|
|
|
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ
»
การศึกษาที่เน้นผลลัพท์และการประเมินการเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLOs)
|
การศึกษาที่เน้นผลลัพท์และการประเมินการเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLOs)
ผลลัพท์การเรียนรู้ตามคุณวุฒิแต่ละระดับ จะต้องสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของหลักสูตร สถาบัน วิชาชีพ และบริบทของประเทศ/โลก ซึ่งประกอบด้วยอย่างน้อย 4 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้ (Knowledge) คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ที่เกิดจากหลักสูตร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการต่อยอดในด้านความรู้เพื่อประกอบอาชีพ ดำรงชีพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. ทักษะ (Skills) คือความสามารถที่เกิดจาการเรียนรู้ ปฏิบัติให้เกิดความคล่องแคล่ว ชำนาญเพื่อพัฒนาวิชาชีพหรือวิชาการ
3. จริยธรรม (Ethics) คือพฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลลที่สะท้อนถึงความเป็นผู้มีคุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตน ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น
4. ลักษณะบุคคล (Character) คือบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และค่านิยมที่สะท้อนคุณลักษณะเฉพาะศาสตร์ วิชาชีพ และสถาบัน โดยผ่านการเรียนรู้ และฝึกประสบการณ์จากหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับระดับคุณวุฒิ
-การเชื่อมโยง PLO สู่ CLO
อาจารย์ผู้สอนต้องเห็น PLO เป็นภาพเดียวกัน ซึ่งเป็นความสามารถที่สำคัญและจำเป็นที่ผู้เรียนต้องทำได้เมื่อสำเร็จการศึกษา แล้วกำหนด CLOs หรือวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่สอดคล้องกับ PLO และในการกำหนด CLOs จะต้องนำไปสู่การวัดประเมินผู้เรียนได้ ตามหลัก Taxonomy Bloom’s หลังจากนั้นจัดกิจกรรมการเรียน แล้ววัดและประเมินผู้เรียน
- การเชื่อมโยง CLOs กับวิธีการจัดการเรียนการสอน และการประเมินในระดับรายวิชา โดยการพิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านการประเมินผล และ ด้านการจัดการเรียนรู้
|
คำสำคัญ :
การเชื่อมโยง PLO สู่ CLO
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
205
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
เจนจิรา ทิพย์ชะ
วันที่เขียน
1/12/2566 10:50:50
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 17:07:31
|
|
|
|
|
|
NETPIE
»
การพัฒนาอุปกรณ์และบริการInternet of Things (IoT) บนแฟรตฟอร์ม NETPIE
|
NETPIE เป็น IoT (Internet of Things) Cloud Platform ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงานวิจัย และเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้งานโดยมี Web Portal ที่ให้สามารถลงทะเบียนและจัดการตัวตนและสิทธิของแอปพลิเคชั่นและอุปกรณ์ได้ที่เว็บไซต์ https://netpie.io อีกทั้ง NETPIE เป็น Middleware ที่มีหัวใจหลัก (นอกเหนือจากส่วนอื่นๆ) เป็น Distributed MQTT brokers ซึ่งเป็นเสมือนจุดนัดพบให้สิ่งต่างๆ (Things) มาติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันผ่านวิธีการส่งข้อความแบบ Publish/Subscribe รวมถึง NETPIE มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมเป็นคลาวด์อย่างแท้จริงในทุกองค์ประกอบ ทำให้สามารถขยายตัวได้อย่างอัตโนมัติ (Auto-scale) สามารถดูแลและซ่อมแซมตัวเองได้อัตโนมัติเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดในระบบมีปัญหา (Self-healing, Self-recovery) โดยไม่ต้องพึ่งผู้ดูแลระบบ การบริหารจัดการระบบเป็นแบบ Plug and Playไม่ต้อง Configure หรือปรับแต่ง ในฝั่งอุปกรณ์ NETPIE มี Client Library หรือที่เรียกว่า Microgear ซึ่งทำหน้าที่สร้างและดูแลช่องทางสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับ NETPIE รวมไปถึงรักษาความปลอดภัยในการส่งข้อมูล Microgear เป็น Open Source และสามารถดาวน์โหลดได้จาก https://github.com/netpieio โดย ณ ปัจจุบันมี Microgear สำหรับ OS และ Embedded Board หลักๆ ที่เป็นที่นิยมในหมู่นักพัฒนาเกือบทุกชนิด
|
คำสำคัญ :
cloud database dashboard IOT real-time
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
7098
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ภานุวัฒน์ เมฆะ
วันที่เขียน
13/7/2561 9:18:48
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 13:41:58
|
|
|
|
|
|
|
ถอดบทเรียน KM/การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
»
สรุปบทเรียนจากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “มารู้จัก MJU Private Cloud กันเถอะ”
|
การนำเทคโนโลยี Cloud Computing เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการนั้น เพื่อให้การบริการระบบสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเรียกออกมาใช้งานได้ตลอดเวลา แบบ AnyWhere AnyTime AnyDevice โดยอาศัยการทำงานผ่าน Browser และระบบอินเทอร์เน็ต นั้น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการศึกษาค้นคว้า เพื่อการดำเนินงานวางระบบ MJU Private Cloud ขึ้น โดยหลักการทำงานผ่าน Cloud Computing เป็นการจัดสรรทรัพยากรของระบบ IT ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่เหมือนกันแต่สามารถใช้งานร่วมกันได้ รวมทั้งสามารถบริหารจัดการระบบทั้งหมดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานได้อย่างเนื่อง
โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการวางโครงสร้างเพื่อให้บริการ MJU Private Cloud ดังนี้
1) จัดสรรทรัพยากรโครงสร้างระบบให้สามารถรองรับการให้บริการ 5 ปี
2) ใช้ Flex System จำนวน 4 ตัว ทำหน้าที่ Cluster Hyper V เพื่อให้การทำงานของระบบ สามารถประมวลผลได้อย่างต่อเนื่อง และทำงานแทนกันได้
3) จัดแบ่ง Storage แบบ 4 Tier
4) การบริหารจัดการแบบ Virtual Management ตรวจสอบการทำงานของ SQL อาทิ SQL Server Availability, SQL Memory
5) การบริหารจัดการแบบ Server Consolidation และ Cloud Management Software
• Virtualization Technology
• Centralization Management
|
คำสำคัญ :
Big Data Cloud Computing Internet Of Thing MS Lync 2013 Office365
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
5501
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐกฤตา โกมลนาค
วันที่เขียน
18/9/2558 13:16:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 17:47:15
|
|
|
|
|
|
|
|