จากการเข้าร่วมการอบรม โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง "เว็บนำเสนอด้วย Google Sites" จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ผ่านระบบออนไลน์
Google Sites คือโปรแกรมหนึ่งของ บริษััท Google ที่เปิดให้ สมาชิกของ Google สามารถ สร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ฟรี โดยการสร้างเว็บไซต์ ด้วย Google Sites นั้น ทำได้ง่าย เหมือนกับการแก้ไข เอกสารธรรมดา ๆ ชิ้นหนึ่ง ผู้ใช้สามารถปรับแต่งรูป ลักษณ์ของเว็บไซต์ ได้อย่างอิสระ และมีข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ วิดีโอ ปฏิทิน เอกสาร ไฟล์งาน ฯลฯ อีกทั้งยังสามารถกำหนดให้ ผู้อื่นเข้ามาร่วมจัดการเว็บไซต์ร่วมกัน รวมไปถึงสามารถกำหนดให้เว็บไซต์ เป็นส่วนตัวหรือ สาธารณะก็ได้อีกด้วย
ขั้นตอนการสร้าง Google Sites
- วางแผนการจัดทำเว็บไซต์
- การสมัครเข้าใช้งาน Google
- การเตรียมข้อมูลและเตรียมพื้นที่ในการเก็บข้อมูล
- การเลือกใช้บริการ Google Sites
- การสร้างและใส่ข้อมูลเว็บไซต์
- การเผยแพร่เว็บไซต์
1. วางแผนการจัดทำเว็บไซต์
วางแผนการจัดทำเว็บไซต์ โดยการเขียนแสดงแผนผังโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์
2.การสมัครเข้าใช้งาน Google
การสมัครเข้าใช้งาน Google โดยเตรียมข้อมูลส่วนตัว และหมายเลขโทรศัพท์ ในการสมัคร
3. การเตรียมข้อมูลและเตรียมพื้นที่ในการเก็บข้อมูล
- เตรียมข้อมูลต่างๆที่ต้องการนำมาสร้างเว็บไซต์ เช่น เนื้อหา รูปภาพ Banner
- สร้าง Folder ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ใน Google Drive
4. การเลือกใช้บริการ Google Sites ได้ 2 วิธี
5. การสร้างและใส่ข้อมูลเว็บไซต์
1. สร้างหน้าแรก (Homepage) ของเว็บไซต์
1.1 การสร้างส่วนหัว (Header) ของเว็บไซต์ (ได้แก่ ชื่อเว็บไซต์ ชื่อของหน้า แบนเนอร์ โลโก้)
- ชื่อเว็บ คลิก “เว็บไซต์ที่ไม่มีชื่อ” สามารถกำหนดชื่อเว็บไซต์
- ชื่อของหน้า เป็นชื่อของหน้าเพจสามารถกำหนดชื่อ รูปแบบ สี ขนาดของตัวอักษร
- การกำหนดประเภท Banner มีให้เลือก 2 อย่าง คือ “เปลี่ยนรูปภาพ” และ “ประเภทส่วนหัว”
-- การเปลี่ยนพื้นหลัง คลิกที่ “เปลี่ยนรูปภาพ” เลือกไฟล์ภาพจากการ “อัปโหลด”หรือ “เลือกรูปภาพ” ได้ ทั้งนี้ ในการเปลี่ยนพื้นหลังสามารถทำให้ภาพชัดขึ้น โดยการคลิกที่ “รูปดาว 3 ดวง”
-- เลือกที่ “ประเภทส่วนหัว” จะประกอบไปด้วย “หน้าปก” “แบนเนอร์ขนาดใหญ่” “แบนเนอร์” และ “ชื่อเรื่องเท่านั้น” ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกใช้รูปแบบ “แบนเนอร์”
1.2 การสร้างธีม (Theme)
- คลิก “กำหนดเอง” ตั้งชื่อธีม เลือก “เพิ่มโลโก้” และ “เพิ่มรูปภาพแบนเนอร์” โดยคลิก “เครื่องหมาย +” เลือก “อัปโหลด” หรือ “เลือก” รูปภาพที่ต้องการ เพื่อตั้งเป็นรูปโปรไฟล์ และภาพพื้นหลังของเว็บ คลิก “ถัดไป”
- การกำหนดสีของธีม เลือกสีตามต้องการ จากนั้น คลิก “ถัดไป”
- การเลือกแบบอักษร ในส่วนของชื่อเรื่อง และเนื้อหา จากนั้น คลิกที่ “สร้างธีม”
- จะปรากฎหน้าต่างธีม ด้านซ้ายมือ ทั้งนี้สามารถปรับแต่ง แก้ไขรูปแบบได้ตามเมนูด้านล่างขวามือได้
- การเพิ่มรูปภาพในแบนเนอร์ ให้ทำการดับเบิลคลิกที่แบนเนอร์ด้านซ้ายมือ จะปรากฎรูปเมนูแบบวงกลม คลิก “อัปโหลด” ทำการเลือกรูปภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ สามารถย่อ ขยาย เคลื่อนย้ายรูปภาพได้
- การแสดงตัวอย่าง โดยการคลิกรูป “หน้าจอ” เพื่อดูความเหมาะสมตามขนาดหน้าจอ
1.3 การสร้างส่วนเนื้อหา (Content) ของเว็บไซต์ (ได้แก่ เนื้อหาที่สำคัญในหน้าหลัก ได้แก่ ข้อความ รูปภาพ การแทรกภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ แผนภูมิ กราฟ แผนที่ ฯลฯ)
- การออกแบบเอกสาร เลือก “แทรก” เลือกรูปแบบเนื้อหาจากบล็อกเนื้อหา (Layouts) ตามรูปแบบที่ Google Sites กำหนดให้
- เมื่อเลือกรูปแบบแล้ว สามารถแทรกเนื้อหา หรือ รูปภาพ โดยคลิกที่เครื่องหมาย (+) ถ้ารูปอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เลือก “อัปโหลด” ถ้ารูปอยู่ในที่อื่น ๆ หรือที่ออนไลน์ เลือกที่ “เลือกรูปภาพ” หรืออยู่ใน Google Drive เลือกที่ “จากไดร์ฟ”
- การแทรกภาพเคลื่อนไหว วิดีโอแผนภูมิ กราฟ แผนที่ ฯลฯ สามารถใช้ฟังก์ชัน ด้านขวามือในการเพิ่มเติมในเว็บไซต์ได้ อีกทั้งยังสามารถปรับขนาดได้ตามที่ต้องการ
1.4 สร้างส่วนท้าย (Footer)ของเว็บไซต์ (ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลติดต่อของเจ้าของเว็บไซต์)
1.5 ตกแต่งเว็บไซต์ (ได้แก่ การใส่สี การใส่รูปภาพ การเปลี่ยนขนาด/รูปแบบตัวอักษร)
2. การเพิ่มหน้าเพจใหม่ของเว็บไซต์
- คำสั่งหน้าเว็บเพื่อเพิ่มหน้าเว็บใหม่
- กรอกชื่อหน้าเพจใหม่ของเว็บไซต์
- ปรากฏเมนูเพิ่มขึ้น
- การเพิ่มหน้าย่อย
3. การเพิ่มข้อมูลประเภทต่างๆ และการทำงานอื่นๆ
- การเพิ่มปฏิทิน
- การใส่ลิงก์เว็บไซต์
- การเพิ่ม Youtube
- การแสดงตัวอย่างเว็บไซต์
- การเพิ่ม เอกสาร/สไลด์/ชีต/แผนภูมิ
6. การเผยแพร่เว็บไซต์
- การแชร์ใช้งานร่วมกับผู้อื่น เป็นการกำหนดสิทธิ์ผู้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าเว็บไซต์ หรือผู้ที่ทำงานร่วมกัน โดยการคลิกที่ “แชร์กับผู้อื่น” ไปที่ลิงก์ เลือก “เปลี่ยน”เลือกประเภทการเผยแพร่ เช่น สาธารณะ
- ไปที่ เว็บไซต์ที่เผยแพร่ เลือก “สาธารณะ” คลิก “เสร็จสิ้น”
- การเผยแพร่เว็บไซต์ เลือกเมนู “เผยแพร่” จะขึ้นหน้าต่าง “เผยแพร่ไปยังเว็บ” ให้ทำการใส่ชื่อเว็บไซต์ แนะนำให้เป็นชื่อภาษาอังกฤษที่สั้นและเข้าใจง่าย หลังจากนั้น คลิกที่“เผยแพร่”