เทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
วันที่เขียน 24/5/2566 11:00:49     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 7:09:50
เปิดอ่าน: 359 ครั้ง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ การผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าประสงค์ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้ มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกลยุทธ์การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรให้มี เข้มแข็งและมีความทันสมัยเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าใจในบริบทของสังคมและความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาได้กำหนดให้หลักสูตรเน้นการพัฒนานักศึกษา ให้เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มวิชาหลัก (core subjects) (2) กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม ความรับผิดชอบและความ สามารถผลิตผลงาน ความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม (3) กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ได้แก่ การคิดเชิงวิพากษ์และ การแก้ปัญหา นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ การสื่อสารและความร่วมมือกัน และ (4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาของแต่ละหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะที่ (4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดทำ “โครงการอบรมเทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ” เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ ความรู้ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4 ได้ฝึกการนำเสนอผลงานทางวิชาการ มีความกระตือรือร้นและแสดงออก และเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคนิคการสอนไปใช้ในสถานณ์การต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ การผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าประสงค์ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้ มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกลยุทธ์การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรให้มี
เข้มแข็งและมีความทันสมัยเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าใจในบริบทของสังคมและความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่
ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาได้กำหนดให้หลักสูตรเน้นการพัฒนานักศึกษา
ให้เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่

(1) กลุ่มวิชาหลัก (core subjects)

(2) กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น
ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม ความรับผิดชอบและความ
สามารถผลิตผลงาน ความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม

(3) กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ได้แก่ การคิดเชิงวิพากษ์และ
การแก้ปัญหา นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ การสื่อสารและความร่วมมือกัน และ

(4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills)

ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาของแต่ละหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โดยเฉพาะทักษะที่ (4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills
คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดทำ “โครงการอบรมเทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ”
เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ ความรู้ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4 ได้ฝึกการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
มีความกระตือรือร้นและแสดงออก และเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคนิคการสอนไปใช้ในสถานณ์การต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
เพื่อสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

 1) เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านทักษะการพูดและการนำเสนอผลงานต่อที่ สาธารณะ

 2) เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอ ผลงานทางวิชาการ

 3) เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและ นานาชาติ

 4) เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่ช่วยให้ นักศึกษาได้เข้าใจเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ง่ายขึ้น

 5) เพื่อให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีให้เป็นผู้ใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ใหม่และรู้จักเชื่อมโยง ความรู้สาขาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

6) เพื่อให้นักศึกษาเป็นผู้นำทางด้านวิชาการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้แก้ปัญหาในการทำงานใน สาขาอาชีพ

7) เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการฝึกสหกิจศึกษา

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 5:09:04   เปิดอ่าน 9  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:37   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 4:35:56   เปิดอ่าน 125  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง