เศษอาหาร
วันที่เขียน 25/1/2559 10:26:28     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/5/2567 6:41:41
เปิดอ่าน: 9446 ครั้ง

การผลิตแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารเข้มข้นด้วยกระบวนการหมักแบบไม่ใช้แสงโดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบกวนต่อเนื่องภายใต้สภาวะที่ไม่มีออกซิเจนอิสระและไม่มีการควบคุมความเป็นกรดด่าง ที่อัตราการป้อนสารอินทรีย์แตกต่างกัน จากการศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นของสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารพบว่าสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารที่ใช้ในการศึกษานี้มีปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งที่ระเหยได้ และ ค่าปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ เท่ากับ 372,000, 254,000 และ 27,456 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ มากไปกว่านั้นอัตราส่วนระหว่าง ค่าปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่อปริมาณไนโตรเจนต่อปริมาณฟอสฟอรัสคือ 100: 1.46: 1.53 แสดงให้เห็นว่าสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารนี้มีสารอาหารจำพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในการย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทเศษอาหารภายใต้สภาวะที่ไม่มีออกซิเจนอิสระ

ปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ปริมาณขยะประเภทเศษอาหารมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดมาจากการอุปโภคบริโภคของประชากรในครัวเรือน สถานศึกษา (โรงเรียน มหาวิทยาลัย) ห้างสรรพสินค้า และร้านอาหาร เป็นต้น โดยเศษอาหารที่เหลือจากการอุปโภคบริโภคเหล่านั้นจะถูกกำจัดด้วยการฝังกลบหรือใช้ในการทำปุ๋ย ซึ่งพบว่าจะมีปัญหาตามมามากมาย เช่น กลิ่นเน่าเสียและเหม็นของเศษอาหาร อีกทั้งยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นจึงทำให้เกิดแนวคิดในการลดปริมาณการเกิดกลิ่นเน่าเสียและกลิ่นเหม็นจากเศษอาหารและคิดค้นวิธีที่ทำให้เกิดประโยชน์จากเศษอาหาร จากการศึกษาจึงทำให้ทราบว่า เศษอาหารมีคุณลักษณะเป็นอินทรีย์สารที่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ โดยจะเกิดการย่อยสลายจากสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็กและเกิดกระบวนการหมักแล้วเกิดเป็นแก๊สชีวภาพ(Biogas) ซึ่งองค์ประกอบของแก๊สชีวภาพที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ก๊าซมีเทน(CH4) ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น เป็นแก๊สใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน ใช้สำหรับให้แสงสว่างและให้ความร้อน ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดูดน้ำ-เครื่องยนต์รถยนต์ ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนสำหรับการอบแห้งผลิตภัณฑ์หรือให้ความอบอุ่นแก่ลูกสัตว์ตามฟาร์มต่างๆ เช่น ไก่ สุกร ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนในภาคอุตสาหกรรม เช่น หม้อไอน้ำ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ยังพบว่ากากตะกอนที่ผ่านการย่อยสลายจากกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพและน้ำเสียที่ได้จากกระบวนการหมัก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร เช่น การทำเป็นปุ๋ยหรือทำอาหารสัตว์ และยังสามารถแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณการทิ้งของเสีย และลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=447
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/5/2567 0:42:03   เปิดอ่าน 58  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง