รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : บทความ
คู่มือ » การสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
คู่มือปฏิบัติงานเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในส่วนของการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสาร จากโปรแกรมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials Control Module) และโปรแกรมระบบ Cataloging Module ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ตามแนวทางและนโยบายการบริหารงานของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารที่เป็นรูปเล่มและที่จัดทำเป็นแบบออนไลน์ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด รวมถึงนักศึกษาฝึกงานจากสถาบันอุดมศึกษาสาขาบรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ : บทความวารสาร  รายการบรรณานุกรม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 164  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 21/8/2567 11:34:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:42:44
คู่มือ » การสร้างรายการบรรณานุกรมบทความออนไลน์
ในปัจจุบัน วารสารมีการจัดพิมพ์ออกเป็น 2 รูปแบบ คือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม และการจัดพิมพ์เป็นแบบออนไลน์ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่ในการจัดหาวารสารทั้งสอง 2 รูปแบบ เพื่อให้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการให้บริการแบบตัวเล่ม ต้องมีการคัดเลือกวารสารที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการ โดยมีการจัดทำดรรชนีบทความวารสาร ซึ่งบางสำนักพิมพ์ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดทำวารสารเป็นแบบออกไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวารสารวิชาการ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทางฝ่ายได้รับมีการประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำดรรชนีบทความวารสารทั้งฉบับที่เป็นรูปเล่มและออนไลน์ เป็นประจำทุกปี สำหรับปีปัจจุบันนี้การจัดทำดรรชนีบทความของวารสารฉบับออนไลน์ ขึ้นเป็นปีแรก ทางฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการประชุมเพื่อสรุปประเด็นเป็นแนวทางปฏิบัติในการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารฉบับออนไลน์ขึ้น
คำสำคัญ : บทความออนไลน์  บรรณานุกรมบทความ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 163  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 8:51:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:36:19
คู่มือ » การสร้างรายการบรรณานุกรมบทความออนไลน์
ในปัจจุบัน วารสารมีการจัดพิมพ์ออกเป็น 2 รูปแบบ คือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม และการจัดพิมพ์เป็นแบบออนไลน์ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่ในการจัดหาวารสารทั้งสอง 2 รูปแบบ เพื่อให้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการให้บริการแบบตัวเล่ม ต้องมีการคัดเลือกวารสารที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการ โดยมีการจัดทำดรรชนีบทความวารสาร ซึ่งบางสำนักพิมพ์ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดทำวารสารเป็นแบบออกไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวารสารวิชาการ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทางฝ่ายได้รับมีการประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำดรรชนีบทความวารสารทั้งฉบับที่เป็นรูปเล่มและออนไลน์ เป็นประจำทุกปี สำหรับปีปัจจุบันนี้การจัดทำดรรชนีบทความของวารสารฉบับออนไลน์ ขึ้นเป็นปีแรก ทางฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการประชุมเพื่อสรุปประเด็นเป็นแนวทางปฏิบัติในการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารฉบับออนไลน์ขึ้น
คำสำคัญ : บทความออนไลน์  บรรณานุกรมบทความ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 163  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 8:51:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:36:19
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อมาก็คือ การเผยแพร่ผลงานวิชาการนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแวดวงวิชาการในสาขานั้น ๆ อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อใหม่ ทางด้านวิชาการในศาสตร์นั้น ๆ ซึ่งหนึ่งช่องทางในการนำเสนอข้อมูลนั้น ได้แก่ การตีพิมพ์บทความทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาตินั่นเอง ดังนั้นเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นต่อวงการวิชาการ
คำสำคัญ : Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 205  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:03:26
การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารนานาชาติ กับการใช้ ChatGPT
ปัจจุบัน ChatGPT มีบทบาทในการช่วยเขียนบทความ เขียนรายงาน หรือเขียนวิทยานิพนธ์ มากขึ้น แต่ทั้งนี้ อาจเข้าข่ายคัดลอกหรือขโมยผลงานวิชาการ (plagiarism) หากใช้ไม่ถูกวิธี ผู้ใช้งานควรใช้งานโดยตระหนักถึงความรับผิดชอบและจริยธรรมด้วย ผู้ใช้ ChatGPT ต้องไม่ลืมให้การอ้างอิงที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะข้อความที่สร้างโดย ChatGPT จะถูกดึงมาจากหลากหลายแหล่ง
คำสำคัญ : ChatGPT  จริยธรรม  บทความ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1096  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ลัคนา วัฒนะชีวะกุล  วันที่เขียน 29/2/2567 11:57:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 12:02:26
สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาประเด็นที่สนใจจากการเข้าร่วมโครงการอบรม "การเขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์และเลือกวารสารวิชาการที่เหมาะสมกับผลงาน"
หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญในการเขียนบทความคือคำนำ ที่กล่าวถึงประเด็นวิจัยหรือบทความ ความสำคัญของหัวข้อหรือชื่อเรื่อง การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องรวมถึงมีบทความที่กล่าวถึงเรื่องนี้หรือไม่ และวัตถุประสงค์ของบทความ ซึ่งก็เป็นนัยที่สำคัญหลักทางวิชาการ แต่เคล็ดลับการเขียนก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงในกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ค่อยมีความหมายหรือเขียนไปแล้วไม่ได้เพิ่มคุณค่าให้กับบทความ แสดงข้อมูลทางสถิติที่น่าเชื่อถือ มีการกล่าวอ้างอิงเอกสารครบถ้วนและถูกต้องโดยเฉพาะควรอ้างอิงเอกสารที่เป็นต้นแบบการคิดเรื่องนั้นๆอย่างลึกซึ้ง เขียนให้กระชับและชัดเจน
คำสำคัญ : การเขียนบทความ  คำนำ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 252  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เยาวลักษณ์ คงธรรม  วันที่เขียน 29/9/2566 9:37:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 17:04:05
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การเขียนบทความลงวารสารวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในแง่มุมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำ “วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความ วิชาการโดยมีกำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 4 เดือน หรือ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และเดือนกันยายน ของทุกปี • ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์ - บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article) - บทความวิชาการ (Academic Article) ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป - บทความวิจัย (Research Article) ด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ • ขอบเขตของบทความวิชาการ - งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ - งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ Ref: https://mitij.mju.ac.th/JOURNAL/1.Promote_MITIJ.pdf
คำสำคัญ : เทคโนโลยีสารสนเทศ  บทความวิจัย  วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม  วิทยาการคอมพิวเตอร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 406  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 28/9/2566 13:16:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:09:59
บริการสื่อโสตทัศน์ » ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (5) บทความวารสาร [5of5 / 2566]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหาในชุดนี้ (งานตาม TOR ปี 2566) มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรร KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2566 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ส่วนนำ ดรรชนีในงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของงานด้านโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้นำเสนอดรรชนีที่ใช้แยกกลุ่ม/คอลเลกชัน, แยกกลุ่มเนื้อหาย่อยในแต่ละคอลเลกชัน (เช่น เอกสาร Green), แยกเล่ม (เช่น วารสาร Vol,No), แยกหน่วยงาน (เช่น คลังปัญญา), แยกดรรชนีพิเศษเฉพาะสื่อ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้คือทราบว่าเป็นสื่อประเภทใด (แต่ละประเภทมีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะตัว, ทราบกฎระเบียบการใช้หรือยืมใช้, ฯลฯ) ในแง่สารสนเทศศาสตร์จะอำนวยประโยชน์ในด้าน (1) การสืบค้นข้อมูล เช่น การสืบค้นตามกลุ่มเอกสาร/คอลเลกชัน, การสำรวจจำนวนสื่อที่มีโดยง่าย, การกรองข้อมูลของ ALIST ด้วย Leader, MaterialType, การกรองข้อมูลด้วยการสืบค้นบูลีนเชื่อมคำค้น (2) ความเป็นมาตรฐานของข้อมูล รูปแบบเดียวกัน, รายการโยง, ผู้ใช้ไม่สับสน (3) ความสม่ำเสมอและครบถ้วนในการทำดรรชนีของบรรณารักษ์ การทำดรรชนีเชิงลึก (4) การควบคุมทางบรรณานุกรม (bibliographic control) เช่น เอกสารของ/เกี่ยวกับ มจ. เอกสารเฉพาะคอลเลกชัน (5) การแสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของวิชาชีพบรรณารักษ์ (6) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (7) อื่นๆ เช่น ดรรชนีที่เหมาะสมกับเอกสารแต่ละประเภทหรือหัวข้อ/สาขา สถิติและรายงาน การพัฒนาบริการใหม่ๆ เช่น คลิปดิจิทัล บทความดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารในทันที บริการบรรณานุกรมผู้ใช้ (เช่น ภาพยนตร์ใหม่) การเพิ่มเติมหัวเรื่องใหม่เมื่อพบเอกสารเนื้อหาใหม่ๆ ตามสื่อชนิดหรือหัวข้อใหม่ 3. ส่วนงานย่อยตาม TOR (นำมาจากเนื้อหาในหัวข้อเอกสารแต่ละ TOR ย่อย) 5. การทำดรรชนีวารสาร (งานที่รับผิดชอบเพียงขั้นตอนการกำหนดหัวเรื่อง ไม่รวมการกรอกข้อมูลสร้างระเบียนเอกสาร) (1) Tag สำคัญที่ใช้ กรณีบทความที่เก็บข้อมูลคือ 100, 245, 773, 260(เฉพาะปี), 6xx, 500, โดย 245^h ไม่มี (หากจะกำหนด อาจใช้ ^h[article] แต่ทั้งนี้ก็ต้องเพิ่มข้อมูลแก่ระเบียนเดิมทั้งหมด) (2) ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090(เลขชั้น), 590, 040 (3) ส่วน 008 ชนิด BK, leader=nab, เข้า ALIST materialtype=[บทความ] ลักษณะดรรชนีจำแนกกลุ่ม/คอลเลกชัน/การควบคุมรูปคำศัพท์ควบคุม/ฯลน ตาม KM ที่สำคัญคือ (1) ดรรชนีชนิดสื่อ/คอลเลกชัน (A) [บทความ ; OPAC กรองข้อมูล] (2) ดรรชนีเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ (B) [เมื่อพบเอกสาร] (3) ดรรชนีที่เป็นคำมีแบบแผน (C) คือ ชื่อวารสาร+ปีที่,ฉบับที่ (ทั้งนี้ต้อง set ระบบการจัดการดรรชนี ของระบบ ALIST ให้เหมาะสมด้วย) (4) ดรรชนีหัวเรื่อง (รายการหลักฐาน) (D) [มักได้หัวเรื่องใหม่ นำเสนอในบัญชีหัวเรื่องภ.ไทย] (5) ดรรชนีอื่นๆ (E) (ถ้ามี) [End]
คำสำคัญ : งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ดัชนี  บทความ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 261  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 7/9/2566 14:59:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 16:06:13
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการอบรม "เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์ และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน"
โครงการอบรม "เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน" โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 16 ธันวาคม 2565 เวลา : 13:30 - 16:30 น. ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คำสำคัญ : บทความวิชาการ  วารสารวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1269  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 22/4/2566 23:40:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:12:28
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีดรรชนีบทความวารสารและการสร้างคอลเลกชันพิเศษ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 5of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน การทำดรรชนีวารสาร (อนาคต Staffs คอลเลกชันตามหัวข้อโดยรวบรวมบทความจาก ThaiJo) ได้เสนอเป็นแนวความคิดไว้ สำหรับการพัฒนาคอลเลกชันและบริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ในระยะต่อไป โดยบุคลากรห้องสมุดอื่นอาจจัดทำคอลเลกชันตามหัวข้อ (สมัยอดีตนิยมเรียกว่า แฟ้มสารสนเทศเฉพาะทาง) บริการผู้ใช้ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลปลาบึก ข้อมูลการพยาบาลผู้สูงอายุ ห้องสมุดสีเขียว ฯลฯ จากบทความออนไลน์ ThaiJo ได้ ในที่นี้งานจะมีลักษณะทำนองเดียวกับงานตาม blogข้อ 2 คือ “ เอกสารเนื้อหา Green“ ที่เคยกล่าวถึง สามารถดูรายละเอียดใน blog นั้นได้. [end]
คำสำคัญ : การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ฐานข้อมูลเฉพาะทาง  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 844  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:56:28  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 16:45:32
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีเอกสารเนื้อหา Green [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 2of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน งานเอกสารเนื้อหา Green ในระบบ ALIST (บทความจาก ThaiJo, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ ฐานข้อมูลวารสาร ThaiJo, ส่วนหนังสือเป็นแหล่งต่างๆ จากการค้น Google search (หรืออนาคตมุ่งไปแหล่งรวบรวมบางแห่งที่มีเอกสารบริการ) (2) Tag สำคัญที่ใช้ กรณีบทความที่เก็บข้อมูลคือ 100, 245, 246, 260, 300, 500 (ใช้แทน 773), 700, 710, 856, นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, URL link ไปยังบทความ, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 69x (ถ้ามี), โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุม ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xบทความอิเล็กทรอนิกส์, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-article] กรณีบทความ PDF หรือ ^h[electronic resource-pdf] กรณีหนังสือ PDF, ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF. [end]
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  นโยบายสีเขียว  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1072  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:48:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:45:10
เกร็คความรู้จากการประชุมวิชาการ » เทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ
คำสำคัญ : การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ, การตีพิมพ์บทความวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1433  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุภารัตน์ ลีธนัชอุดม  วันที่เขียน 4/10/2564 15:41:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:34:41
บทความวารสาร » การทำดรรชนีวารสาร ประเด็นเครื่องมือช่วยงานคือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 5of5 / 2564]
ที่มา (1) การทำดรรชนีบทความวารสารของห้องสมุด เดิมมีการกระจายงานให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศในสายงานต่างๆ ร่วมกันดำเนินงาน แต่ปัจจุบันจัดแบ่งให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศในสายงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (หรืองานด้าน Cataloging) เท่านั้น ดังนั้นการนำเสนอรายละเอียดงานในกิจกรรม KM ของบุคลากรโดยรวมของห้องสมุดจึงอาจไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ในที่นี้จึงจะนำเสนอเพียงบางประเด็นที่อาจช่วยเสริมความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้คือ “ฐานข้อมูลหัวเรื่อง” (2) ประเด็นการนำเสนอในที่นี้ เฉพาะหัวข้อ “เครื่องช่วยงาน คือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง” ซึ่งบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานวิเคราะห์รายการเอกสารสามารถทราบถึงเครื่องมือและเลือกใช้ได้ ส่วนบรรณารักษ์งานบริการอาจนำไปใช้ประโยชน์ในแง่การเลือกคำคำค้นหัวเรื่องเพื่อบริการผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่นำเสนอ (3) ฐานข้อมูลหัวเรื่องที่น่าสนใจมีดังนี้ (1) Red_demo on DOS (2) Red_demo on Winisis [ปัจจุบันทำงานบน Windows 2003 Server] (3) Thaiccweb ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (4) ฐานข้อมูลหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ในห้องสมุดบางแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อนึ่ง ในโอกาสนี้นำเสนอเพียงโปรแกรมหรือฐานข้อมูล ไม่ได้กล่าวถึงการจัดการด้านฮาร์ดแวร์ (เช่น การเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ HandyDrive ที่ใช้ boot OS) การเข้าถึง วิธีใช้งานเมนูต่างๆ เทคนิคการใช้งาน หลักการวิเคราะห์และกำหนดหัวเรื่อง ข้อดีข้อเสียของฐานข้อมูลหัวเรื่องแต่ละระบบ (4) ในการนี้นำเสนอเพียงแง่มุม “Know What” ว่ามีอะไรบ้าง นำเสนอด้วยรูปภาพและข้อมูลบอกเล่าโดยสังเขป ส่วนวิธีการใช้งาน “Know How” และการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของฐานข้อมูลแต่ละฐาน “Know Why” ไม่ได้นำเสนอ เนื่องจากข้อจำกัดของเวลา และกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม KM ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานี้ ผลลัพธ์ (5) ได้เสนอเนื้อหาโดยสังเขปแก่ผู้สนใจในกิจกรรม KM การเลือกใช้งานหรือไม่ อย่างไร ควรติดตามผลในโอกาสต่อไป อื่นๆ (6) อนึ่ง หากมีการนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ บรรณารักษ์สายงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร ทั้งหน่วยงานเอง หรือต่างห้องสมุดต่างมหาวิทยาลัย ด้วยเนื้อหาที่ละเอียดและลึกซึ้งขึ้น อาจมีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ฐานข้อมูล  บทความ  วารสาร  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1783  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:10:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 23:40:03
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์สื่อดิจิทัล คือหนังสือออนไลน์ บทความออนไลน์ และคลิป หัวข้อ Green/สิ่งแวดล้อม [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 4of5 / 2564]
ที่มา (1) จากสภาพการณ์ปัจจุบันที่ห้องสมุดบอกรับวารสารฉบับตัวเล่มลดลง บทความออนไลน์มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น แต่ห้องสมุดยังไม่ได้ขยายขอบเขตการจัดหาทรัพยากรสื่อเหล่านี้มาบริการผู้ใช้ (ส่วนคลิปออนไลน์ มีลักษณะทำนองเดียวกับข้อ 1 ใหญ่ ที่นำเสนอในตอนต้น) (2) เว็บไซต์ TCI-Thaijo.org เป็นที่นิยมมากขึ้น มีวารสารและบทความที่มีคุณค่าและจำนวนวารสารมากขึ้น แต่ระบบดรรชนีค้นหายังไม่ละเอียด อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามารถได้รับบทความฉบับเต็ม (full text) มาอ่านได้สะดวก จึงเป็นโอกาสที่ห้องสมุดสามารถคัดเลือกบทความที่มีคุณค่าภายใต้หัวข้อเนื้อหาสาระที่ห้องสมุดยังขาดแคลนมาบริการผู้ใช้ได้ (3) มหาวิทยาลัยและห้องสมุดมีนโยบายพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ซึ่งห้องสมุดควรเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญขององค์กรที่มีสารสนเทศเนื้อหา “Green/สิ่งแวดล้อม” บริการผู้ใช้ (4) นโยบายห้องสมุดที่ต้องการนำเสนอสื่อดิจิทัลมากขึ้น วิธีการ (5) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ (ก) ประเด็นการพัฒนาคอลเลคชันของสื่อประเภททรัพยากรแบบใหม่ในห้องสมุด โดยในเบื้องต้นเน้นหัวข้อด้าน “Green/สิ่งแวดล้อม” โดยตรวจสอบสื่อที่มีในห้องสมุดและค้นหาเพิ่มเติมจากแหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือ คลังทรัพยากรสารสนเทศแบบเปิด https://oer.learn.in.th และฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย https://www.tci-thaijo.org (ข) ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการ เป็นไปทำนองเดียวกันกับสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือและสื่อบทความวารสาร แต่มีพิเศษคือ tag 245^h, 09x, 500 ที่ระบุแหล่งวารสารของบทความ, 856, 650 ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ-xxx และเน้นทำดรรชนีหัวเรื่องให้ละเอียด ส่วนประเด็นบริการเป็นการบริการออนไลน์ที่เข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็ม (full text ของสิ่งพิมพ์ ที่มักจัดทำเป็นเอกสาร pdf file) ได้ทันที ไม่ต้องยืมผ่านสื่อบันทึก ผลลัพธ์ (6) คอลเลคชันสื่อที่บริการผู้ใช้ ข้อมูลหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ปี 2564 นี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถได้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม (full text) หรือเนื้อหาจริงฉบับเต็ม (clips on Youtube) จำนวนประมาณ 460 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 200 ชื่อเรื่อง, และเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว กำหนดเป้าหมายไว้ 300 ชื่อเรื่อง) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564 (6.1) กรณีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่าไม่มีแหล่งรวบรวมที่ชัดเจน ในการนี้ได้สำรวจจากแหล่งหนึ่ง และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 20 รายชื่อ (หมายเหตุ ไม่ได้ทำดรรชนีให้ตรวจสอบคอลเลคชันนี้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ [ลงรายได้เป็น “ตัวอย่าง” ไว้เท่านั้น] เพราะห้องสมุดมีสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้กำหนดคำดรรชนีนี้) (6.2) กรณีบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่ามีแหล่งที่น่าสนใจคือ https://www.tci-thaijo.org ในการนี้ได้สำรวจจากหัวข้อ “Green” หรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของการพัฒนามหาวิทยาลัย และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 80 รายชื่อ สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--บทความอิเล็กทรอนิกส์ (6.3) กรณีคลิป เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลหัวข้อ “Green” จากหนังสือรูปเล่มปกติที่จัดหาเข้าห้องสมุด และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ที่รวบรวมได้มีจำนวนไม่ถึง 300 รายชื่อตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว จึงได้สำรวจเอกสารจาก Clips เพิ่มเติมจนครบเกณฑ์ (อนึ่งการดำเนินการเรื่อง Clips จัดอยู่ในงาน KM ที่นำเสนออีกประเด็นหนึ่งด้วย) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--คลิป (7) รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลห้องสมุด (ALIST OPAC) เมนูค้น “ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564” และ “Green policy—[ประเด็นหัวข้อย่อย]” นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถสืบค้นได้จากช่องทางปกติต่างๆ เช่น หัวเรื่องใดๆ ตามที่ต้องการ เช่น มหาวิทยาลัยสีเขียว, การจัดการสิ่งแวดล้อม, การกำจัดขยะ, มลพิษ ฯลฯ (8) ขยายขอบเขต (Scope) ทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการผู้ใช้ โดยเฉพาะวารสารที่ไม่ได้บอกรับหรือมีตัวเล่มในห้องสมุด และเป็นสื่อออนไลน์ที่เป็นสื่อสมัยใหม่ (New media) เพิ่มความรวดเร็ว (Speed) ในการเข้าถึง (Access) และใช้เอกสารของผู้ใช้ฉบับเต็มอย่างสะดวก (Ease of use) ด้วยดรรชนีหัวเรื่องที่มีคุณภาพ (Indexes and retrievability) ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนเป็นเกณฑ์หรือตัวชี้วัดการบริการห้องสมุดที่ดี -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  นโยบายสีเขียว  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1733  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:08:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:07:26
บทความวารสาร » KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรม KM นี้ของบุคลากรในสายงาน พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และได้นำเสนอ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การวิเคราะห์และทำรายการในฐานะบรรณารักษ์ชำนาญการ ก็ ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความรู้ที่ตนเองพอจะมีบ้างไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน เช่น MARC tag ต่างๆ, หัวเรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งจะบันทึกเป็นคู่มือการทำ รายการบทความวารสารไว้แล้ว ในบันทึกกิจกรรม KM บทความ (blog) ครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่นำเสนอ ถึง "รายละเอียดเนื้อหา" ที่ได้เรียนรู้กันไป แต่ในที่นี้จะบันทึกเกี่ยวกับ "ประเด็นแง่คิด" ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ซึ่งมีบางประเด็น ที่ผู้เขียนสนใจและมีมุมมองที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสารของห้องสมุดเท่าที่ผ่านๆ มา พบว่าบรรณารักษ์และผู้จัดทำ ให้ความสำคัญกับการทำรายการเชิงพรรณนา (descriptive catalog) เช่น MARC tag ต่างๆ มากกว่าการทำรายการ เชิงเนื้อหา (subject catalog) ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่อง อันเป็นเครื่องมือ ช่วยการค้นคว้าของผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ (know about) เนื้อเรื่อง (subject/content) โดยขณะนั้นผู้ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ ซึ่งการค้นหาลักษณะ subject search นี้เป็นลักษณะการใช้สำคัญของการศึกษาเรียนรู้ 2. บรรณารักษ์และบุคลากรไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่กรอก หรือบันทึก ข้อมูลดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ข้อมูลการสืบค้นของผู้สืบค้น ข้อมูล การประมวลผลของโปรแกรมระบบงานห้องสมุด ทำให้การบันทึกข้อมูลบางอย่าง ว่า ควรบันทึกหรือไม่ บันทึกในรูปแบบ/แบบแผน (pattern) การพิมพ์เช่นไร บันทึกในเขต ข้อมูล (tag) ใด บันทึกในรูปแบบคำที่ใช้ทั่วไปหรือรหัสพิเศษ บันทึกในรูปแบบมาตรฐาน ใด (เช่น มาตรฐานหัวเรื่อง) บันทึกแล้วระบบจะประมวลผลอย่างไร บันทึกไว้แล้วจะ สามารถค้นคืนได้เช่นไร ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ทำให้การกำหนดแนวปฏิบัติงานบางอย่าง มีภาระในการทำงานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น เดิมมีการกำหนด ให้ลงข้อมูล tag 8 บางตำแหน่ง, tag 5xx, tag 041, tag 245 บางลักษณะ, tag 653 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาจไม่ได้บันทึกข้อมูลที่ควรเน้นเพื่อการสืบค้น เช่น ข้อมูล tag 246, tag 6xx 3. มุมมองของบรรณารักษ์และผู้ทำการวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร มี ลักษณะแบบ ถูก/ผิด ต้องทำ/ไม่ต้องทำ แบบA/ไม่ใช่แบบA ใช้วิธีการAเท่านั้น/ไม่ใช้วิธีการB หรือวิธีอื่น ฯลฯ ในลักษณะว่ามีเพียง 2 อย่างให้เลือก หรือ ขาว/ดำ พวกเรา/ไม่ใช่ พวกเรา มิตร/ศัตรู อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงขาดความยืดหยุ่นในการพิจารณาปัญหา มักนำ มาซึ่งข้อถกเถียงที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอ ขาดการนำเสนอแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายได้ รวมทั้งขาดการพูดคุยถึงการพัฒนาใหม่ๆ เช่น full-text ของบทความดิจิทัล การ Link เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่น การร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำรายการระหว่างห้องสมุด 4. แนวทางปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายให้บุคลากรต่างๆ ช่วย การปฏิบัติ โดยไม่ได้พิจารณาหรือให้ความสำคัญกับประเด็นพื้นฐานบางอย่าง เช่น คุณสมบัติ ของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนา/ฝึกอบรม/สอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ การตรวจสอบประเมินผลงานที่เป็นระบบ ทั่วถึง และสม่ำเสมอ 5. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางสารสนเทศ ศาสตร์ เช่น MARC tag ต่างๆ และดรรชนีหัวเรื่อง มีรายละเอียดที่ควรศึกษาเรียนรู้มาก ซึ่งกิจกรรม KM ไม่ควรจัดทำเพียงครั้งคราวเพื่อรายงานผลสถิติว่าจัดแล้วเท่านั้น แต่ควร มีการวางนโยบายและจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ (outline) ต่างๆ อย่างครอบคลุม ละเอียด มีการวางแผนการสอน/การเรียนรู้ การสร้างและเก็บสะสมสื่อการเรียนรู้ โดยอาจใช้ ตัวอย่างผลงานที่เป็นปัญหาหรือข้อถกเถียงมาเป็นสื่อเรียนรู้ด้วย สรุป แนวคิดนอกเหนือจากห้องประชุมครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งอาจเกิดกิจกรรม KM ต่อๆ ไปที่จะช่วย นำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลต่างๆ ออกมาเผยแพร่ต่อไปในอนาคต. ---end
คำสำคัญ : MARC format  การบริหารองค์ความรู้  การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ดรรชนี  บทความวารสาร  รูปแบบการลงรายการแบบมาร์ค  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2100  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/4/2563 15:51:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 10:10:13
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ปรโยชน์จากการเข้าร่วม การอบรมโครงการ แนวทางการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ » ประโยชน์จากการเข้าร่วม การอบรมโครงการ แนวทางการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์
หลักการสำคัญในการเขียนบทความวิจัยให้มีคุณภาพเพื่อตีพิมพ์นั้น ในหนึ่งบทความต้องมีส่วนประกอบสำคัญๆ ดังนี้ 1. ต้องมีการกล่าวถึงหลักการทางทฤษฏี (Theory) แนวคิด (Concept) ที่สนับสนุนงานวิจัยอย่างถูกต้อง ตรงกับศาสตร์ที่วรสารนั้นมุ่งตีพิมพ์ 2. ข้อมูลและระเบียบวิธีการวิจัยต้องถูกต้องที่สุด สมเหตุสมผลตามประเด็นเรื่องวิจัย 3. วรรณกรรม และงานวิจัยที่อ้างอิงในบทนำ การอภิปรายผล ต้องตรงกับคำสำคัญของงานวิจัย เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามนำมาอภิปรายร่วม 4. การเขียนต้องจบที่ละประเด็น ไม่เขียนวกวน การเขียนต้องถูกหลักไวยากรณ์ คำวิชาการเฉพาะทาง (Technical term) การเขียนบทความทางวิชาการหนึ่งๆ ต้องมีการวางแผนที่บทความ (Article map) เพื่อจะได้เป็นไกด์ไลน์ในการเขียนได้อย่างถูกต้องและกระชับ
คำสำคัญ : การเขียนบทความทางวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3303  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 28/8/2561 17:03:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 13:59:22
ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (ACS Training: Publishing Research)"
ในกระบวนการทำงานวิจัยนั้น เมื่อผู้ทำวิจัยได้ดำเนินการวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญคือ การนำเสนอผลการวิจัยให้ผู้อื่นได้รับรู้ เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป ซึ่งการนำเสนองานวิจัยก็มีหลากหลายรูปแบบ อาทิ การนำเสนอแบบโปสเตอร์ การนำเสนอด้วยปากเปล่าในการประชุมวิชาการต่าง ๆ และการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการนั้นถึอเป็นรูปแบบการนำเสนองานวิจัยที่เป็นนิยมในหมู่นักวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากบทความวิจัยนั้น ๆ จะคงแสดงอยู่ในวารสารนั้น ๆ ตลอดไป รวมถึงผู้อื่นสามารถสืบค้นได้ง่าย ดังนั้นแล้วผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องมีทักษะในการเขียนบทความวิจัยที่สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นการฝึกทักษะการเขียนบทความวิจัยของเขียน อันจะทำให้การเขียนบทความวิจัยมีความถูกต้อง ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นสากล เป็นต้น
คำสำคัญ : บทความวิจัย  อบรมเชิงปฏิบัติการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3178  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทวีศักดิ์ จันทร์งาม  วันที่เขียน 15/3/2559 13:28:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 16:38:46
การพัฒนาตนเอง » การพัฒนาตนเอง เรื่องการเขียนบทความวิชาการ
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม เรื่อง การการเขียนบทความทางวิชาการ/บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ณ ห้องช้องนาง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 และขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย ได้รับฟังการบรรยายจาก ผศ. มรกต สุกโชติรัตน์ เรื่องการเลือกวารสารให้สอดคล้องกับงานวิจัย และ รศ. ดร. ด้วง พุธศุกร์ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ/บทความวิจัย ทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ การใช้เลือกใช้คำศัพท์ต่างๆ รูปแบบการเขียนประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเขียนบทความวิจัยได้ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้โปรแกรม EndNote เพื่อจัดเก็บบรรณานุกรม โดยคุณประภัย สุขอิน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช้ำหรับการจัดเก็บบรรณานุกรม ที่ได้จากการสืบค้นมาจากฐานข้อมูล สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรม Microsoft word ได้ สามารถทำให้การเขียนบรรณานุกรมมีความง่ายมากขึ้น 2. การพัฒนาการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มาพัฒนาการเรียนการสอนในวิชา วท 498 การเรียนรู้อิสระ และ วท 497 สหกิจศึกษา ในส่วนของการเขียนงานวิจัยได้
คำสำคัญ : การเขียนบทความทางวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3843  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน มยุรา ศรีกัลยานุกูล  วันที่เขียน 18/3/2558 10:35:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:45:28
ความรู้จากการร่วมอบรม » การตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ
จากการเข้าร่วมอบรมเทคนิคการตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ พบว่าวิทยากรได้เน้นไปที่เทคนิคการใช้สื่อสารสนเทศผ่านทางระบบฐานข้อมูลต่างๆ ในการอำนวยความสะดวกในการคัดเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ ตลอดจนได้เรียนรู้ถึงค่าสำคัญต่างๆ ที่ใช้ประเมินความน่าเชื่อถือของวารสารนั้นๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถมุ่งเป้าไปยังวารสารที่เหมาะสมกับตัวผู้วิจัยเอง และสามารถตีพิมพ์ผลงานลงในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการได้
คำสำคัญ : การตีพิมพ์บทความวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3951  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน  วันที่เขียน 3/9/2557 21:01:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:46:33
การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ » แนวปฏิบัติในการผลิตผลงานทางวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
บทความนี้นำเสนอแนวทางเร่งรัดเพื่อชี้แนะคณาจารย์ในการผลิตผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
คำสำคัญ : ตำแหน่งทางวิชาการ  บทความวิชาการ  ผลงานวิจัย  เอกสารคำสอน  เอกสารประกอบการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5752  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 1  ครั้ง
ผู้เขียน สุเนตร สืบค้า  วันที่เขียน 4/7/2555 9:43:41  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 13:55:32
ทรัพย์สินทางปัญญา » ลิขสิทธิ์
เป็นบทความเพื่อเกริ่นนำเรื่องของลิขสิทธิ์ที่นำเสนอในอีก 3 บทความต่อไปครับ
คำสำคัญ : เกริ่นนำบทความ  ลิขสิทธิ์  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การเมือง การปกครอง กฎหมาย
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6881  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กัลย์ กัลยาณมิตร  วันที่เขียน 18/1/2554 13:45:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:24:16