|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
KM บริการสารสนเทศภาพยนตร์
|
สืบเนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีงบประมาณ 2563 การเติมเต็มความรู้ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 มีการกำหนดให้ประเมินโดยการวัดผลความรู้ก่อนและหลังกิจกรรม (pre-test, post-test) ด้วย ในการเติมเต็มความรู้ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับบริการสารสนเทศภาพยนตร์ นำเสนอในมุมมองผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ไม่ใช่มุมมองผู้ใช้บริการ) ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ และจัดทำฐานข้อมูลภาพยนตร์ทั้งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST และระบบ Elib เสริมด้วยโปรแกรมสืบค้น Film_OPAC จนทำให้คอลเลคชันภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยจัดอยู่ในอันดับ Top 6 ของประเทศ และการลงรายการบรรณานุกรมหรือการจัดทำข้อมูลภาพยนตร์จัดอยู่ในอันดับ Top 1 ของประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถสืบค้นและใช้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้จากระบบ ALIST OPAC (http://opac.library.mju.ac.th) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น Elib + Film_OPAC (https://lib.mju.ac.th/film/)
ในกระทู้ KM นี้นำเสนอเอกสาร pre-test, post-test ที่ใช้ทดสอบ
แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลัง กิจกรรม KM (Pre-test, Post-test)
หัวข้อ บริการสารสนเทศภาพยนตร์
18 พฤศจิกายน 2562
----------------------------------
ชื่อผู้ทดสอบ ……………………………………………………
1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[…] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์
[…] แผนที่ […] ออนไลน์ […] Video on demand
2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ ………………
3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ ……………….. เรื่อง (titles)
4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[…] List รายชื่อและเลขรหัส […] MARC 21 […] RDA […] MetaData […] AACR2
5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ)
[…] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ)
[…] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่
6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
………………………………………. …………………………………………….
………………………………………. …………………………………………….
7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์)
(ตอบได้>1) …………………… ………………… ………………
…………………… …………………. ………………… ………………
…………………… …………………. ………………… ………………
8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1)
…………………… …………………. ………………… ………………
…………………… …………………. ………………… ………………
9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา
ได้จากช่องทาง ……………………. คำค้น …………………………………………….
10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
………………………………………. …………………………………………….
………………………………………. …………………………………………….
------------------------
แนวคำตอบ
1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[./.] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์
[…] แผนที่ [./.] ออนไลน์ [./.] Video on demand
2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ…CDT… [วิชาการ CDA, CDE, CDS]
3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ …3,200.. เรื่อง (titles) [+/- 10% ok]
4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[…] List รายชื่อและเลขรหัส [./.] MARC 21 […] RDA […] MetaData [./.] AACR2
5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ)
[./.] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ)
[…] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่
6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
…OPAC ALIST……………………. … OPAC Film ฐานภาพยนตร์ดีเด่น ………….
…แฟ้มประเภท (genre) ภาพยนตร์ …. … บอร์ดแนะนำ ….…………………………….
7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์)
(basic) ชื่อเรื่อง (+เพิ่ม) ชื่อบุคคล (ผู้กำกับ นักแสดง ฯลฯ) หัวเรื่อง เลขรหัส/หมู่
(add.) ภาพปก เรื่องย่อ ภาพยนตร์ใหม่ ประเภท ประเทศ
รางวัล รายได้ Top 10 การเข้าฉาย ปี ถาม บร.
8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1)
คะแนน Rating กลุ่มผู้ชม บริษัทผู้สร้าง
Keyword (Assigned) รางวัล (+) ชื่อตัวละคร Plot คำคม
Reference การโยง Thesaurus ภาพยนตร์ใกล้เคียง ภาพ Boolean App.
9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา
ได้จากช่องทาง …หัวเรื่อง ………………. คำค้น …บิดา วิกฤติเศรษฐกิจ ถ้ำ ….
10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
1. user interface, design ALIST ค้นสื่อรวมทุกประเภท ; OPAC Film ฐานเฉพาะทาง ค้นง่าย
2. คอลเลคชัน (scope, size) ALIST เฉพาะที่มีในห้องสมุด ; OPAC Film มีนอกเหนือ
3. สถานภาพ Item ALIST เชื่อมกับระบบยืมคืน ; OPAC Film ไม่เชื่อม (พัฒนาได้)
4. อื่นๆ (ระบุ) …………………………………………………………………………………..
------------------------
|
คำสำคัญ :
KM การจัดการความรู้ ฐานข้อมูล ดรรชนี บริการของห้องสมุด ภาพยนตร์ สื่อโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2417
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/11/2562 9:34:01
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
19/11/2567 6:43:34
|
|
|
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา
»
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา
|
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา
ตามหนังสือที่ ศธ ๐๕๒๓.๑.๙.๒/๒๘๓๑ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๒ ได้อนุมัติให้กระผม รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย เดินทางไปปฏิบัติงาน ในวันที่ ๒๔-๒๙ มีนาคม ๒๕๖๒ เพื่อเข้าร่วมประชุมวิชาการ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 7 เรื่อง (ดังตารางลงทะเบียนเอกสารแนบ) ได้แก่
1. เรื่อง Smart Farm : เกษตรไทยยุค 4.0 ในวันที่ 25/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
2. เรื่อง สูตรตำหรับนาโนเพื่อนวัตกรรมอาหารสัตว์ ในวันที่ 26/03/2562 เวลา 09.00-12.00 น.
3. เรื่อง นวัตกรรมจากไข่เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ในวันที่ 26/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
4. เรื่อง จากทรัพยากรชีวภาพสู่การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในวันที่ 27/03/2562 เวลา 09.00-12.00 น.
5. เรื่องการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์และคความต้องการโภชนะสำหรับโคนมไทย ในวันที่ 27/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
6. เรื่อง นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน ในวันที่ 28/03/2562 เวลา 09.00-12.00 น.
7. เรื่องการขอรับมาตรฐานกับ สมอ. ในวันที่ 27/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
และได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในด้านวิชาการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของอุตสาหกรรมที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการบริการในภาคเอกชน ตลอดจนเข้ารวมชมนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรและพัฒนาสังคมไทยให้เข้มแข็ง รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนำไปใช้ให้การเรียนการสอน งานวิจัย หรือการพัฒนาตนเองได้ โดยผลที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนาดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนากระบวนการทำสารเสริมในอาหารสัตว์น้ำในแคปซูล อัลจิเนต-ไคโตซานและกรรมวิธีการผลิต จากการที่ได้งบของ NIA จำนวน 1,180,000 บาท จากสิทธิบัตรเลขที่ 1801004807 จากการนำความรู้ในเรื่องที่ 2 และ 6. คือ เรื่อง สูตรตำหรับนาโนเพื่อนวัตกรรมอาหารสัตว์ และนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน อีกทั้งนำความรู้ในเรื่อง ที่ โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามหลักการ BEDO’s Concept และ สรรหาชุมชนใหม่ : กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ไผ่ และงานฝีมือ ของ BEDO งบ 1,289,000 บาท ในเรื่องที่ 4. เรื่อง จากทรัพยากรชีวภาพสู่การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และยังสามารถนำมาประยุคใช้ในงานขอทุนวิจัย และพัฒนางานวิจัยอื่น ๆ ได้อีก เช่น การศึกษาบทบาทของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกในระหว่างการผลิตสีย้อมห้อมแบบธรรมชาติเพื่อการผลิตสีย้อมแบบยั่งยืน ของ สวทช. งบ 200,000 บาท และ เขียนงานวิจัยขอทุน วช. 2563 เรื่อง ผลของเอนโดไฟติกเเบคทีเรียต่อคุณภาพการให้สีครามของห้อมในพื้นที่จังหวัดเเพร่
|
คำสำคัญ :
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา นวัตกรรมอาหารสัตว์ ซินไบโอติก
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2344
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
1
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐพร จันทร์ฉาย
วันที่เขียน
29/9/2562 16:04:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:34:44
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|