การวิเคราะห์สื่อดิจิทัล คือหนังสือออนไลน์ บทความออนไลน์ และคลิป หัวข้อ Green/สิ่งแวดล้อม [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 4of5 / 2564]
วันที่เขียน 14/7/2564 10:08:15     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:11:23
เปิดอ่าน: 1672 ครั้ง

ที่มา (1) จากสภาพการณ์ปัจจุบันที่ห้องสมุดบอกรับวารสารฉบับตัวเล่มลดลง บทความออนไลน์มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น แต่ห้องสมุดยังไม่ได้ขยายขอบเขตการจัดหาทรัพยากรสื่อเหล่านี้มาบริการผู้ใช้ (ส่วนคลิปออนไลน์ มีลักษณะทำนองเดียวกับข้อ 1 ใหญ่ ที่นำเสนอในตอนต้น) (2) เว็บไซต์ TCI-Thaijo.org เป็นที่นิยมมากขึ้น มีวารสารและบทความที่มีคุณค่าและจำนวนวารสารมากขึ้น แต่ระบบดรรชนีค้นหายังไม่ละเอียด อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามารถได้รับบทความฉบับเต็ม (full text) มาอ่านได้สะดวก จึงเป็นโอกาสที่ห้องสมุดสามารถคัดเลือกบทความที่มีคุณค่าภายใต้หัวข้อเนื้อหาสาระที่ห้องสมุดยังขาดแคลนมาบริการผู้ใช้ได้ (3) มหาวิทยาลัยและห้องสมุดมีนโยบายพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ซึ่งห้องสมุดควรเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญขององค์กรที่มีสารสนเทศเนื้อหา “Green/สิ่งแวดล้อม” บริการผู้ใช้ (4) นโยบายห้องสมุดที่ต้องการนำเสนอสื่อดิจิทัลมากขึ้น วิธีการ (5) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ (ก) ประเด็นการพัฒนาคอลเลคชันของสื่อประเภททรัพยากรแบบใหม่ในห้องสมุด โดยในเบื้องต้นเน้นหัวข้อด้าน “Green/สิ่งแวดล้อม” โดยตรวจสอบสื่อที่มีในห้องสมุดและค้นหาเพิ่มเติมจากแหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือ คลังทรัพยากรสารสนเทศแบบเปิด https://oer.learn.in.th และฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย https://www.tci-thaijo.org (ข) ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการ เป็นไปทำนองเดียวกันกับสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือและสื่อบทความวารสาร แต่มีพิเศษคือ tag 245^h, 09x, 500 ที่ระบุแหล่งวารสารของบทความ, 856, 650 ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ-xxx และเน้นทำดรรชนีหัวเรื่องให้ละเอียด ส่วนประเด็นบริการเป็นการบริการออนไลน์ที่เข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็ม (full text ของสิ่งพิมพ์ ที่มักจัดทำเป็นเอกสาร pdf file) ได้ทันที ไม่ต้องยืมผ่านสื่อบันทึก ผลลัพธ์ (6) คอลเลคชันสื่อที่บริการผู้ใช้ ข้อมูลหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ปี 2564 นี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถได้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม (full text) หรือเนื้อหาจริงฉบับเต็ม (clips on Youtube) จำนวนประมาณ 460 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 200 ชื่อเรื่อง, และเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว กำหนดเป้าหมายไว้ 300 ชื่อเรื่อง) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564 (6.1) กรณีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่าไม่มีแหล่งรวบรวมที่ชัดเจน ในการนี้ได้สำรวจจากแหล่งหนึ่ง และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 20 รายชื่อ (หมายเหตุ ไม่ได้ทำดรรชนีให้ตรวจสอบคอลเลคชันนี้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ [ลงรายได้เป็น “ตัวอย่าง” ไว้เท่านั้น] เพราะห้องสมุดมีสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้กำหนดคำดรรชนีนี้) (6.2) กรณีบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่ามีแหล่งที่น่าสนใจคือ https://www.tci-thaijo.org ในการนี้ได้สำรวจจากหัวข้อ “Green” หรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของการพัฒนามหาวิทยาลัย และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 80 รายชื่อ สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--บทความอิเล็กทรอนิกส์ (6.3) กรณีคลิป เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลหัวข้อ “Green” จากหนังสือรูปเล่มปกติที่จัดหาเข้าห้องสมุด และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ที่รวบรวมได้มีจำนวนไม่ถึง 300 รายชื่อตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว จึงได้สำรวจเอกสารจาก Clips เพิ่มเติมจนครบเกณฑ์ (อนึ่งการดำเนินการเรื่อง Clips จัดอยู่ในงาน KM ที่นำเสนออีกประเด็นหนึ่งด้วย) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--คลิป (7) รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลห้องสมุด (ALIST OPAC) เมนูค้น “ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564” และ “Green policy—[ประเด็นหัวข้อย่อย]” นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถสืบค้นได้จากช่องทางปกติต่างๆ เช่น หัวเรื่องใดๆ ตามที่ต้องการ เช่น มหาวิทยาลัยสีเขียว, การจัดการสิ่งแวดล้อม, การกำจัดขยะ, มลพิษ ฯลฯ (8) ขยายขอบเขต (Scope) ทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการผู้ใช้ โดยเฉพาะวารสารที่ไม่ได้บอกรับหรือมีตัวเล่มในห้องสมุด และเป็นสื่อออนไลน์ที่เป็นสื่อสมัยใหม่ (New media) เพิ่มความรวดเร็ว (Speed) ในการเข้าถึง (Access) และใช้เอกสารของผู้ใช้ฉบับเต็มอย่างสะดวก (Ease of use) ด้วยดรรชนีหัวเรื่องที่มีคุณภาพ (Indexes and retrievability) ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนเป็นเกณฑ์หรือตัวชี้วัดการบริการห้องสมุดที่ดี -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
คู่มือ » คู่มือปฏิบัติงานการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (item)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติใหม่ คือระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ในส่วนของการลงทะเบียนที่เป็นการลงรับวารสารในส่วนของโมดู Serical C...
item  รายการทรัพยากรวารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:47:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:08:49   เปิดอ่าน 94  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การสร้าง item เพื่อการยืมคืน
แนวทางการปฏิบัติงานข้างต้นในส่วนของงานด้านวารสาร สำนักหอสมุดได้ปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหาร ตั้งแต่การบันทึกรายการบัตรทะเบียนวารสาร การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบเดิม (horizon) จนถึงปัจจุบันใช้ระบ...
item  ข้อมูลตัวเล่มวารสาร  วารสารล่วงเวลา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:31:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 10:38:21   เปิดอ่าน 83  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » คู่มือการปฏิบัติงาน ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
ปัจจุบัน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เวอร์ชั่น 4.0.2009 ซึ่งการดำเนินงานเกี่ยวกับวารสารจะใช้โปรแกรมย่อยของระบบควบคุมวารสาร (Serial Control Module) เพื่อควบคุมก...
ALIST  ทะเบียนวารสาร  ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:20:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:57:34   เปิดอ่าน 89  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การตรวจสอบทะเบียนวารสาร
วารสารจัดเป็นทรัพยากรสารนิเทศประเภทหนึ่งที่นับได้ว่ามีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ใช้บริการอย่างมาก วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการ...
ทะเบียนวารสาร  สถานะของวารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:58:39   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » บรรณานุกรมรายงานการวิจัย
รายงานการวิจัยหมายถึง การเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ผลที่เกิดขึ้นในขณะที่ดำเนินการวิจัย รวมถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิจัยและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของผู้วิจัย และผู้เกี่ยวข้...
บรรณานุกรม  รายงานการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:03:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:03:49   เปิดอ่าน 85  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง