การตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ
วันที่เขียน 3/9/2557 21:01:52     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:58:28
เปิดอ่าน: 3952 ครั้ง

จากการเข้าร่วมอบรมเทคนิคการตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ พบว่าวิทยากรได้เน้นไปที่เทคนิคการใช้สื่อสารสนเทศผ่านทางระบบฐานข้อมูลต่างๆ ในการอำนวยความสะดวกในการคัดเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ ตลอดจนได้เรียนรู้ถึงค่าสำคัญต่างๆ ที่ใช้ประเมินความน่าเชื่อถือของวารสารนั้นๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถมุ่งเป้าไปยังวารสารที่เหมาะสมกับตัวผู้วิจัยเอง และสามารถตีพิมพ์ผลงานลงในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการได้

          ตามที่ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน อาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมอบรมเรื่อง การตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ โดยเนื้อหาพบว่าได้เน้นไปที่เทคนิคการใช้สื่อสารสนเทศผ่านทางระบบฐานข้อมูลต่างๆ ในการอำนวยความสะดวกในการคัดเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ ตลอดจนได้เรียนรู้ถึงค่าสำคัญต่างๆ ที่ใช้ประเมินความน่าเชื่อถือของวารสารนั้นๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถมุ่งเป้าไปยังวารสารที่เหมาะสมกับตัวผู้วิจัยเอง และสามารถตีพิมพ์ผลงานลงในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการได้

          วิทยากรได้แนะนำเวปไซด์ที่เกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น 5 เวปไซด์ ได้แก่

  1. www.journalindicators.com เพื่อใช้ประเมินค่า Impact factor กับค่า Ranking ของวารสารในฐานข้อมูล Scopus ซึ่งมีมากกว่า 20,000 วารสาร
  2. www.scimagoir.com เป็นเวปไซด์ที่ใช้ประเมินค่า Impact factor และ Ranking ของวารสารในฐานข้อมูล Scopus เหมือนกัน
  3. www.eigenfactor.org เป็นเวปไซด์ที่ประเมินความน่าเชื่อถือของวารสารจากฐานข้อมูล Thomson
  4. Google scholar (scholar.google.com)
  5. Microsoft academic search (acedamic.research.microsoft.com)
  6. Web of Science

 ข้าพเจ้าได้ฝึกใช้เวปไซด์เหล่านี้จนชำนาญ และเพียงพอที่จะถ่ายทอดวิธีการใช้เครื่องมือนี้ไปยังเพื่อนร่วมงานและผู้สนใจอื่นๆ ได้

 ค่าสำคัญที่ใช้ประเมินความน่าเชื่อถือของวารสารนั้น มีหลายค่าไม่ว่าจะเป็น

  1. ค่า Impact factor: ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่อ้างอิงต่อบทความในระยะ 2 ปี
  2. ค่า SJN: ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่อ้างอิงต่อบทความในระยะ 3 ปี
  3. ค่า H index: ค่าที่แสดงว่ามีกี่บทความที่ถูกอ้างอิงสูง ซึ่งยิ่งมีค่าสูงก็จะยิ่งดี
  4. ค่า SNIP: เป็นค่าที่ใช้ดูค่าเฉลี่ยจำนวนครั้ง

 ดังนั้นในการที่จะตัดสินใจเลือกวารสารเพื่อลงตีพิมพ์ผลงานของเรา จำเป็นต้องพิจารณาจากค่าต่างๆ เหล่านี้ด้วย นอกเหนือจากค่า Impact factor

 เทคนิคอื่นๆ ในการเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ ซึ่งวิทยากรได้แนะนำไว้ ยังมีอีกหลายเทคนิค ยกตัวอย่างเช่น อาจจะเลือกจากวารสารใดๆ ที่เราใช้อ้างอิงในงานของเราเป็นประจำ หรือที่เราใช้ติดตามความก้าวหน้าของศาสตร์ของเรา หรืออาจจะเลือกจากวารสารใดๆ ที่นักวิจัยที่มีชื่อเสียงในศาสตร์ของเราได้ลงตีพิมพ์ไว้ ก็สามารถทำได้

 โดยสรุปแล้วการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาตนเองในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการทำงานในฐานะอาจารย์และนักวิจัย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=318
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง