สรุปบทเรียนจากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “มารู้จัก MJU Private Cloud กันเถอะ”
วันที่เขียน 18/9/2558 13:16:28     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 0:44:54
เปิดอ่าน: 5378 ครั้ง

การนำเทคโนโลยี Cloud Computing เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการนั้น เพื่อให้การบริการระบบสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเรียกออกมาใช้งานได้ตลอดเวลา แบบ AnyWhere AnyTime AnyDevice โดยอาศัยการทำงานผ่าน Browser และระบบอินเทอร์เน็ต นั้น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการศึกษาค้นคว้า เพื่อการดำเนินงานวางระบบ MJU Private Cloud ขึ้น โดยหลักการทำงานผ่าน Cloud Computing เป็นการจัดสรรทรัพยากรของระบบ IT ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่เหมือนกันแต่สามารถใช้งานร่วมกันได้ รวมทั้งสามารถบริหารจัดการระบบทั้งหมดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานได้อย่างเนื่อง โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการวางโครงสร้างเพื่อให้บริการ MJU Private Cloud ดังนี้ 1) จัดสรรทรัพยากรโครงสร้างระบบให้สามารถรองรับการให้บริการ 5 ปี 2) ใช้ Flex System จำนวน 4 ตัว ทำหน้าที่ Cluster Hyper V เพื่อให้การทำงานของระบบ สามารถประมวลผลได้อย่างต่อเนื่อง และทำงานแทนกันได้ 3) จัดแบ่ง Storage แบบ 4 Tier 4) การบริหารจัดการแบบ Virtual Management ตรวจสอบการทำงานของ SQL อาทิ SQL Server Availability, SQL Memory 5) การบริหารจัดการแบบ Server Consolidation และ Cloud Management Software • Virtualization Technology • Centralization Management

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

หัวข้อ “มารู้จัก MJU Private Cloud กันเถอะ”

วันที่ 9 กันยายน 2558 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

-----------------------------

          ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “มารู้จัก MJU Private Cloud กันเถอะ” เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคุณอำนวย คุณวุฒิพล คล้ายทิพย์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ ผู้นำกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากร ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวทางการประยุกต์ใช้ MJU Private Cloud ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการจัดทำระบบคลาวด์ส่วนตัวขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ อันเป็นภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเดิมเป็นการบริหารจัดการโดยผ่านเครื่องแม่ข่าย ที่ตั้งอยู่ภายในห้องบริการเครื่องแม่ข่าย บริเวณ ชั้น 1 อาคารศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันประกอบด้วยตู้ Rack Server จำนวน 16 ตู้ รวมเครื่องให้บริการสารสนเทศ ทั้งสิ้น 60 รายการ  เฉพาะของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่รวมเครื่องให้บริการสารสนเทศ ที่กระจายอยู่ตามคณะ/สำนัก หรือหน่วยงานอื่นๆ ในอนาคตความต้องการทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลอุปกรณ์ที่สูงขึ้นด้วย ทั้งในด้านการบริหารจัดการเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ปลอดภัย ในระบบสำรองข้อมูลอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการวางแผนบริหารจัดการ ที่ต้องคำนึงถึงงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีอยู่จำกัด ตามข้อเท็จจริงที่มหาวิทยาลัยต้องเผชิญ ดังนี้

1)    มหาวิทยาลัย ต้องมีการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว และเติบโตอย่างรวดเร็ว ในลักษณะที่เรียกว่า Data Center ที่มีข้อมูลมหาศาล

2)   มหาวิทยาลัย ต้องมีการลงทุนจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลและให้บริการต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นงบประมาณการลงทุนในด้านเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากข้อมูลมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีการพัฒนาระบบหรือแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยตามภารกิจมากขึ้น รวมถึงมีการบำรุงรักษาระบบ การซ่อมบำรุงและจัดซื้อทดแทนอุปกรณ์ชำรุดต่างๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายมูลค่าสูงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

3)   งบประมาณในการจัดหาเทคโนโลยีด้าน ICT มีจำกัด ในขณะที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

4)   ไม่สามารถระบุ Spec   ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้บริการสารสนเทศได้อย่างชัดเจน เนื่องจากแปรผันตามความต้องการ และระบบมีการพัฒนาในมหาวิทยาลัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบมีความต้องการหน่วยความจำ ความเร็ว ที่สูงขึ้น

5)   ซอฟต์แวร์มีช่องโหว่และส่งผลกระทบต่อระบบในภาพรวม

6)   ข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การประมวลผลของระบบช้าลง

7)   สิ่งแวดล้อมของห้องให้บริการเครื่องแม่ข่ายที่ติดตั้งตามคณะ/สำนัก ไม่เหมาะสม

          ดังนั้นการมีเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ช่วยในการบริหารจัดการ และลดค่าใช้จ่าย จะเป็นทางออกที่ดี ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้นำเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Cloud Computing เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและยังช่วยลดค่าใช้จ่ายลงทุน รวมถึงการบำรุงรักษา การประหยัดพลังงานและพื้นที่ในการติดตั้งระบบ

          ทั้งนี้การนำเทคโนโลยี Cloud Computing เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการนั้น เพื่อให้การบริการระบบสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเรียกออกมาใช้งานได้ตลอดเวลา แบบ AnyWhere AnyTime AnyDevice โดยอาศัยการทำงานผ่าน Browser และระบบอินเทอร์เน็ต นั้น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการศึกษาค้นคว้า เพื่อการดำเนินงานวางระบบ MJU Private Cloud ขึ้น โดยหลักการทำงานผ่าน Cloud Computing เป็นการจัดสรรทรัพยากรของระบบ IT ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่เหมือนกันแต่สามารถใช้งานร่วมกันได้ รวมทั้งสามารถบริหารจัดการระบบทั้งหมดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานได้อย่างเนื่อง

 โดย Cloud Computing สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ตามลักษณะของ Infrastructure คือ

1)    Public cloud จะรันและให้บริการบน Cloud’s servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ให้บริการ ได้แก่ Salesforce Google Office365 OfficeAbilty OokBee Builk เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้บริการต่างๆ จะเข้าไปใช้บริการ Application หรือ Service ที่ต้องการได้ตามที่ผู้ให้บริการได้เปิดให้ใช้บริการ Application หรือ Service นั้น

2)   Private cloud จะรันและให้บริการบน servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ใช้บริการเอง หรือเปิดให้ใช้เฉพาะผู้ใช้บริการรายนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้ควบคุมและจัดการระบบเอง ซึ่งผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้ง, Setup และ Support เท่านั้น

3)   Hybrid cloud จะประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมที่เกิดจากผู้ให้บริการหลาย ๆ แหล่งทั้ง Private cloud และ Public cloud โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบเอ็นเตอร์ไพรส์ หรือเน้นทางด้านกิจกรรมต่าง ๆ

          บริษัทผู้ให้บริการ Cloud Computing ได้แก่

1)       SalesForce

2)      Google

3)      Office365

4)      OfficeAbility

5)      OokBee

6)      Builk

App Public Cloud ได้แก่

1)       Droxbox

2)      Youtube

3)      Gmail

4)      iCloud

          ซึ่งจากการศึกษาข้อดีของการบริหารจัดการด้วยระบบ Cloud Computing มหาวิทยาลัย ได้รับประโยชน์ดังนี้

1)       ไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในราคาสูง

2)      สามารถจ่ายเงินตามการใช้ทรัพยากรจริง

3)      รองรับระบบและข้อมูลขนาดใหญ่ รวมถึงลดการใช้งานที่ซ้ำซ้อน

4)      สามารถใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์

5)      ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษา

6)      สามารถใช้เทคโนโลยีล่าสุดได้

การศึกษาข้อด้อยของการบริหารจัดการด้วยระบบ Cloud Computing มีดังนี้

1)       ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไม่ได้อยู่ในความดูแล แต่บริหารจัดการบน Cloud

2)      ค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงได้จามการใช้งาน

3)      ข้อมูลต่างๆ ถูกเก็บไว้ที่ผู้ให้บริการ

4)      ความเสี่ยงในเรื่องความมั่นปลอดภัย

ความเสี่ยงที่อาจได้พบในการใช้บริการ Cloud Computing

1)       การเลือกใช้บริการจากบริษัทผู้ให้บริการที่ไม่มีความมั่นคง ผู้ใช้บริการอาจพบความเสี่ยงต่อการเข้าถึงระบบไม่ได้ หรือ ข้อมูลสูญหาย หรือ ข้อมูลถูกขโมยได้

2)      การถูกล๊อคระบบ ไม่ให้เข้าใช้บริการ โดยผู้ให้บริการ

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้บริการจากบริษัทผู้ให้บริการ Cloud Computing

1)       การพิจารณาด้านความมั่นคงปลอดภัยและการรักษาสิทธิส่วนบุคคล

2)      ระบบตรวจสอบและป้องกันด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

3)      ระบบการสำรองข้อมูล

4)      ด้านงบประมาณในการเช่าซื้อบริการจากบริษัทให้บริการ

5)      ความสามารถในการรองรับการขยายโครงสร้างของระบบในอนาคต

          แนวคิดในการบริหารจัดการแบบ Private Cloud ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการศึกษาและเตรียมทรัพยากร เพื่อติดตั้ง MJU Private Cloud โดยคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ดังนี้

1)       การพิจารณาความเสี่ยงขององค์กร และข้อมูลที่มีความลับ

2)      การพิจารณาด้านความพร้อมของ Data Center

3)      การเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อสนับสนุนการใช้งานผ่าน Mobility

4)      การตัดสินใจเลือก Application  ที่ทำงานบน Cloud Computing

5)      การเตรียมความพร้อมการดำเนินการด้านความปลอดภัยและการตรวจสอบความมั่นคงด้านสารสนเทศ

6)      การกำหนด Service Level Agreement (SLA) ที่เหมาะสม

7)      การพัฒนาบุคลากร

Application ที่เหมาะในการใช้บริการ Cloud

1)       Backup – DR Site

2)      งานวิจัยและพัฒนา ที่ต้องการใช้ระบบประมวลผลขยายใหญ่

3)      ระบบการเรียนการสอน

4)      โครงการนักศึกษา

          ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมในการวางแผนติดตั้งระบบ MJU Private Cloud แล้วนั้น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการวางโครงสร้างเพื่อให้บริการ MJU Private Cloud  ดังนี้

1)       จัดสรรทรัพยากรโครงสร้างระบบให้สามารถรองรับการให้บริการ 5 ปี

2)      ใช้ Flex System จำนวน 4 ตัว ทำหน้าที่ Cluster Hyper V เพื่อให้การทำงานของระบบ สามารถประมวลผลได้อย่างต่อเนื่อง และทำงานแทนกันได้

3)      จัดแบ่ง Storage แบบ 4 Tier

4)      การบริหารจัดการแบบ Virtual Management ตรวจสอบการทำงานของ   SQL อาทิ SQL Server Availability, SQL Memory

5)      การบริหารจัดการแบบ Server Consolidation และ Cloud Management Software

  • Virtualization Technology
  • Centralization Management

          ลำดับขั้นตอนการขอใช้บริการ MJU Private Cloud

1)       ผู้ใช้/หน่วยงานขอใช้ระบบผ่าน Web

2)      ผู้ดูแลระบบพิจารณาความพร้อม ความจำเป็น และวัตถุประสงค์การขอใช้บริการ

3)      ระบบแจ้งเตือนผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติการขอใช้งานระบบผ่านระบบอีเมลล์

4)      หากได้รับการอนุมัติ ผู้ใช้/หน่วยงาน สามารถเข้าใช้งานผ่าน Remote Desktop Connection

5)      เครื่อง VM ทุกเครื่องจะได้รับการตรวจสอบดูแลการใช้งาน (Monitoring)

ระบบที่มีการให้บริการผ่านระบบ MJU Private Cloud

1)       การให้บริการระบบอีเมลล์นักศึกษา โดยเริ่มใช้กับนักศึกษารหัส 58 บริหารจัดการร่วมกับ Office 365

2)      SAN Backup

3)      Virtual Desktop (VDI)

4)      MS Lync 2013 ระบบการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการติดตั้งเครื่องให้บริการเอง แตกต่างจาก Skype ที่ใช้เครื่องให้บริการจากภายนอกมหาวิทยาลัย

การเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ มีดังนี้ 

1)         มีหน่วยงานขอใช้บริการเพิ่ม โดยสำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการการเกษตร สนใจใช้ระบบสื่อสารด้วย LYNC

2)        การใช้ระบบสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (MS Lync 2013) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในมหาวิทยาลัย โดยสามารถกำหนดการโอนสายเข้าระบบมือถือได้ โดยการประสานงานกับงานโทรศัพท์ กองสวัสดิการ การโทรเข้า-ออก ผ่าน MS Lync 2013 ด้วยเลขหมาย 5 หลัก ขึ้นต้นด้วย 8 หรือค้นหารายชื่อด้วย e-Mail รองรับการติดต่อผ่านระบบ 3 G, มือถือ, ระบบโทรศัพท์สายใน 4 หลัก เข้าสู่ระบบได้ครั้งละ 250 คน และขึ้นจอได้ครั้งละ 5 คน

สิ่งที่ทำได้ดี 

ระบบติดตั้งเสร็จและเริ่มให้บริการเรียบร้อยแล้ว  และทำการผนวกอีเมลล์นักศึกษารหัส 58 เข้ากับ Office365

อ่านเพิ่มเติมได้ที่

-        https://sites.google.com/site/korwten/index

-        http://about.sogoodweb.com/ArticleInfo.aspx?ArticleTypeID=184&ArticleID=292

-        https://sites.google.com/site/suwandee15510/-cloud-computing/prapheth-khxng-cloud-computing

 

ถอดบทเรียนโดย นางสาวณัฐกฤตา โกมลนาค

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=428
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง » Assignment in Microsoft Teams
การมอบหมายงาน (Assignment ) สำหรับนักศึกษาในห้องเรียน ระบบ Microsoft Teams สร้างความสะดวกในการมอบหมายงานให้กับนักศึกษา การส่งงาน และสามารถให้คะแนนนักศึกษาแต่ละคนในห้องเรียน สำหรับผู้ที่อยู่ในสถาบัน...
Assignment  Microsoft Teams  การมอบหมายงาน  การให้คะแนน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 26/3/2567 18:01:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 14:42:04   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » Google Sites สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
Google Sites คือโปรแกรมหนึ่งของ บริษััท Google ที่เปิดให้ สมาชิกของ Google สามารถ สร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ฟรี โดยการสร้างเว็บไซต์ ด้วย Google Sites นั้น ทำได้ง่าย เหมือนกับการแก้ไข เอกสารธรรมดา ๆ ช...
Google Sites  เว็บไซต์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 11/3/2567 17:19:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 21:22:27   เปิดอ่าน 228  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา CLOs ผ่าน มคอ.3
หัวข้อนี้เน้น การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทางและทักษ...
CLO  ELO  PLO     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:45:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 23:37:03   เปิดอ่าน 351  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน
การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความ...
Canva  Kahoot  Nearpod  Plicker  Quizizz  Storyboard  Visme  Voxer     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:01:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 0:13:00   เปิดอ่าน 248  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง