Blog : การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ได้ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น
รหัสอ้างอิง : 1642
ชื่อสมาชิก : ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panarin@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ได้ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น
ก้อนเห็ดหมดอายุเป็นแหล่งของเอนไซม์ กลุ่มย่อยโพลิแซคคาไรด์หลายชนิดที่นำมาใช้เป็นเอนไซม์เสริมในอาหารสัตว์ได้ และจากผลวิเคราะห์ค่ากิจกรรมเอนไซม์ย่อยโพลีแซคคาไรด์ในก้อนเห็ดหมดอายุ 4 ชนิด ได้แก่ เห็ดยานางิ เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว และเห็ดลม พบว่า ก้อนเห็ดลมมีกิจกรรมของเอนไซม์เหลือมากที่สุด คือ เซลลูเลส 5.48 อะมัยเลส 5.20 แมนนาเนส และไซลาเนส 16.07 ยูนิต/กรัม น้ำหนักแห้ง และพบว่าการสกัดด้วยระบบวนชะสามารถสกัดเอนไซม์ได้ดีกว่าการสกัดแบบครั้งคราว อัตราการไหล 8 มล./นาที 2 รอบ สกัดเอนไซม์รวมได้ 31.29 ยูนิต/กรัม น้ำหนักแห้ง เอนไซม์หยาบที่ผลิตได้นี้สามารถย่อยพื้นผิวของแกลบได้ ดังนั้นคาดว่าน่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในแง่ของการเสริมในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มการย่อยได้ของสัตว์ เอนไซม์อาหารสัตว์มักจะนิยมเสริมในอาหารสัตว์ เพื่อให้สัตว์มีสมรรถนะการเจริญที่ดี ช่วยเพิ่มค่าการย่อยได้ของอาหาร (digestibility) ทำให้สัตว์สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น และช่วยกำจัดสารต้านโภชนะ (antinutritional factors) ที่ก่อผลเสียต่อการเจริญของสัตว์ได้อีกด้วย มีรายงานวิจัยที่ยืนยันถึงประโยชน์จากการเสริมเอนไซม์ลงไปในอาหารสัตว์เพื่อปรับปรุงสมรรถนะการเจริญของสัตว์เลี้ยง (Marquardt et al., 1996; Alam et al., 2003; Vahjen et al., 2005) ได้แก่ เอนไซม์ xylanase beta-mannanase beta-glucanase cellulase protease และ phytase เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นการแสวงหาแหล่งเอนไซม์หาได้ง่าย ราคาถูก จึงควรนำมาศึกษาแนวทางที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทุกระดับลดค่าใช้จ่ายได้ ก้อนเพาะเห็ดที่ผ่านการใช้งานและหมดอายุแล้ว (spent mushrooms) สามารถใช้เป็นแหล่งเอนไซม์อาหารสัตว์ในกลุ่มที่ย่อยสารโพลิแซคคาไรด์ (polysaccharide-degrading enzymes) ได้ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสำรวจปริมาณเอนไซม์อาหารสัตว์ที่เหลืออยู่ในก้อนเพาะเห็ดที่หมดอายุ โดยเน้นเอนไซม์กลุ่มย่อยโพลิแซคคาไรด์เป็นสำคัญ รวมทั้งศึกษากระบวนการสกัดเอนไซม์อย่างง่ายแต่มีประสิทธิภาพ เพื่อเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสะดวก และสามารถผลิตเอนไซม์ใช้เองได้ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลการทดลองและวิจารณ์ผลจากงานวิจัย ? ผลการเลือกก้อนเห็ดเตรียมเอนไซม์ ก้อนเห็ดลมมีเอนไซม์ย่อยโพลิแซคคาไรดเหลือสูงสุด รวมเอนไซม์ทั้งหมด 42.74 ยูนิต/กรัม น้ำหนักแห้ง ก้อนเห็ดเห็ดยานางิ มีเอนไซม์เหลืออยู่น้อยที่สุด 4 ยูนิต/กรัม น้ำหนัก ? การเปรียบเทียบระบบสกัดเอนไซม์ การสกัดด้วยน้ำเปล่าและสารละลายSodium phosphate buffer ให้ผลได้ (yield) ของเอนไซม์ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ? ผลของอัตราการไหลในระบบต่อปริมาณเอนไซม์ การสกัดแบบวนชะสามารถสกัดเอนไซม์ได้ดีกว่าการสกัดแบบครั้งคราว ด้วยอัตราการไหล 8 ml/ min สามารถสกัดเอนไซม์ได้ดีที่สุด ? ผลของจำนวนรอบที่มีต่อปริมาณเอนไซม์ การวนชะ จำนวน 2 รอบ สามารถสกัดเอนไซม์ได้ดีที่สุด ? การทดสอบย่อยพื้นผิวแกลบด้วยเอนไซม์หยาบ ลักษณะสัณฐานภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พื้นผิวทั้งภายในและภายนอกของแกลบหยาบ มีลักษณะคล้ายถูกกัดกร่อน แสดงถึงการถูกย่อยโดยเอนไซม์ ปริมาณเอนไซม์ที่สกัดได้เป็นที่น่าพึงพอใจ และเอนไซม์อะมัยเลส ถูกสกัดออกมาน้อยมากเมื่อใช้อัตราการไหลที่ต่ำ เอนไซม์ชนิดอื่นๆ มีความแตกต่างของผลได้เพียงเล็กน้อย อาจมีสาเหตุในระดับโครงสร้างโมเลกุลของเอนไซม์ที่ส่งผลต่อการจับ (affinity) บนอนุภาคก้อนเห็ด ดังนั้นจึงคาดว่าแกลบที่ผ่านการย่อยด้วยเอนไซม์จากก้อนเห็ดหมดอายุเหล่านี้ น่าจะมีค่าการย่อยได้สูงขึ้น และถูกนำไปใช้โดยสัตว์มากขึ้น สรุปผล ก้อนเห็ดลมหมดอายุ มีเอนไซม์กลุ่มย่อยโพลิแซคคาไรด์หลงเหลือสูงที่สุด มีเอนไซม์รวม 42.74 ยูนิต/กรัม น้ำหนักแห้ง และมีเอนไซม์เซลลูเลส 5.475 อะมัยเลส แมนนาเนส 15.991 และไซลาเนส 16.073 ยูนิต/กรัม น้ำหนักแห้ง ในขณะที่ก้อนเห็ดหมดอายุ ยานางิ มีเอนไซม์น้อยที่สุด 10 ยูนิต /กรัม น้ำหนักแห้ง และการสกัดเอนไซม์โดยใช้ระบบวนชะสามารถสกัดได้มากกว่าการสกัดแบบครั้งคราว มีอัตราการไหลที่ระดับ 8 มล./นาที เป็นระดับที่ดีที่สุดในการสกัด และยังพบว่าเอนไซม์ที่เตรียมจากก้อนเห็ดลม มีศักยภาพที่จะนำไปใช้เสริมในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มการย่อยได้ของสัตว์ต่อไป Figure 1 The morphology of rice husk (A) comparing to rice husk treated by crude enzyme from spent mushroom (B ) เอกสารอ้างอิง Alam, M.J., M.A.R. Howider, M.A.H. Pramanik and M.A. Haque. 2003. Effect of exogenous enzyme in diet on broiler performance. International Journal of Poultry Science 2: 168-173. Marquardt, R.R., A. Brenes, Z. Zhang and D. Boros. 1996. Use of enzymes to improve nutrient availability in poultry feedstuffs. Animal Feed Science and Technology 60: 321- 330. Vahjen, W., T. Busch and O. Simon. 2005. Study on the use of soya bean polysaccharide degrading enzymes in broiler nutrition. Animal Feed Scienceand Technology 120: 259-276.
การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ได้ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น » การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ได้ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น
ก้อนเห็ดหมดอายุเป็นแหล่งของเอนไซม์ กลุ่มย่อยโพลิแซคคาไรด์หลายชนิดที่นำมาใช้เป็นเอนไซม์เสริมในอาหารสัตว์ได้ และจากผลวิเคราะห์ค่ากิจกรรมเอนไซม์ย่อยโพลีแซคคาไรด์ในก้อนเห็ดหมดอายุ 4 ชนิด ได้แก่ เห็ดยานางิ เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว และเห็ดลม พบว่า ก้อนเห็ดลมมีกิจกรรมของเอนไซม์เหลือมากที่สุด คือ เซลลูเลส 5.48 อะมัยเลส 5.20 แมนนาเนส และไซลาเนส 16.07 ยูนิต/กรัม น้ำหนักแห้ง และพบว่าการสกัดด้วยระบบวนชะสามารถสกัดเอนไซม์ได้ดีกว่าการสกัดแบบครั้งคราว อัตราการไหล 8 มล./นาที 2 รอบ สกัดเอนไซม์รวมได้ 31.29 ยูนิต/กรัม น้ำหนักแห้ง เอนไซม์หยาบที่ผลิตได้นี้สามารถย่อยพื้นผิวของแกลบได้ ดังนั้นคาดว่าน่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในแง่ของการเสริมในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มการย่อยได้ของสัตว์
คำสำคัญ : ก้อนเห็ดหมดอายุ เอนไซม์อาหารสัตว์ การใช้ประโยชน์ได้ของอาหารสัตว์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2325  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 13/9/2562 14:30:11  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 20:00:09

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้