอาดและสุขลักษณะ การกำจัดของเสีย ปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์ มีกระบวนการบริหารจัดการอาหารที่ผลิตเกินและอาหารสัตว์ การจัดการสัตว์พาหะ การจัดเก็บ และการกระจายสินค้าและการขนส่ง
CLAUSE 5. การควบคุมผลิตภัณฑ์ ระเบียบปฏิบัติสำหรับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องมีอยู่เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและถูกกฎหมาย การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ การจัดการสารก่อภูมิแพ้ ระบบการซื้อวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ห้องปฏิบัติการ การตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์ การผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ใช้ระเบียบปฏิบัติมาตรฐานที่เหมาะสม ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนด
CLAUSE 6. การควบคุมกระบวนการ การควบคุมการปฏิบัติงาน บริษัทต้องจัดทำระเบียบปฏิบัติและข้อแนะนำในการทำงานที่มั่นใจว่าสามารถทำการผลิตสินค้าให้ปลอดภัย และสอดคล้องตามกฎหมาย และคุณภาพตามที่กำหนดได้อย่างสม่ำเสมอ สอดคล้องกับแผนความปลอดภัยในอาหาร HACCP การจัดการควบคุมการติดฉลากและยิงโค๊ดถูกต้อง การควบคุมปริมาณที่สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายของประเทศที่มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมนั้นๆ หรือตามความต้องการของลูกค้า เครื่องมือวัดมีความเที่ยงตรงแม่นยำและเชื่อถือได้เพื่อให้มั่นใจในผลการวัด
CLAUSE 7. บุคลากร บุคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงานที่มีผลต่อความปลอดภัยด้านคุณภาพมีความสามารถในการดำเนินกิจกรรม โดยอาศัยการฝึกอบรม ประสบการณ์การทำงานหรือจากวุฒิการศึกษา ด้านการจัดการวัตถุดิบ, การเตรียม, การการแปรรูป, บรรจุภัณฑ์ และพื้นที่จัดเก็บ บริษัทต้องจัดทำมาตรฐานสุขอนามัยส่วนบุคคล บริษัทต้องมีระเบียบปฏิบัติการคัดกรอง และจัดหาให้มีเครื่องแต่งกายป้องกันที่เหมาะสมให้กับพนักงาน พนักงานรับเหมา ผู้รับเหมา หรือผู้เยี่ยมชม ว่าไม่ได้เป็นสาเหตุของการแพร่เชื้อโรคสู่ผลิตภัณฑ์
CLAUSE 8. ความเสี่ยงของพื้นที่การผลิต High-risk, high-care and ambient high-care โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพื้นที่ high-risk, high-care และหรือ ambient high-care ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจากส่วนที่ 1-7 ของมาตรฐาน แล้วเพิ่มเติมข้อกำหนดในส่วนนี้ด้วย มีแผนผังแสดงเส้นทางทิศทางการระบายน้ำสำหรับพื้นที่นี้ และตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อป้องกันการย้อนกลับของน้ำเสีย ต้องมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้เฉพาะในพื้นที่นั้นและจัดเก็บไว้ในพื้นที่นั้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้าของบุคลากรที่กำหนดไว้เป็นพิเศษตรงบริเวณทางเข้าพื้นที่ การทำความสะอาดและสุขลักษณะในพื้นที่ ต้องมีระบบการกำจัดของเสีย ที่มั่นใจได้ว่ามีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นน้อยที่สุด การซักเครื่องแต่งกายจะต้องดำเนินการโดยผู้รับเหมาที่ผ่านการอนุมัติหรือซักโดยบริษัทเอง
CLAUSE 9. ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่าย ในกรณีที่สถานประกอบการซื้อและขายผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งปกติจะอยู่ในขอบเขตของมาตรฐาน (BRC) และจัดเก็บในพื้นที่ของสถานประกอบการเอง แต่ไม่ได้ทำการผลิต, แปรรูปเพิ่มเติม หรือการบรรจุที่สถานประกอบการที่ได้รับการตรวจประเมิน การจัดการผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ครอบคลุมในข้อกำหนดข้อ 1 ถึง 8 และของส่วนนี้ด้วย คือ การอนุมัติและการติดตามประสิทธิผลของผู้ผลิต/บรรจุของผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่าย สเป็ค ห้องปฏิบัติการทดสอบและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ถูกต้องตามกฎหมาย และตรวจสอบย้อนกลับ
สรุปการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรที่ 2 : ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในตามมาตรฐาน BRC Food issue 8 ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
ข้าพเจ้าได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ มีความเข้าใจแนวความคิด และหลักปฏิบัติต่างๆ อย่างถูกต้อง แล้วนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานของตนเอง และงานวิจัย