ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 1891
ชื่อสมาชิก : พัชรี อินธนู
เพศ : หญิง
อีเมล์ : patcharee.i@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 8/4/2558 11:39:15
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 8/4/2558 11:39:15


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก อันเกิดจากสภาวะเรือนกระจกส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตและการอยู่รอดของมนุษย์ในอนาคต ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต ภาคบริการ รวมถึงภาคประชาชน ได้หันมาให้ความสำคัญและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หลายหน่วยงานเริ่มให้ความสนใจต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (Green House Gas) รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองมากขึ้น การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เป็นกระบวนการวิเคราะห์และประเมินค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสกัดหรือการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การนำมาใช้ใหม่หรือการแปรรูป และการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยมีการระบุถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสุขอนามัยของชุมชน เพื่อที่จะหาวิธีการในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มากไปกว่านั้นยังได้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และการนำหลักการประเมินนี้มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การจัดการที่เหมาะสมในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
รู้หรือไม่แหล่งพลังงานสำรองในประเทศไทยสามารถใช้ได้แค่อีกประมาณ 35 ปีข้างหน้า แล้วเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อไม่มีพลังงานใช้ อย่าลืมกันนะคะว่าประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรมอีกทั้งยังบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักดังนั้ในทุกๆ วันมักจะเกิดของเสียอินทรีย์ขึ้นโดยที่เราทุกคนไม่รู้ตัว นั่นก็คือ เศษอาหาร รวมทั้งวะสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว เปลือกข้าวหรือแกลบ เศษกิ่งหรือเศษใบไม้จากการตัดแต่งกิ่งลำไย เปลือทุเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองสามารถนำมาสร้างให้เป็นสื่งที่ให้พลังงานเพื่อใช้ทดแทนพลังงานที่กำลังจะหมดไป แล้ววิธีเปลี่ยนของเสียอินทรีย์เหล่านี้ให้เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานทำอย่างไร เรามีคำตอบให้ค่ะ 1. เศษอาหารสามารถนำมาผลิตแก๊สเชื้อเพลิงที่ใช้แทนแก๊สหุงต้มได้ หรือเรียกว่า แก๊สชีวภาพ โดยกระบวนการทำนั้นไม่ยากเลยคะ เพียงแค่สร้าบ่อซีเมนต์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร พร้อมมีฝาปิดแล้วต่อท่อเพื่อให้แก๊สที่ผลิตได้สามารถลอยออกมา มีช่งสำหรับเทเศษอาหารทางด้านบนของบ่อ ภายในบ่อควรใส่พืชหรือผลไม้ที่เป็นแหล่งของจุลินทรีย์ เช่น หยวกกล้วย สัปปะรด หรือจะใช้ตะกอนจากแหล่งน้ำนิ่ง เป็นต้น จากนั้นหลังมื้ออาหารทุกมื้อจะมีเศษอาหารให้นำเศษอาหารทิ้งลงบ่อ ในช่วงเริ่มต้นรอประมาณ 20-30 วันจึงจะเกิดแก๊สเชื้อเพลิงที่สามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้ 2. เศษวัสดุเหลืองทิ้งทางการเกษตรต่างๆ สามารถนำมาเผาเพื่อผลิตเป็นถ่านอัดแท่งไว้ใช้ในการประกอบอาหารได้ แต่ในอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้แทนถ่านหินในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือใช้ในกระบวนการเผาเซรามิกและแก้ว โดยกระบวนการทำนั้นก็ไม่ยากเช่นเดียวกัน ก่อนอื่นต้องมีเตาสำหรับเผาเศาวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้ซึ่งสามารคสร้างได้ง่านโดยช้ดินเหนียว การสร้างเตาเผาถ่านนั้นควรให้อยู่ในรูปทรงไข่มีปล่องล่างและปล่องบน ปล่องล่างจะมีขนาดใหญ่กว่าปล่องบน และมีช่องสำหรับใส่เชื้อเพลิงในการเผา ในกระบสนการเผาเพื่อผลิตถ่านนั้นให้สังเกตุควันที่ปล่องบน คือ ในระหว่างการเผาเพื่อผลิตถ่านปล่องควันด้สนบจะมีควันให้สังเกตุจนควันหมดแล้วทำการปิดปล่องทันทีเพื่อให้เกิดกระบวนการเผาแบบอับอากาศซึ่งจะได้ถ่าน หากไม่ปิดปล่องบนเศษวัสดุเหลือทิ้งจะเกิดการเผาไหม้จนกลายเป็นขี้เถ้าแทน การเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งต่างๆ เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณของเสียในชุมชนแล้วยังช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน จนกระทั่งอาจจะเกิดการจัดตั้งกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุนชนขึ้นอีกด้วย เห็นไหมละคะว่าเพียงเท่านี้เราก็สามารถมีพลังงานใช้เรื่อยๆ แล้วค่ะ ลองทำกันดูนะคะ ครั้งต่อไปจะนำเทคโนโลยีพลังงานทางด้านเตาชีวมวลมาให้ทุกคนได้รู้จักนะค่ะ
Thailand 4.0 คือ การเรียนรู้เพื่อผลิตผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมได้ ซึ่งความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้นั้นส่วนใหญ่มักเป็นผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลักขณะที่ในสภาพปัจจุบันอัตราส่วนของผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์ต่อสังคมศาสตร์ คือ 3:7 ดังนั้นสถาบันการศึกษาควรมีการส่งเสริมทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ทักษะด้านสังคมศาสตร์ของผู้เรียนไม่ควรละทิ่้งเนื่องจากในการสร้างนวัตกรรมควรสร้างบนพื้นฐานของหลักจริยธรรม
สัญลักษณ์ เช่น : * " , และอักษร เช่น OR AND site บนแป้นพิมพ์แท้จริงแล้วมีประโยชน์อย่างมากในการค้นหาข้อมูลที่จำเพาะเจาะจง และการหาความหมายของคำได้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
กระบวนการเปลี่ยนสารชีวมวล เช่น เศษอาหาร น้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นพลังงานชีวภาพด้วยกระบวนการหมักแบบไม่ใช้แสง