โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 9:13:27
เปิดอ่าน: 289 ครั้ง

โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
  • ได้รับฟังการบรรยาย เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความก้าวหน้า ตำแหน่งทางวิชาการ (พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ)” โดย นางสาวมยุรี แก้วประภา หัวหน้างานตำแหน่งและอัตรากำลัง ทำให้ทราบว่ามหาวิทยาลัยได้มีประกาศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความก้าวหน้า ตำแหน่งทางวิชาการ เริ่มประกาศใช้ วันที่ 1 ตุลาคม 2562 อาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ต้องยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการภายใน 5 ปี ระดับปริญญาโท ต้องยื่นขอตำแหน่งภายใน 7 ปี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องยื่นขอตำแหน่งฯ รองศาสตราจารย์ ภายใน 8 ปี มียกเว้นกลุ่มผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้ช่วยคณบดีเป็นต้นไป หากไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาของมหาวิทยาลัย จะไม่ได้รับการเลื่อนค่าจ้างจนกว่าจะได้รับตำแหน่ง ทั้งนี้ผลการประเมินการปฏิบัติงานในแต่ละปี หากต่ำกว่าร้อยละ 60 ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี อธิการบดีอาจสั่งเลิกจ้างได้
  • ได้รับฟังการบรรยาย เรื่อง “ขั้นตอนการขอตำแหน่งทางวิชาการ เกณฑ์การประเมินเอกสารการสอน/เอกสารคำสอน ผลงานทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์” โดย นางสาวอารัทรา พิเชษฐพันธ์ นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ ทำให้ทราบถึงขั้นตอนการขอตำแหน่งทางวิชาการ การเตรียมเอกสารการสอน ผลงานวิจัยให้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ การเตรียมเอกสารเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
  • ได้รับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ” โดย ผศ. ดร.ศุภรัตน์ นาคสิทธิพันธ์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ ทำให้ทราบว่าสามารถศึกษารายละเอียดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขอตำแหน่งทางวิชาการได้ที่เว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัย สำหรับการขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ จะมีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ. รศ. ศ. พ.ศ. 2564 และอาจารย์จะต้องรับการประเมินผลการสอนซึ่งคณะมีขั้นตอนชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ดูแล และต้องผ่านคณะอนุกรรมการประเมินผลการสอน และที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ผลการประเมินของนักศึกษาในแต่ละวิชาจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 51 การเตรียมเอกสารประกอบการสอน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
  • ทำให้ทราบหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความก้าวหน้าทางวิชาการ (พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ)
  • ทำให้ทราบการเตรียมเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ
  1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
  • ทำให้บุคลากรรับทราบและปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ
  • ทำให้บุคลากรมีแรงกระตุ้นในการขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1424
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 8:43:18   เปิดอ่าน 10  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:37   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 4:35:56   เปิดอ่าน 125  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง