เทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ
วันที่เขียน 4/10/2564 15:41:12     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/11/2567 4:10:41
เปิดอ่าน: 1436 ครั้ง

ในการตัดสินใจส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนั้นนักวิจัยควรทราบข้อมูลพื้นฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ ของวารสารในการประกอบการตัดสินใจ ได้แก่

  1. ชื่อวารสาร (Journal name)
  2. ค่าดัชนีชี้วัด (Journal Metric) ซึ่งจะพิจารณาร่วมกับเกณฑ์อื่น ร่วมด้วยเช่น เกณฑ์กำหนดของมหาวิทยาลัย หรือเกณฑ์การประกาศของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
  3. 3. ฐานข้อมูล (Indexing) โดยพิจารณาจาก เกณฑ์การประกาศ หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ที่ระบุ

- ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ได้แก่ ERIC, MathSciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น), JSTOR และ Project Muse

- ฐานข้อมูลระดับชาติ ได้แก่ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index - TCI) เฉพาะวารสารที่มีชื่ออยู่ในกลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒

  1. สำนักพิมพ์ (Publisher) ได้แก่ กลุ่ม Elsevier (ScienceDirect) กลุ่ม Springer กลุ่มWiley กลุ่ม Blackwell's (ซึ่งปัจจุบันได้รวมตัวกันเป็น Wiley-Blackwell) และกลุ่ม Taylor & Francis
  2. บรรณาธิการ (Editor) ที่เป็นที่รู้จักในวงการ
  3. รูปแบบวารสาร (Publication Model) ซึ่งจะเป็นใน 1) รูปแบบ Open Access (*ผู้อ่านไม่ต้องจ่ายค่าวารสารแต่ผู้ที่ต้องการตีพิมพ์ในวารสารต้องชำระค่าใช้จ่ายในการอาจแบ่งเป็น ค่าดำเนินการแม้จะได้รับหรือไม่ได้รับให้ตีพิมพ์ หรือให้ชำระหลักจากได้รับให้ตีพิมพ์) ซึ่งวารสารประเภทนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าถึงง่าย 2) รูปแบบ Subscription เป็นกลุ่มที่ต้องมีสมาชิกโดยผู้อ่านต้องชำระค่าอ่านเป็นรูปแบบค่าสมาชิกซึ่งผู้เขียนจะไม่ต้องจ่ายค่าดำเนินการ 3) รูปแบบ Hybrid เป็นกลุ่มที่ต้องมีสมาชิกโดยมีบางบทความเป็นแบบ Open Access ซึ่งผู้อ่านทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถเข้าไปอ่านบทความได้
  4. 7. จำนวนฉบับต่อปี (Publication Frequency) มีส่วนช่วยในการบอกว่าวารสารดังกล่าวมีกระบวนการในการดำเนินงานเร็วหรือช้ามากน้อยหรือไม่ ซึ่งจะส่วนช่วยได้เช่นในกรณี

- 2 –

  1. ค่าตีพิมพ์ (Open Access Fees)
  2. ค่าเฉลี่ยของเวลาในการตอบรับ หรือ ปฏิเสธการตีพิมพ์ (Average Turnaround Time)บ่งบอกความเร็วในการดำเนินการของวารสาร ซึ่งจะส่วนช่วยได้เช่นในกรณี การนำผลงานเพื่อนำไปใช้ในการจบการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก ซึ่งจะมีผลต่อแผนการในการพิจารณาการจบการศึกษาเป็นต้น
  3. ประเภทบทความที่รับหรือจำนวนคำต่อบทความ (Manuscript Word Limit) ซึ่งหากบทความมีจำนวนที่เกินกว่าวารสารกำหนดไว้จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

11.ขอบเขตของเนื้อหาที่วารสารรับ (Scope) ซึ่งตรงกับเนื้อหาของงานที่นักวิจัยหรือผู้เขียนต้องการส่งหรือไม่ โดยให้พิจารณา คำค้นหา (Keywords) ที่เกี่ยวข้องกับบทความของตนเอง

ทั้งนี้นักวิจัยสามารถพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเลือกว่าควรตีพิมพ์ผลงานของตนเองลงในวารสารนานาชาติ วารสารใด ได้แก่ ตรวจสอบวารสารที่บทความของตนเองใช้ในการอ้างอิง (Reference) โดยดูจากข้อมูลส่วนใหญ่ที่บทความของตนเองอ้างอิงซึ่งจะเป็นข้อบางชี้ว่างานชิ้นนี้น่าจะตรงกับขอบเขตของงานที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารดังกล่าวหรืองานวิจัยนี้เป็นเรื่องที่ใหม่และไม่ซ้ำกับผลงานใด นักวิจัยควรพิจารณาขอบเขตเนื้อหาของวารสารว่าตรงกับผลงานที่ต้องการตีพิมพ์หรือไม่ นักวิจัยควรประเมินคุณภาพวารสารจากค่า Impact factor และ Ranking ซึ่งค่าเหล่านี้เป็นค่าที่ใช้บ่งชี้เรื่องคุณภาพของวารสารนั้น ๆ นักวิจัยควรตรวจสอบสถานการณ์การมีอยู่ของวารสาร (Indexing) ว่าอยู่ในฐานข้อมูล ประเภท Citation Databases ประเภทใดเพื่อประเมินคุณภาพวารสารโดยการตรวจสอบสถานะ Index และระยะเวลาที่ index ในฐานข้อมูลวารสารอ้างอิงที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาวิจัย  นักวิจัยควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร ได้แก่ จำนวนปีที่ตีพิมพ์ สถิติการ Most Downloaded หรือ Most Cite ภาษาต้นฉบับที่ตีพิมพ์ ความถี่ของการตีพิมพ์ ตีพิมพ์ในรูปแบบใด (อิเล็กทรอนิกส์หรือตัวเล่ม) เป็นต้น  นักวิจัยควรทราบอัตราการรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์ของวารสารซึ่งจะใช้เป็นตัววัดถึงโอกาสที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารนั้น โดยอาจขึ้นอยู่กับคุณภาพของบทความที่ส่งไปตีพิมพ์ หรือจำนวนบทความที่อยู่ในระบบ นักวิจัยควรทราบถึงสถานะวารสารว่าเป็นประเภท Peer Review หรือไม่ โดยการ Peer Review นี้จะเป็นกระบวนการทางวิชาการที่วารสารได้จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญสำหรับแต่ละสาขาเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และลงความเห็นหรือตัดสินให้บทความดังกล่าวยอมรับให้ตีพิมพ์ (accepted) หรือ ปฏิเสธการตีพิมพ์ (rejected) หรือส่งกลับไปให้แก้ไขเพิ่มเติม (revised) โดยวารสารที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์จะมีส่วนช่วยในการคัดกรองเรื่องคุณภาพวารสารได้เป็นอย่างดี นักวิจัยควรทราบระยะเวลาของกระบวนการพิจารณาของวารสาร (speed of review process) ซึ่งสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของวารสารหรือติดต่อบรรณาธิการ นักวิจัยควรพิจาณาถึงชื่อเสียงของสำนักพิมพ์ วารสาร บรรณาธิการ และบอร์ดบรรณาธิการ ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาถึงคุณภาพของวารสารหรือประกอบการตัดสินใจในการเลือกวารสาร นักวิจัยควรพิจารณาประเภทของต้นฉบับ (Manuscript) ที่ต้องการส่งเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร เนื่องจากวารสารบางวารสารจะเลือกรับบทความบางประเภทเท่านั้น เช่น research paper, review article เป็นต้น ทั้งนี้นักวิจัยสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของวารสาร นอกจากนี้นักวิจัยควรพิจารณาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ในกระบวนการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ เช่น ค่ารูปสี ค่าจัดทำบรรณานุกรม ค่าเปิดให้บทความสามารถเข้าถึงหรืออ่านได้ฟรี (Open access Article) ค่าใช่จ่ายการตีพิมพ์ ค่าพิจารณาบทความ ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์วารสารประเภท Open access

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 23:59:49   เปิดอ่าน 107  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง