Blog : แลกเปลี่ยนเรียนรู้
รหัสอ้างอิง : 327
ชื่อสมาชิก : กัญญา บุตราช
เพศ : หญิง
อีเมล์ : kanya@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 21/3/2554 9:53:11
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 21/3/2554 9:53:11

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : แลกเปลี่ยนเรียนรู้
สรุปหัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมวิชาการ Cerebos Award Conference 2014 เรื่อง “โภชนาการและอาหารฟังก์ชั่นคลายเครียด” โดย อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช Registered Dietitian (USA) โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ความเครียดคืออะไร ความเครียด หมายถึง อาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) นอกจากนี้กรมสุขภาพจิต (2552) กล่าวว่าความเครียดเป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจที่เกิดการตื่นตัวเตรียมรับกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเราคิดว่าไม่น่าพอใจ เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเกินกำลังทรัพยากรที่เรามีอยู่หรือเกินความสามารถของเราที่จะแก้ไขได้ ทำให้รู้สึกหนักใจเป็นทุกข์ และพลอยทำให้เกิดผิดปกติทางร่างกายและพฤติกรรมตามไปด้วย อาหารสัมพันธ์กับความเครียด อาหารมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองและส่งผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของคนเรา รวมทั้งอาการซึมเศร้า อาหารหลาย ๆ ชนิดเกี่ยวข้องกับความเครียด อารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ใจ อีกทั้งความเครียดและอาหารเลวทำให้ระดับสารสื่อสมองลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีความเครียดมักจะกินอาหารที่เพิ่มความเครียดให้ร่างกาย เช่น อาหารแปรรูปและ junk food ที่จะกระตุ้น sympathetic nervous system ที่จะหลั่ง epinephrine และ nor- epinephrine นอกจากนี้ผู้ที่เครียดจะมีนิสัยการบริโภคที่แย่ลง อาจงดอาหารบางมื้อ ทำให้หิวจัด แล้วเลือกกินอาหาร fast food ติดกาแฟ หรือใช้กาแฟแก้เครียด แก้ง่วง กระตุ้นความตื่นตัว หรือกินแก้เครียดทำให้น้ำหนักขึ้น คาเฟอีนตัวการสำคัญในการเพิ่มฮอร์โมนเครียด คาเฟอีนมากส่งผลให้ฮอร์โมนเครียดหลายชนิดเพิ่มขึ้น เช่น Adenosine ทำให้ตื่นตัวจริงแต่ก่อให้เกิดปัญหาการนอนในระยะต่อมา Adrenaline ทำให้ตื่นตัวมากขึ้นแต่จะทำให้อ่อนเพลียเมื่อหมดฤทธิ์ไป Cortisol ฮอร์โมนเครียดทำให้อยากอาหารคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และไขมัน และทำให้ลงพุง Dopamine ทำให้รู้สึกดี สดชื่น แต่เมื่อหมดฤทธิ์ทำให้เริ่มติดกาแฟ อาหารที่ร่างกายต้องการต้านเครียด คาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี และโปรตีนเล็กน้อย ช่วยสร้างสารสื่อสมองชื่อ “เซโรโทนิน” วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันความเครียดที่เกิดจากอิสระ วิตามินบีรวม ช่วยการทำงานของระบบประสาท เผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตและไขมันเป็นพลังงาน ขาดวิตามินบีมีผลให้การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ และเพิ่มความเครียดให้กับเซลล์ ก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าและหงุดหงิด วิตามินซีระหว่างที่ร่างกายมีความเครียดและเจ็บป่วย หมวกไตจะมีการใช้วิตามินซีมากขึ้น แมกนีเซียมและสังกะสี ขณะที่ร่างกายมีความเครียด จะสูญเสียแมกนีเซียมและธาตุอื่นๆ ไปกับปัสสาวะมากกว่าปกติ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ » โภชนาการและอาหารฟังก์ชันคลายเครียด
อาหารมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง และส่งผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของคนเรา อาหารหลายๆ ชนิดเกี่ยวข้องกับความเครียด อารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ใจ อีกทั้งความเครียดและอาหารเลวทำให้ระดับสารสื่อสมองลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีความเครียดมักจะกินอาหารที่เพิ่มความเครียดให้ร่างกาย เช่น อาหารแปรรูปและ junk food ที่จะกระตุ้น sympathetic nervous system ที่จะหลั่ง epinephrine และ nor-epinephrine นอกจากนี้ผู้ที่เครียดจะมีนิสัยการบริโภคที่แย่ลง อาจงดอาหารบางมื้อ ทำให้หิวจัด แล้วเลือกกินอาหาร fast food ติดกาแฟ หรือใช้กาแฟแก้เครียด แก้ง่วง กระตุ้นความตื่นตัว หรือกินแก้เครียดทำให้น้ำหนักขึ้น
คำสำคัญ : ความเครียด  อาหารฟังก์ชัน  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 9933  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กัญญา บุตราช  วันที่เขียน 11/2/2558 16:15:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:37:05
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ » โภชนาการ
ความเครียด
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2725  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กัญญา บุตราช  วันที่เขียน 11/2/2558 15:12:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:37:17

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้