รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีคลังปัญญา ม.แม่โจ้ [เพิ่มเติม] [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 4of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน การรวบรวมเอกสารคลังปัญญาแม่โจ้ [เพิ่มเติม] ในระบบ ALIST (เอกสารออนไลน์แหล่งอื่น) ในที่นี้เฉพาะเอกสารออนไลน์ที่ชี้ไปยังแหล่งข้อมูลอื่นภายนอกห้องสมุด ม.แม่โจ้ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ OPAC ห้องสมุดต่างๆ ที่น่าสนใจคือ มช. (อนาคตอาจสืบค้นจาก มก. มข. มศป.) (2) Tag สำคัญที่ใช้คือ 100, 245, 246, 260, 300, 520, 700, 710, 650, 6xx, 856, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 69x, ทั้งนี้ 6xx โดยเฉพาะ 650 หัวเรื่องทั่วไปจะได้คำเบื้องต้นมาจากห้องสมุดแหล่งข้อมูลด้วย, โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xคลิป, และ 710 อาจกำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aมหาวิทยาลัยแม่โจ้^x[...รอหัวเรื่องย่อย...], โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-pdf], ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF, อนึ่ง ข้อมูลที่นำเข้าระบบตามโครงการ/กิจกรรมรวบรวมเอกสารฯ เป็นการทำรายการเบื้องต้น (pre-catalog). [end]
คำสำคัญ : คลังปัญญาสถาบัน  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดดิจิทัล  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 928  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:54:04  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 4:37:53
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีเอกสารเนื้อหา Green [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 2of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน งานเอกสารเนื้อหา Green ในระบบ ALIST (บทความจาก ThaiJo, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ ฐานข้อมูลวารสาร ThaiJo, ส่วนหนังสือเป็นแหล่งต่างๆ จากการค้น Google search (หรืออนาคตมุ่งไปแหล่งรวบรวมบางแห่งที่มีเอกสารบริการ) (2) Tag สำคัญที่ใช้ กรณีบทความที่เก็บข้อมูลคือ 100, 245, 246, 260, 300, 500 (ใช้แทน 773), 700, 710, 856, นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, URL link ไปยังบทความ, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 69x (ถ้ามี), โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุม ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xบทความอิเล็กทรอนิกส์, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-article] กรณีบทความ PDF หรือ ^h[electronic resource-pdf] กรณีหนังสือ PDF, ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF. [end]
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  นโยบายสีเขียว  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 965  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:48:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 13:38:39
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์สื่อดิจิทัล คือหนังสือออนไลน์ บทความออนไลน์ และคลิป หัวข้อ Green/สิ่งแวดล้อม [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 4of5 / 2564]
ที่มา (1) จากสภาพการณ์ปัจจุบันที่ห้องสมุดบอกรับวารสารฉบับตัวเล่มลดลง บทความออนไลน์มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น แต่ห้องสมุดยังไม่ได้ขยายขอบเขตการจัดหาทรัพยากรสื่อเหล่านี้มาบริการผู้ใช้ (ส่วนคลิปออนไลน์ มีลักษณะทำนองเดียวกับข้อ 1 ใหญ่ ที่นำเสนอในตอนต้น) (2) เว็บไซต์ TCI-Thaijo.org เป็นที่นิยมมากขึ้น มีวารสารและบทความที่มีคุณค่าและจำนวนวารสารมากขึ้น แต่ระบบดรรชนีค้นหายังไม่ละเอียด อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามารถได้รับบทความฉบับเต็ม (full text) มาอ่านได้สะดวก จึงเป็นโอกาสที่ห้องสมุดสามารถคัดเลือกบทความที่มีคุณค่าภายใต้หัวข้อเนื้อหาสาระที่ห้องสมุดยังขาดแคลนมาบริการผู้ใช้ได้ (3) มหาวิทยาลัยและห้องสมุดมีนโยบายพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ซึ่งห้องสมุดควรเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญขององค์กรที่มีสารสนเทศเนื้อหา “Green/สิ่งแวดล้อม” บริการผู้ใช้ (4) นโยบายห้องสมุดที่ต้องการนำเสนอสื่อดิจิทัลมากขึ้น วิธีการ (5) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ (ก) ประเด็นการพัฒนาคอลเลคชันของสื่อประเภททรัพยากรแบบใหม่ในห้องสมุด โดยในเบื้องต้นเน้นหัวข้อด้าน “Green/สิ่งแวดล้อม” โดยตรวจสอบสื่อที่มีในห้องสมุดและค้นหาเพิ่มเติมจากแหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือ คลังทรัพยากรสารสนเทศแบบเปิด https://oer.learn.in.th และฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย https://www.tci-thaijo.org (ข) ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการ เป็นไปทำนองเดียวกันกับสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือและสื่อบทความวารสาร แต่มีพิเศษคือ tag 245^h, 09x, 500 ที่ระบุแหล่งวารสารของบทความ, 856, 650 ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ-xxx และเน้นทำดรรชนีหัวเรื่องให้ละเอียด ส่วนประเด็นบริการเป็นการบริการออนไลน์ที่เข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็ม (full text ของสิ่งพิมพ์ ที่มักจัดทำเป็นเอกสาร pdf file) ได้ทันที ไม่ต้องยืมผ่านสื่อบันทึก ผลลัพธ์ (6) คอลเลคชันสื่อที่บริการผู้ใช้ ข้อมูลหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ปี 2564 นี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถได้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม (full text) หรือเนื้อหาจริงฉบับเต็ม (clips on Youtube) จำนวนประมาณ 460 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 200 ชื่อเรื่อง, และเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว กำหนดเป้าหมายไว้ 300 ชื่อเรื่อง) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564 (6.1) กรณีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่าไม่มีแหล่งรวบรวมที่ชัดเจน ในการนี้ได้สำรวจจากแหล่งหนึ่ง และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 20 รายชื่อ (หมายเหตุ ไม่ได้ทำดรรชนีให้ตรวจสอบคอลเลคชันนี้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ [ลงรายได้เป็น “ตัวอย่าง” ไว้เท่านั้น] เพราะห้องสมุดมีสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้กำหนดคำดรรชนีนี้) (6.2) กรณีบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่ามีแหล่งที่น่าสนใจคือ https://www.tci-thaijo.org ในการนี้ได้สำรวจจากหัวข้อ “Green” หรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของการพัฒนามหาวิทยาลัย และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 80 รายชื่อ สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--บทความอิเล็กทรอนิกส์ (6.3) กรณีคลิป เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลหัวข้อ “Green” จากหนังสือรูปเล่มปกติที่จัดหาเข้าห้องสมุด และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ที่รวบรวมได้มีจำนวนไม่ถึง 300 รายชื่อตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว จึงได้สำรวจเอกสารจาก Clips เพิ่มเติมจนครบเกณฑ์ (อนึ่งการดำเนินการเรื่อง Clips จัดอยู่ในงาน KM ที่นำเสนออีกประเด็นหนึ่งด้วย) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--คลิป (7) รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลห้องสมุด (ALIST OPAC) เมนูค้น “ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564” และ “Green policy—[ประเด็นหัวข้อย่อย]” นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถสืบค้นได้จากช่องทางปกติต่างๆ เช่น หัวเรื่องใดๆ ตามที่ต้องการ เช่น มหาวิทยาลัยสีเขียว, การจัดการสิ่งแวดล้อม, การกำจัดขยะ, มลพิษ ฯลฯ (8) ขยายขอบเขต (Scope) ทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการผู้ใช้ โดยเฉพาะวารสารที่ไม่ได้บอกรับหรือมีตัวเล่มในห้องสมุด และเป็นสื่อออนไลน์ที่เป็นสื่อสมัยใหม่ (New media) เพิ่มความรวดเร็ว (Speed) ในการเข้าถึง (Access) และใช้เอกสารของผู้ใช้ฉบับเต็มอย่างสะดวก (Ease of use) ด้วยดรรชนีหัวเรื่องที่มีคุณภาพ (Indexes and retrievability) ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนเป็นเกณฑ์หรือตัวชี้วัดการบริการห้องสมุดที่ดี -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  นโยบายสีเขียว  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1634  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:08:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 22:16:28