โครงการอบรม "เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์ และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน"
วันที่เขียน 22/4/2566 23:40:30     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 7:37:26
เปิดอ่าน: 1190 ครั้ง

โครงการอบรม "เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน" โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 16 ธันวาคม 2565 เวลา : 13:30 - 16:30 น. ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
  • ได้รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน” โดยศาสตราจารย์ ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้ทราบว่าแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม เหตุผลที่ต้องตีพิมพ์งานวิจัยเพื่อป้องกันการทำซ้ำ ควรเลือกตีพิมพ์ในวารสารที่ตรงกับสายงาน มีเฉพาะเจาะจง มีเกณฑ์มาตรฐานรองรับ/เป็นที่ยอมรับในสายงาน จะตีพิมพ์ระดับชาติหรือนานาชาติ ควรพิจารณา Impact Factor และ Quartile เช่น อยู่ในฐาน Web of Science, Scopus เป็นต้น
  • งานวิจัยที่ดี ควรมีคำถามเชิงวิชาการที่ดี มีการทดลองที่ดี มีการวิเคราะห์ผล/การวิจารณ์ มีความรู้ใหม่/องค์ความรู้ใหม่ Information ใหม่ เช่น กรณีศึกษา : การคิดโจทย์วิจัยจากงานบริการวิชาการ การพัฒนาลายผ้าเพื่อเป็นเอกลักษณ์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านพรุ เป็นต้น
  • เริ่มทำวิจัย Review ให้มากที่สุด คำนำ ให้กล่าวที่มา แรงบันดาลใจ ความสำคัญกว้าง ๆ ความสำคัญงานของเรา ทบทวนวารสารที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของงานวิจัย ผลเป็นอย่างไร
  • สาเหตุที่ต้นฉบับถูกปฏิเสธ มาจากวิธีการไม่ถูกต้อง ล้าสมัย ขนาดการทดลองเล็กเกินไป ตัวอย่างน้อยเกินไป ให้รายละเอียดไม่เพียงพอ ไม่มีการทดสอบทางสถิติ การรายงานผล บกพร่องในการวิจารณ์
  • การวิจารณ์ผล ควรวิจารณ์ตามวัตถุประสงค์/สมมติฐาน ประเด็นที่เกี่ยวข้องก็นำมาวิจารณ์ ทฤษฎีที่นำมาใช้ต้องมีแหล่งอ้างอิง ทุกการอ้างอิงต้องถูกต้อง วิจารณ์อย่างมีทิศทาง นำไปสู่ข้อสรุป
  • เอกสารอ้างอิง ควรเขียนตามรูปแบบที่วารสารกำหนด ทันสมัย หลีกเลี่ยงเอกสารที่ไม่มีการตรวจสอบ
  • คำสำคัญ ควรใช้คำผสม 2-4 คำ ดีกว่าคำเดี่ยว ใช้คำที่ถ้าเราเป็นคนอ่าน อยากจะใช้คำใด
  • จริยธรรมการวิจัยที่ต้องคำนึงถึง คือ การลอกเลียน คัดลอกทั่วไป ทำซ้ำงานตนเอง แบ่งงาน/ส่งไปพร้อมกันมากกว่า 1 วารสาร
  • Practice make perfect

 

  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
  • ทำให้ทราบแนวทางการทำวิจัยที่ดี การเขียนบทความวิชาการให้ได้ตีพิมพ์ การเลือกวารสารให้เหมาะสมกับผลงาน

 

  1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
  • บุคลากรทราบแนวทางในการทำงานวิจัยที่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการและจริยธรรมการวิจัย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1346
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การใช้งาน ChatGPT » เทคนิคการใช้ AI: Chat GPT ช่วยทำงานวิจัยให้สำเร็จ
การใช้งาน ChatGPT ในงานวิจัยเพื่อให้ผู้วิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการโต้ตอบกับ ChatGPT เป็นภาษาอังกฤษ ที่สามารถรวบรวมข้อมูลมาจากหลายแหล่งทั่วโลก ขณะที่การโต้ตอบด้วยภาษาไทยยังม...
AI  ChatGPT  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ก่องกาญจน์ ดุลยไชย  วันที่เขียน 18/7/2567 10:41:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/7/2567 1:52:31   เปิดอ่าน 43  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 1:09:59   เปิดอ่าน 47  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/7/2567 14:46:44   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 3:47:24   เปิดอ่าน 63  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/7/2567 10:03:46   เปิดอ่าน 73  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง