การพัฒนาอุปกรณ์และบริการInternet of Things (IoT) บนแฟรตฟอร์ม NETPIE
วันที่เขียน 13/7/2561 9:18:48     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 20:10:21
เปิดอ่าน: 6888 ครั้ง

NETPIE เป็น IoT (Internet of Things) Cloud Platform ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงานวิจัย และเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้งานโดยมี Web Portal ที่ให้สามารถลงทะเบียนและจัดการตัวตนและสิทธิของแอปพลิเคชั่นและอุปกรณ์ได้ที่เว็บไซต์ https://netpie.io อีกทั้ง NETPIE เป็น Middleware ที่มีหัวใจหลัก (นอกเหนือจากส่วนอื่นๆ) เป็น Distributed MQTT brokers ซึ่งเป็นเสมือนจุดนัดพบให้สิ่งต่างๆ (Things) มาติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันผ่านวิธีการส่งข้อความแบบ Publish/Subscribe รวมถึง NETPIE มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมเป็นคลาวด์อย่างแท้จริงในทุกองค์ประกอบ ทำให้สามารถขยายตัวได้อย่างอัตโนมัติ (Auto-scale) สามารถดูแลและซ่อมแซมตัวเองได้อัตโนมัติเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดในระบบมีปัญหา (Self-healing, Self-recovery) โดยไม่ต้องพึ่งผู้ดูแลระบบ การบริหารจัดการระบบเป็นแบบ Plug and Playไม่ต้อง Configure หรือปรับแต่ง ในฝั่งอุปกรณ์ NETPIE มี Client Library หรือที่เรียกว่า Microgear ซึ่งทำหน้าที่สร้างและดูแลช่องทางสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับ NETPIE รวมไปถึงรักษาความปลอดภัยในการส่งข้อมูล Microgear เป็น Open Source และสามารถดาวน์โหลดได้จาก https://github.com/netpieio โดย ณ ปัจจุบันมี Microgear สำหรับ OS และ Embedded Board หลักๆ ที่เป็นที่นิยมในหมู่นักพัฒนาเกือบทุกชนิด

NETPIE คือ

 

●แพลตฟอร์ม IOT ที่ให้บริการสื่อสารแบบ real-time

●มีบริการเก็บข้อมูลบน cloud

●มีระบบแสดงผลข้อมูลด้วย dashboard ที่ปรับแต่งได้
●มี library แบบ open-source
●รองรับการเขียนโปรแกรมหลายภาษา
Client Library

 

●Client library ของ NETPIE มีชื่อเรียกว่า Microgear library
●มีหน้าที่ให้บริการหลักๆ 4 อย่าง

✔ Authorization

✔ Authentication

✔ Communication

✔ Coordination

 

มองจากด้านใน
●Device ทำการ authenticate ด้วย key+secret ผ่านโปรโตคอล HTTP/HTTPS ได้ access token
●Device อ้างอิงถึงกันด้วย ALIAS
●Device สื่อสารถึงกันด้วยโปรโตคอล MQTT
●อาจมองว่า microgear library เป็นตัวกลางนำไปสู่บริการของ NETPIE


ประโยชน์ของ
NETPIE

 

 

1. ช่วยลดการใช้ทรัพยากรของการเชื่อมต่อ

NETPIE ช่วยให้อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันได้โดยผู้ใช้ไม่ต้องกังวลว่า อุปกรณ์นั้นจะอยู่ที่ใด เพียงแค่นำ Microgear Library ไปติดตั้งในอุปกรณ์ NETPIE จะรับหน้าที่ดูแลเชื่อมต่อให้ทั้งหมด ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะอยู่ในเครือข่ายชนิดใด ลักษณะใด หรือแม้กระทั่งเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใด ผู้ใช้สามารถตัดปัญหาในการเข้าถึงอุปกรณ์จากระยะไกล (Remote Access) ด้วยวิธีการแบบเดิมๆ เช่น การใช้ Fixed Public IP Address หรือการตั้ง Port Forwarding ในเราท์เตอร์และการต้องไปลงทะเบียนกับผู้ให้บริการ Dynamic DNS ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความยุ่งยาก ลดความยืดหยุ่นของระบบ ไม่เพียงเท่านั้น NETPIE ยังช่วยให้การเริ่มต้นใช้งานเป็นไปโดยง่าย โดยออกแบบให้อุปกรณ์ถูกค้นพบและเข้าสู่บริการโดยอัตโนมัติ (AutomaticDiscovery, Plug-and-Play)

2. ช่วยลดภาระด้านความปลอดภัยของข้อมูล

NETPIE ถูกออกแบบให้มีระดับและสิทธิในการเข้าถึงในระดับ Fine Grain กล่าวคือผู้ใช้สามารถออกแบบได้เองทั้งหมดว่า สิ่งใดมีสิทธิคุยกับสิ่งใด สิ่งใดมีสิทธิหรือไม่-เพียงใดในการอ่านหรือเขียนข้อมูลและสิทธิเหล่านี้จะมีอายุการใช้งานนานเท่าใด หรือจะถูกเพิกถอนภายใต้เงื่อนไขใด เป็นต้น

3. ยืดหยุ่นต่อการขยายระบบ

NETPIE มีสถาปัตยกรรมเป็นคลาวด์เซิร์ฟเวอร์อย่างแท้จริงในทุกองค์ประกอบของระบบ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูงในการขยายตัว นอกจากนี้โมดูลต่างๆ ยังถูกออกแบบให้ทำงานแยกจากกันเพื่อให้เกิดสภาวะ Loose Coupling และสื่อสารกันด้วยวิธี Asynchronous Messaging ช่วยให้แพลตฟอร์มมีความน่าเชื่อถือได้สูง นำไปใช้ซ้ำและพัฒนาต่อได้ง่าย ดังนั้นผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องกังวลกับการขยายตัวเพื่อรับโหลดที่เพิ่มขึ้นในระบบอีกต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=810
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
เผยแพร่ผลงานวิจัย » Food Innovation Asia Conference 2023 “The Future Food for Sustainability, Health and We-bong
นำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ในหัวข้อ The Nutrition Value and Antioxidation Activity of Thai Chia Seed ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต นอกจากนี้ยังได้รับฟังการบรรยายจาก...
Food Innovation Asia Conference 2023     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 18/9/2566 10:51:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 7:44:46   เปิดอ่าน 343  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง