เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:20:37
เปิดอ่าน: 142 ครั้ง

การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อมาก็คือ การเผยแพร่ผลงานวิชาการนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแวดวงวิชาการในสาขานั้น ๆ อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อใหม่ ทางด้านวิชาการในศาสตร์นั้น ๆ ซึ่งหนึ่งช่องทางในการนำเสนอข้อมูลนั้น ได้แก่ การตีพิมพ์บทความทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาตินั่นเอง ดังนั้นเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นต่อวงการวิชาการ

            ในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ” โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม มีรายละเอียดดังนี้

ได้รับฟังการบรรยายหัวข้อ “เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน แสวงดี โดยประเด็นการบรรยายทั้ง ๒ วัน ประกอบด้วย

๑. การใช้ CHATGPT ในงานวิจัย

๒. การค้นหาวารสารเพื่อตีพิมพ์

๓. การเขียนบทคัดย่อ

๔. การเขียนบทนำ

๕. การเขียนระเบียบวิธีการวิจัย

๖. การเขียนผลการวิจัย

๗. การเขียนอภิปรายผลการวิจัย

๘. การเขียนบทสรุป

๙. การจัดทำตาราง

๑๐. การเขียนบรรณานุกรม

      โดยวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ หัวข้อบรรยาย ประกอบด้วย การเขียนบทความวิจัยตีพิมพ์สำหรับ Scopus WOS ISI TCI : โดยการนำ Chat GPT เข้ามาช่วย โดยมีสาระดังนี้

การนำ Chat GPT Version 3.5 เข้ามาใช้ในการจัดทำบทความวิจัย แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยจำเป็นต้องมีการตรวจทานข้อมูลที่ได้จากการป้อนคำสั่งใน Chat GPT โดยเราสามารถให้ Chat GPT ช่วยในการแนะนำขนาดตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง สถิติสำหรับในการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยของเรา ลักษณะการนำเสนอข้อมูล พร้อมประเภทตารางในการนำเสนอ แต่ทั้งนี้ข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ต้องเป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัย และข้อมูลต่าง ๆ ต้องมาจากผู้วิจัยเป็นผู้คิดค้นเอง โดยมี Chat GPT เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกของเราเท่านั้น แต่ไม่สามารถทำแทนได้ทุกอย่าง โดยกระบวนการทุกขั้นตอน จำเป็นต้องเป็นผู้วิจัยในการจัดการเองทั้งหมดเท่านั้น 

             หลังจากนั้นก็เป็นการบรรยายหัวข้อ การค้นหาวารสารเพื่อการตีพิมพ์ โดยให้เหมาะสมกับบทความวิจัยที่เราต้องการจะนำเสนอ อีกทั้งยังแนะนำวิธีการค้นหาวารสารที่มีค่า Impact และวารสารที่อยู่ในฐานต่าง ๆ และแนะนำหลักการเขียนบทความวิจัย โดยต้องใช้คำวิชาการในการนำเสนอ และ ๑ ย่อหน้า ต่อ ๑ ประเด็น ที่เราจะนำเสนอ โดยใน ๑ ย่อหน้านั้น จะต้องเป็น ๑ Tense (กรณีบทความเป็นภาษาต่างประเทศ) การเขียนเชื่อมโยงระหว่างย่อหน้ากับตาราง กราฟ และรูปภาพ และที่สำคัญการอ้างอิงต้องไม่ซ้ำ โดยหนึ่งเอกสารควรอ้างเพียงครั้งเดียว

 

                 สิ่งที่วิทยากรบรรยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่วงวิชาการพึงตระหนัก และคำนึงถึง โดยกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการจะให้ความสำคัญอย่างมาก ได้แก่ ผลงานวิชาการต้องเป็นผลงานวิจัยใหม่ ได้ข้อค้นพบใหม่ ความแปลกใหม่ (Novelty) ความสามารถในการทำซ้ำผลวิจัย (Reproducibility) ที่เน้นการวัด ทวนสอบหลายครั้ง หลายวิธี แต่ต้องสื่อสารเอง ไม่คัดลอก โครงสร้างของต้นฉบับบทความที่มาตรฐานและใช้ทั่วไป ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง บทนำ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผล สรุปและข้อเสนอแนะ จำนวนหน้าโดยรวมประมาณ ๑๕ - ๒๕ หน้า และบรรยายเกี่ยวกับการจัดเตรียมบทความโดยเริ่มต้นในการเขียนบทความ โดยการเขียนบทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา รวมทั้งวัตถุประสงค์และตามด้วยแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยร้อยเรียงเข้ากับคำถามวิจัย (โจทย์วิจัย) โดยระบุความจำเป็นที่ต้องทำให้ชัดเจน ตามด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย และระเบียบวิธีวิจัยโดยอธิบายถึงแหล่งข้อมูล ลักษณะข้อมูล ขนาดตัวอย่าง วิธีการสร้างตัวชี้วัด ระดับการวัดตัวแปร ตามด้วยการจัดทำบรรณานุกรม การเขียนกิตติกรรมประกาศ การจัดตาราง กราฟ รูปภาพ โดยให้กลมกลืนกับการนำเสนอในแต่ละประเด็น

                โดยการบรรยายจะเป็นการซักถาม ตอบข้อซักถามในแต่ละประเด็น ขณะที่บรรยายในแต่ละหัวข้อ   ทั้งสองวัน โดยมีการตั้งคำถามให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ตอบคำถาม และถามคำถามในประเด็นที่มีข้อสงสัย โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้มีคำถามเกี่ยวกับการทำวิจัย และแนวทางในการจัดเตรียมผลงานวิชาการเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1428
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:28:28   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง