แนวปฏิบัติในการผลิตผลงานทางวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
วันที่เขียน 4/7/2555 9:43:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:37:00
เปิดอ่าน: 5717 ครั้ง

บทความนี้นำเสนอแนวทางเร่งรัดเพื่อชี้แนะคณาจารย์ในการผลิตผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

แนวปฏิบัติในการผลิตผลงานทางวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

 

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร สืบค้า รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

ตรวจสอบโดย รองศาสตราจารย์เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

 

จากที่ประชุม คณะกรรมการตรวจสอบโครงร่างสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินค่าตอบแทนในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการจากงบประมาณเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2554  วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2554 สามารถสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้

 

ประเมินผลการสอนระดับคณะฯ

เอกสารประกอบการสอน (ขอ ผศ.) หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบัน อุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ  จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้สอนในการใช้ประกอบการสอน

เอกสารคำสอน (ขอ รศ.)  หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาที่สอน และวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ โดยอาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารประกอบการสอนจนมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้เรียนที่นำไปศึกษาด้วยตนเองหรือเพิ่มเติมขึ้นจากการเรียนในวิชานั้นๆ

-            ระบุรหัสและชื่อวิชา

-            บรรจุในหลักสูตรที่มีการเรียนการสอน

-            มีเนื้อหาที่ครอบคลุมได้เท่ากับ 2 หน่วยกิตบรรยายขึ้นไป (ถ้าเป็นวิชา 1 หน่วยกิต ให้ใช้ 2 วิชา)

-            ในกรณีที่สอนหลายวิชา หลายหัวข้อ สามารถนำแต่ละหัวข้อ แต่ละวิชา มาเขียน แต่รวมเนื้อหาต้องเทียบได้กับการสอนบรรยาย 2 หน่วยกิต ตลอดภาคการศึกษา หรือ เนื้อหาประมาณ 30-32 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

-            ไม่ควรใช้ PowerPoint อย่างเดียว แต่นำมาประกอบเอกสารท้ายบทได้

ผลงานทางวิชาการ ประเมินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

(เลือก 1 อย่าง ระหว่าง 1 ถึง 3)

  1. 1.    บทความทางวิชาการ (ขอ ผศ.)
  2. 2.   ตำรา
  3. 3.   หนังสือ และ
  4. 4.   ผลงานวิจัย

สิ่งที่เหมือนกันระหว่างตำราและหนังสือ

  1. หากมีผู้แต่งมากกว่า 1 คน คนที่สามารถนำไปขอเป็นเอกสารหลักของตนเองได้ต้องมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50   คนอื่นๆ สามารถนำไปใช้ได้ในค่าน้ำหนักการมีส่วนร่วมตามที่ได้ระบุในครั้งแรก (ซึ่งเท่ากับหรือน้อยกว่าร้อยละ 50) แต่จะอ้างว่าเป็นผลงานหลักของตนไม่ได้ ผู้ขอคนหลังจะต้องมีผลงานที่แสดงความเป็นผู้ดำเนินการหลักอีกอย่างน้อย 1 ชิ้นงาน
  2. ต้องมีการเผยแพร่ก่อนขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
  3. การเขียนต้องแสดงให้เห็นถึงความมีคุณค่าทางวิชาการในแต่ละระดับที่ขอ

หนังสือ คือผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง  และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ และ/หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่อง  มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุม โดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร   และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์

-            เนื้อหามีคุณค่าทางวิชาการ แสดงให้เห็นถึง Scientific citation

-            อย่างน้อย 80-100 หน้า

-            ไม่ต้องอ้างอิงรายวิชา  ดูความสอดคล้องกับสาขาที่ขอกำหนดตำแหน่ง

-            หนังสือต้องเผยแพร่มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 เดือน

ตำรา หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ  ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา หรือของหลักสูตรก็ได้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาในการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

            เนื้อหาสาระของตำราต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันที่ผู้ขอยื่นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ

             ทั้งนี้ผู้ขอจะต้องระบุวิชาที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรที่ใช้ตำราเล่มที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการด้วย

             ผลงานทางวิชาการที่เป็น “ตำรา” นี้อาจได้รับการพัฒนาขึ้นจากเอกสารคำสอน จนถึงระดับที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งผู้อ่านอาจเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้เรียนในวิชานั้น แต่สามารถอ่านและทำความเข้าใจในสาระของตำรานั้นด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องเข้าศึกษาในวิชานั้น

-        ชื่อเดียวกับรายวิชาในหลักสูตร แต่ไม่ต้องระบุรหัสวิชา

-        ควรมีการสอดแทรกงานวิจัยของตนเองอย่างน้อย 1 ชื่อเรื่อง

-        จำนวนบท/หัวข้อต้องอยู่ในเนื้อหาของรายละเอียดวิชา (course description)

-        ตำราต้องเผยแพร่หรือใช้สอนมาแล้ว 1 ภาคการศึกษา

 

บทความวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน  ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย

(ต่างจากงานวิจัย)

-        ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ (หากต้องการ file ที่ list รายชื่อวารสาร โปรดแจ้งกลับรองคณบดีฝ่ายวิชาการ)

-        แสดงความเป็นเจ้าของไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

-        1 บทความก็สามารถยื่นขอกำหนดตำแหน่งได้ แต่จะขอค่าตอบแทนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ฯ (40,000 บาท) ไม่ได้

-        2 บทความ สามารถขอค่าตอบแทนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ได้ 40,000 บาท เมื่อได้รับการแต่งตั้ง โดยผู้ขอตำแหน่งต้องมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ทั้ง 2 บทความ

-        แนะนำให้ทำผลงานชิ้นนี้เพราะง่ายที่สุด จากประสบการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พบว่า กว่าร้อยละ 50 ผู้ขอมักตกหากใช้ตำราที่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งทางวิชาการ การอ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

ผลงานวิจัย หมายถึงผลงานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับสาขาวิชาเพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้เดิม

-        เป็นบทความวิจัยที่มีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ (หากต้องการ file ที่ list รายชื่อวารสาร โปรดแจ้งกลับรองคณบดีฝ่ายวิชาการ)

-        แสดงความเป็นเจ้าของไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

 

 การอ้างอิงบทความ:

สุเนตร สืบค้า. 2555.

แนวปฏิบัติในการผลิตผลงานทางวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ. คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่.

ความคิดเห็นทั้งหมด (1)
สุระพล ริยะนา     วันที่เขียน : 5/7/2555 0:00:00

แจ่มมากครับ

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง