การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา CLOs ผ่าน มคอ.3
วันที่เขียน 18/11/2566 23:45:59     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:04:17
เปิดอ่าน: 1121 ครั้ง

หัวข้อนี้เน้น การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทางและทักษะทั่วไป - Program Learning Outcomes (PLOs) สิ่งที่หลักสูตร ต้องการ/คาดหวัง ให้บัณฑิตเป็น เมื่อเรียนครบตามโปรแกรม ของหลักสูตร - Course Learning Outcomes (CLOs) สิ่งที่รายวิชา ต้องการ/คาดหวัง ให้นิสิตได้รับ เมื่อเรียนครบตามเนื้อหา ของรายวิชา

คณะ

วิทยาศาสตร์

สาขาวิชา

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาเขต

เชียงใหม่

ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา

2/2566

ปรัชญามหาวิทยาลัยแม่โจ้

มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา  อดทน  สู้งาน  เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

 

ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างปัญญา ในรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่บูรณาการกับการทำงานตามอมตะโอวาท งานหนักไม่เคยฆ่าคน มุ่งให้ผู้เรียน มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถพัฒนาทักษะเดิม สร้างเสริมทักษะใหม่ มีวิธีคิดของการเป็นผู้ประกอบการ  มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร มีความตระหนักต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ยึดมั่นในความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ตามจุดยืนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ว่า มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต

 

ปรัชญาหลักสูตร

จัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม เรียนรู้จากการปฏิบัติที่บูรณาการกับการทำงาน มุ่งให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านวิชาการและวิชาชีพทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีวิธีคิดของการเป็นผู้ประกอบการ มีความตระหนักต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ตามจุดยืนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

หมวดที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป

 

1.ชื่อวิชา

วิศวกรรมซอฟต์แวร์

2.รหัสวิชา

10301225      

3.จำนวนหน่วยกิต

 3 (2-3-5)  (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

4.หลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

5.ประเภทหลักสูตร

  วิชาเฉพาะ  เอกบังคับ  

6.ข้อกำหนด

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (pre-requisite)

รหัสวิชา  ไม่มี

7.ผู้สอน

ดร. สมนึก สินธุปวน (ผู้ประสานงานรายวิชา)  อลงกต กองมณี

8.การแก้ไขล่าสุด

ภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา 2566

9.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

ภาคทฤษฎี

30 ชั่วโมง

ภาคปฏิบัติ

45 ชั่วโมง

การศึกษาด้วยตนเอง

75 ชั่วโมง

ทัศนศึกษา/ฝึกงาน

-

ชั่วโมง

               

 

หมวดที่ 2: คำอธิบายรายวิชา

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา (Course Learning Outcomes : CLOs) 

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถ อธิบายทฤษฎีหลักการและกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานได้

2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์หรือสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบเว็บไซต์ได้

3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถสื่อสาร พร้อมทั้งนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม

 

คำอธิบายรายวิชา

การวิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์เบื้องต้น บทบาทและคุณสมบัติของทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ วัฏจักรของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตัวแบบกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ การทดสอบซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เอกสารการพัฒนาซอฟต์แวร์ มาตรฐานไอเอสโอ

Introduction to software analysis and design; Role and property of software development teams; Software development life cycle; Software development process models, Software testing, Computer-aided software engineering (CASE); Software development documentation, ISO standard.

 

หมวดที่ 3: การปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะจาก มคอ.5

ข้อเสนอแนะ

การปรับปรุง

เนื่องจากเป็นรายวิชาเปิดใหม่ จึงยังไม่มีการปรับปรุงเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการ วัดประเมินผล

-           

 

หมวดที่ 4: ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

4.1) นักศึกษาต้องรับผิดชอบเข้าเรียนทุกครั้ง หากมีความจำเป็นต้องขาดเรียนให้แจ้งอาจารย์ผู้สอนทราบล่วงหน้า หรือหากขาดเรียนอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยให้นำใบรับรองแพทย์มาแสดง มิฉะนั้นจะถูกหักคะแนนจากคะแนนรวม ร้อยละ 5 ต่อครั้ง

4.2) นักศึกษาต้องรับผิดชอบส่งงานตรงตามกำหนดเวลา หากส่งงานล่าช้าจะถูกหักคะแนนจากคะแนนรวม ร้อยละ 5 ต่อครั้ง

4.3) นักศึกษาต้องไม่คัดลอกหรือทำซ้ำความคิดงานของผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการประเมินในผลงานนั้นๆ และส่งผลให้การประเมินในผลงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันเป็นโมฆะด้วย

4.4) นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในทุกการสอบของรายวิชานี้ หากพบว่ามีการทุจริต ดำเนินการตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ประกาศใช้ ณ ขณะนั้น

 

หมวดที่ 5: ความสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLO)

 

PLO 

รายละเอียด PLO 

Specific 

Generic 

PLO1 

อธิบายหลักการ ทฤษฎีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์  ได้อย่างถูกต้อง ทันสมัย และเรียนรู้เข้าใจองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง 

/

 

PLO2 

คิด วิเคราะห์ปัญหาและเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ (Systematic Thinking)  ได้อย่างเหมาะสม 

/

 

PLO3 

สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์หรือสร้างสรรค์ผลงานวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือประยุกต์องค์ความรู้ไปบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่นได้ 

 

 

PLO4 

มีทักษะทางสังคม ทักษะการสื่อสาร ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางอาชีพ 

/

 

 

รายวิชา

PLO 1

PLO 2

PLO 3

PLO 4

10301225 วิศวกรรมซอฟต์แวร์

/

/

 

/

 

การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning)

เน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ ทักษะชีวิต และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning) ซึ่งแต่ละทักษะประกอบไปด้วย ทักษะย่อยดังนี้

  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ได้แก่ การแก้ไขปัญหา
  • ทักษะสารสนเทศ ได้แก่ การจัดการข้อมูล
  • ทักษะอาชีพ ได้แก่ การหมั่นหาความรู้รอบด้าน

Life-long Learning

รายละเอียด

การพัฒนาทักษะ

L1

Creativity ความคิดสร้างสรรค์

 

L2

Problem Solving การแก้ปัญหา

/

L3

Critical Thinking การคิดเชิงวิพากษ์

 

L4

Leadership การเป็นผู้นำ

 

L5

Communication การสื่อสาร

/

L6

Collaboration การประสานงาน

/

L7

Information Management การจัดการข้อมูล

 

L8

Adaptability การปรับตัว

 

L9

Curiosity ความอยากรู้อยากเห็น

 

L10

Reflection การสะท้อนทักษะความรู้

 

 

อื่น ๆ ..............................................

 

 


หมวดที่ 6: ความเชื่อมโยงผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLO) สู่ระดับรายวิชา (CLO)

 

PLO / CLO

PLO1

PLO2

PLO3

PLO4

CLO1

/

/

 

 

CLO2 

 

/

 

 

CLO3 

 

 

 

/

 

หมวดที่ 7: แผนการสอนและการประเมินผล

  1. แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวน*  (ชั่วโมง)

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการเรียนรู้ที่ใช้

ผู้สอน

1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ Software Engineering Fundamental

5

บรรยาย อภิปราย ปฏิบัติการ และแบบทดสอบ

เอกสารประกอบคำบรรยาย PowerPoint MS-Team

อลงกต

กองมณี

 

2

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ Software Development Process

5

บรรยาย อภิปราย ปฏิบัติการ และแบบทดสอบ

เอกสารประกอบคำบรรยาย PowerPoint MS-Team

3

การบริหารโครงการซอฟต์แวร์

Software Project Management

5

บรรยาย อภิปราย และปฏิบัติการ โดยตัวอย่างการใช้งานพื้นฐาน

เอกสารประกอบคำบรรยาย PowerPoint MS-Team

4-7

การควบคุมเวอร์ชัน

(Version control)

15

บรรยาย อภิปราย และปฏิบัติการ โดยตัวอย่างการใช้งานพื้นฐาน

เอกสารประกอบคำบรรยาย PowerPoint MS-Team

สมนึก

สินธุปวน 

8

สอบกลางภาค

3

-

 

 

9

การออกแบบซอฟต์แวร์

Software Design

5

บรรยาย อภิปราย และปฏิบัติการ โดยตัวอย่างการใช้งานพื้นฐาน

เอกสารประกอบคำบรรยาย PowerPoint MS-Team

อลงกต

กองมณี

 

10

การออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์

Software Architected Design

5

บรรยาย อภิปราย และปฏิบัติการ โดยตัวอย่างการใช้งานพื้นฐาน

เอกสารประกอบคำบรรยาย PowerPoint MS-Team

11

การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้

User Interface Design

5

บรรยาย อภิปราย และปฏิบัติการ โดยตัวอย่างการใช้งานพื้นฐาน

เอกสารประกอบคำบรรยาย PowerPoint MS-Team, ซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบ

12

การวางสถาปัตยกรรมของระบบ

Microservice

5

13-15

การทดสอบซอฟต์แวร์

Software Testing

15

บรรยาย อภิปราย และปฏิบัติการ โดยตัวอย่างการใช้งานพื้นฐาน

เอกสารประกอบคำบรรยาย PowerPoint MS-Team

สมนึก

สินธุปวน

16

สอบปลายภาค

3

-

 

 

 

  1. 2. ความสอดคล้องระหว่างการประเมินผล วิธีการสอน และผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLO)

การประเมิน

 (Performance Assessment) 

วิธีการสอน

(Teaching and Learning)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLOs)

คะแนนจากแบบทดสอบสัมฤทธิ์ผล (ข้อสอบ)

þ ทดสอบย่อย (Quiz)

þ ทดสอบกลางภาค (Midterm)

þ ทดสอบปลายภาค (Final)

คะแนนจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย (Performance) โดยใช้เกณฑ์ Rubric Score การทำงานกลุ่มและเดี่ยว

¨ การทำงานเป็นทีม (Team Work)

þ โปรแกรม ซอฟต์แวร์

¨ ผลงาน ชิ้นงาน

¨ รายงาน (Report)

þ การนำเสนอ (Presentation)

¨ แฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

¨ รายงานการศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study Report)

คะแนนจากผลการพฤติกรรม

þ  ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม

þ  ประเมินผลการงานที่ส่ง

 

On-site โดยมีการเรียนการสอนแบบ

þ บรรยาย (Lecture)

þ ฝึกปฏิบัติ (Laboratory Model)

þ เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing)

¨ การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-based Learning)

¨ การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Learning))

¨ ถามตอบสะท้อนคิด (Refractive Learning)

¨ นำเสนออภิปรายกลุ่ม (Discussion Group)

¨ เรียนรู้จากการสืบเสาะหาความรู้( Inquiry-based Learning)

¨ การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning)

¨ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning)

¨ การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project-based Learning: PBL)

þ การเรียนรู้ใดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) วิเคราะห์โจทย์ปัญหา (Problem Solving)

þ เรียนรู้การตัดสินใจ (Decision Making)

¨ ศึกษาค้นคว้าจากกรณีศึกษา (Case Study)

¨ เรียนรู้ผ่านการเกม/การเล่น (Game/Play Learning)

¨ ศึกษาดูงาน (Field Trips)

¨ อื่น ๆ…………………………………….

Online โดยมีการเรียนการสอนแบบ

þ บรรยาย (Lecture)

¨ ถามตอบ (Ask and Question Model)

¨ สะท้อนคิด (Refractive Learning)

On-self โดยมีการเรียนการสอนแบบ

þ E-learning

CLO1

CLO2

CLO3

 

 

3) กลยุทธ์การประเมิน 

กลยุทธการประเมิน/เครื่องมือการประเมิน 

CLO 

สัดส่วน 

ชิ้นงาน โปรแกรม: การฝึกปฏิบัติ, วิเคราะห์โจทย์ปัญหา (ใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบ Rubrics) 

CLO1. CLO2 

60% 

พฤติกรรม: การเข้าร่วม มีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความเห็นในชั้นเรียน (แบบตรวจสอบรายการ หรือ Check list) 

CLO3 

10% 

ผลงาน: ค้นคว้า จัดทำรายงาน การนำเสนอรายงาน  (ใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบRubrics) 

CLO1. CLO2. CLO3 

30% 

รวมทั้งสิ้น 

 

100% 

 

 

หมวดที่ 8: สื่อการเรียนรู้และงานวิจัย

  1. 1. สื่อการเรียนรู้และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
  • ห้องเรียน/ห้องทำงานกลุ่ม

คณะวิทยาศาสตร์

  • หนังสือ ตำรา และทรัพยากรห้องสมุด
  1. Timothy C. Lethbridge and Robert Laganière, Object-Oriented Software Engineering Practical software development using UML and Java, Second edition, McGraw-Hill
  2. DOUGLAS BELL, Software Engineering for Students, A Programming Approach, Fourth Edition(2005) , Addison-wesley.
  3. Dan Pilone and Russ Miles, Head First Software Development, O’Reilly Media, Inc.
  4. Ian Sommerville, SOFTWARE ENGINEERING, Ninth Edition, Addison-Wesley
  5. น้ำฝน อัศวเมฆิน, หลักการพื้นฐานของวิศวกรรมซอฟต์แวร์, ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2558
  • ห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์

คณะวิทยาศาสตร์

  • เทคโนโลยีสารสนเทศ และ e-learning
  • การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย
  • การมีทางเลือกเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning)
  1. 2. งานวิจัยที่นำมาสอนในรายวิชา

            ระบบบริหารบุคคลสำหรับสหกรณ์ออมทรัพย์ (Personnel Management System for Savings

Cooperative) Received: 21 เม.ย. 2566 Revised: 4 พ.ย. 2566 Accepted: 6 พ.ย. 2566 วารสารแม่โจ้

เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2567 โดยมีผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย

อลงกต กองมณี, ศิลาดล ประคองธนพันธุ์, สรสิช ไชยราษฎร์, สมนึก สินธุปวน* และ ภานุวัฒน์เมฆะ สาขาวิทยาการ

คอมพิวเตอร์คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  1. การบริการวิชาการ

นำประเด็นความรู้จากการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของ นายสมนึก สินธุปวน งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IEEE Region 10 Technical Conference (TENCON) 2023 ในระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ถึง 3 พฤศจิกายน 2566 ใน Session AI in ICT 2 เข้ามาร่วมเป็นกรณีศึกษาในระหว่างการเรียนการสอน เพื่อร่วมกัน ถก วิเคราะห์ และร่วมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ ในเชิงสร้างสรรค์

หมวดที่ 9: เกณฑ์การประเมินผล

ระดับผลการศึกษา

ช่วงคะแนน

A

80% ขั้นไป

B+

75 – 79%

B

70 – 74%

C+

65 – 69%

C

60 – 64%

D+

55 – 59%

D

50 – 54%

F

ต่ำกว่า 50%

 

หมวดที่ 10: รูบริค (Rubric) และเกณฑ์การให้คะแนน (Marking Scheme)

  1. การประเมินผล

1.1. รายละเอียด 

ก. การประเมินปฏิบัติงาน (Performance) ได้แก่ ผลการปฏิบัติที่แสดงออกได้ วิธีการค้นคว้า ประเมินการนำเสนอ รายงานปากเปล่า การอภิปราย การสาธิต การตอบคำถามฯลฯ   

ระดับ 

คำอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนรูบริคของการปฏิบัติงาน 

5 (ดีมาก) 

แสดงถึงความเข้าใจปัญหา มีความคิดริเริ่มในการออกแบบการทดลองและเทคนิควิธีต่าง ๆ จนผลการปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ การนำเสนอรายงานเป็นลำดับดี 

4 (ดี) 

แสดงถึงความเข้าใจปัญหา สามารถออกแบบการทดลองและเทคนิควิธีต่าง ๆ จนผลการปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ การนำเสนอรายงานเป็นลำดับดี 

3 (พอใช้) 

แสดงถึงความเข้าใจปัญหา การออกแบบและเทคนิควิธียังไม่ถูกต้อง งานประสบความสำเร็จบางส่วน การนำเสนอรายงานเป็นลำดับ 

2 (ต้องปรับปรุง) 

เข้าใจปัญหาแต่ใช้เวลานามมาก ต้องอาศัยการแนะนำในการออกแบบการทดลองมีความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ต้องได้รับคำแนะนำในการเขียนรายงาน 

1 (คุณภาพต่ำ) 

ไม่เข้าใจปัญหา การออกแบบและกรทดลองใช้เทคนิคไม่ถูกวิธี ปฏิบัติงานได้แต่ไม่สมบูรณ์ การเขียนรายงานต้องช่วยเหลืออย่างมาก 

0 (ไม่นำเสนอ) 

ไม่ส่งผลงาน 

 

ข. การประเมินกระบวนการ (Process) ได้แก่ วิธีการ  

ระดับ 

คำอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนรูบริคของกระบวนการ 

5 (ดีมาก) 

มีการวางแผนและออกแบบกระบวนการ ถูกต้องตามหลักการ มีปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง 

4 (ดี) 

มีการวางแผนและออกแบบกระบวนการ ถูกต้องตามหลักการ มีปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่ได้วางแผนไว้ 

3 (พอใช้) 

มีการวางแผนและออกแบบกระบวนการ ถูกต้องตามหลักการ เริ่มปฏิบัติตามขั้นตอน 

2 (ต้องปรับปรุง) 

มีการวางแผนและออกแบบกระบวนการ ยังไม่ถูกต้องตามหลักการ 

1 (คุณภาพต่ำ) 

มีการวางแผน ยังไม่ออกแบบกระบวนการ 

0 (ไม่นำเสนอ) 

ไม่มีผลการปฏิบัติที่แสดงออก  

ค. การประเมินผลผลิตหรือผลงาน (Product) ได้แก่ ประมินชิ้นงาน โปรแกรม: การฝึกปฏิบัติ, ผลการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการจัดทำรายงาน ฯลฯ 

ระดับ 

คำอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนรูบริคของผลผลิตหรือผลงาน 

5 (ดีมาก) 

ผลงานตรงประเด็นและชัดเจน เรียบร้อย สวยงาม สามารถนำไปใช้งานได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ 

4 (ดี) 

ผลงานตรงประเด็นและชัดเจน เรียบร้อย สามารถนำไปใช้งานได้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 

3 (พอใช้) 

ผลงานตรงประเด็นและชัดเจน ยังไม่เรียบร้อย อาจใช้งานได้ 

2 (ต้องปรับปรุง) 

ผลงานได้ตรงประเด็น การจัดยังไม่ชัดเจน อาจใช้งานได้ 

1 (คุณภาพต่ำ) 

ผลงานไม่ตรงประเด็น ไม่มีการจัดที่ชัดเจน เกิดความสับสน ขาดหลักการเหตุผลสนับสนุน 

0 (ไม่มีผลงาน) 

ไม่มีผลงาน 

 

1.2 ผลการเรียนรู้รายวิขาที่แนบมาพร้อมกับการประเมินผลนี้ 

 

1.3 รูบริค (Rubric) และเกณฑ์การให้คะแนน (Marking Scheme) 

เป็นไปตามรูปการประเมินผล ข้อ 1.1) 

 

1.4 การส่งงานและการแจ้งผลการประเมินให้ผู้เรียน 

ตามปฏิทินการศึกษา 2566 

 

หมวดที่ 11: ขั้นตอนการแก้ไขคะแนน

 

นักศึกษาสามารถเข้าพบอาจารย์ผู้สอนเพื่อขอตรวจสอบแก้ไขคะแนนงานที่ได้รับมอบหมายและ/หรือคะแนนสอบด้วยตนเอง  ภายใน 1 สัปดาห์   นับจากวันประกาศผลคะแนน  

ผู้รับผิดชอบรายวิขา/ผู้รายงาน  ดร. สมนึก สินธุปวน  อลงกต กองมณี วันที่ 8  พฤศจิกายน 2566

คำสำคัญ :
CLO  ELO  PLO  
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1403
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:52   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:41   เปิดอ่าน 250  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:22   เปิดอ่าน 98  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง