|
|
|
|
การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ
»
การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วยตำราและหนังสือ
|
การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วยตำราหรือหนังสือมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและผลงานเขียนเชิงวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์และกระบวนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามระเบียบ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดทำตำราหรือหนังสือ ซึ่งต้องแสดงถึงความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง มีการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล เนื้อหาในการอบรมครอบคลุมถึงการตั้งชื่อเรื่องและการจัดทำเค้าโครงตำราและหนังสือ การใช้ภาษาเขียนในเชิงวิชาการ การวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ รวมถึงข้อควรระวังในการหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้วิธีการผลิตผลงานวิชาการที่มีเอกลักษณ์และคุณภาพ ซึ่งไม่เพียงช่วยในการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการ แต่ยังเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่ศึกษาและยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา การอบรมนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับการพัฒนาทั้งในด้านวิชาการและการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าในวงการศึกษา
|
คำสำคัญ :
ตำรา ตำแหน่งทางวิชาการ หนังสือ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
114
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ทวีศักดิ์ จันทร์งาม
วันที่เขียน
25/12/2567 16:11:17
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/4/2568 20:39:00
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา
»
เทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
|
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ การผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าประสงค์ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้ มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกลยุทธ์การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรให้มี
เข้มแข็งและมีความทันสมัยเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าใจในบริบทของสังคมและความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่
ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาได้กำหนดให้หลักสูตรเน้นการพัฒนานักศึกษา
ให้เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่
(1) กลุ่มวิชาหลัก (core subjects)
(2) กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น
ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม ความรับผิดชอบและความ
สามารถผลิตผลงาน ความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม
(3) กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ได้แก่ การคิดเชิงวิพากษ์และ
การแก้ปัญหา นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ การสื่อสารและความร่วมมือกัน และ
(4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills
ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาของแต่ละหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะที่ (4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills
คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดทำ “โครงการอบรมเทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ”
เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ ความรู้ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4 ได้ฝึกการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
มีความกระตือรือร้นและแสดงออก และเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคนิคการสอนไปใช้ในสถานณ์การต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
เพื่อสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
คำสำคัญ :
เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ ระดับชาติ ระดับนานาชาติ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
359
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์
วันที่เขียน
24/5/2566 11:00:49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/4/2568 7:09:50
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|