วิธีการตรวจสอบราและยีสต์ในอาหาร
วันที่เขียน 31/3/2557 11:07:26     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 18:58:58
เปิดอ่าน: 41140 ครั้ง

ราและยีสต์ เป็นจุลินทรีย์ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ จึงเป็นต้นเหตุของการเน่าเสียของอาหารหลายชนิด การเจริญของจุลินทรีย์กลุ่มนี้บนอาหาร อาจสังเกตได้จากการเกิดจุดเน่าขนาดต่างๆ กัน การเกิดเมือกและเส้นใยสีขาว หรือเกิดการสร้างสปอร์สีต่างๆ ทำให้อาหารมีกลิ่นรสผิดปกติ โดยทั่วไปเชื้อราเจริญช้ากว่าแบคทีเรียและมีความต้องการสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญน้อยกว่าแบคทีเรีย หรืออาจเรียกว่ามีความจู้จี้น้อยกว่าแบคทีเรีย ดังนั้นจุลินทรีย์พวกนี้จึงเจริญในสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ดีกว่าแบคทีเรีย โดยเฉพาะที่มีความเข้มข้นของกรดเกลือ และน้ำตาลสูง รวมทั้งสภาพที่แห้ง จึงมักทำให้เกิดปัญหาการเน่าเสียของอาหารประเภทกึ่งแห้งได้ง่าย โดยเฉพาะธัญชาติ ถั่วต่างๆ และผลไม้

             จากการเข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง การตรวจสอบยีสต์และราในอุตสาหกรรมอาหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งจัดโดยบริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคุณวนิดา มรรคนา และคุณเจนจิรา เฟื่องไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ซึ่งจากการสัมมนาสามารถสรุปรายละเอียดได้ดังนี้

 

วิธีการตรวจสอบราและยีสต์ในอาหาร 

              ราและยีสต์ เป็นจุลินทรีย์ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ จึงเป็นต้นเหตุของการเน่าเสียของอาหารหลายชนิด การเจริญของจุลินทรีย์กลุ่มนี้บนอาหาร อาจสังเกตได้จากการเกิดจุดเน่าขนาดต่างๆ กัน การเกิดเมือกและเส้นใยสีขาว หรือเกิดการสร้างสปอร์สีต่างๆ ทำให้อาหารมีกลิ่นรสผิดปกติ โดยทั่วไปเชื้อราเจริญช้ากว่าแบคทีเรียและมีความต้องการสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญน้อยกว่าแบคทีเรีย หรืออาจเรียกว่ามีความจู้จี้น้อยกว่าแบคทีเรีย ดังนั้นจุลินทรีย์พวกนี้จึงเจริญในสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ดีกว่าแบคทีเรีย โดยเฉพาะที่มีความเข้มข้นของกรดเกลือ และน้ำตาลสูง รวมทั้งสภาพที่แห้ง จึงมักทำให้เกิดปัญหาการเน่าเสียของอาหารประเภทกึ่งแห้งได้ง่าย โดยเฉพาะธัญชาติ ถั่วต่างๆ และผลไม้

       วิธีการตรวจสอบราและยีสต์ในอาหาร สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ

  1. Direct examination วิธีการตรวจหาเชื้อราบนตัวอย่างอาหารโดยตรง
  2. Dilution plating method วิธีการเจือจางตัวอย่าง
  3. Direct plating method วิธีการวางตัวอย่างบนผิวของอาหารเลี้ยงเชื้อโดยตรง

 

3M™ Petrifilm™ Rapid Yeast and Mold Count Plates

          เชื้อยีสต์และราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่หลากหลาย ทั้งในวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและในสภาพแวดล้อมการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องยากในการควบคุมการปนเปื้อน และที่สำคัญคือ วิธีการในการตรวจสอบเชื้อยีสต์และราแบบดั้งเดิม มีขั้นตอนในการตรวจสอบที่ยุ่งยากและใช้เวลานานถึง 5 – 7 วัน จึงสามารถรายงานผลได้

          3M จึงพัฒนา 3M Petrifilm™ Rapid Yeast and Mold เพื่อให้สามารถรายงานผลได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เทคโนโลยีการเติมสารบ่งชี้ทำให้การอ่านผลโคโลนีเชื้อยีสต์และราง่ายและชัดเจน สามารถรายงานผลได้รวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง โดยผ่านการทดสอบความถูกต้อง ที่มีความเทียบเท่ากับการตรวจสอบด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด DRBC และ DG-18 ด้วยวิธี spread plate และ acidified PDA และ YGC ด้วยวิธี pour plate ทั้งนี้สามารถตรวจสอบเชื้อยีสต์และราได้ทั้งในตัวอย่างอาหารที่ Water Activity (Aw) สูงและต่ำ พร้อมทั้งลดขั้นตอนที่ยุ่งยากของเทคนิคการทำ spread plate ที่ต้องทำถึง 3 plate ต่อหนึ่งตัวอย่าง โดยสามารถทดสอบตัวอย่างได้หลากหลาย เช่น สำหรับทดสอบสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธี swab test หรือ surface contact และ air test

           3M Petrifilm™ Rapid Yeast and Mold จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน รายงานผลการทดสอบได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาและกระบวนการในทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์

 

           ดังนั้นในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารและอื่น ๆ เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการให้บริการห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานภัณฑ์ จะได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนของวิธีการวิเคราะห์โดยใช้แผ่นเพาะเชื้อ (Petrifilm) เพื่อนำมาปรับใช้ในการให้บริการต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=279
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประ...
DNA sequencing, nanopore technology     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 22:04:52   เปิดอ่าน 21  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 18:11:03   เปิดอ่าน 722  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 14:57:03   เปิดอ่าน 134  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง