โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "กิจกรรมเสวนาน้ำชากาแฟ (Coffee hour for you)"
หัวข้อ “การให้ความรู้ ในการเขียน Blog KM มหาวิทยาลัยแม่โจ้”
ณ ห้องประชุม 202 ชั้น 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 เวลา 14.00-16.30 น.
-----------------------------------------------------
เว็บไซด์ KM : www.km.mju.ac.th
เนื้อหา
วัตถุประสงค์การพัฒนาระบบ
แรงจูงใจและสิ่งกระตุ้นในการเขียน Blog KM
ประโยชน์ที่ได้จากการเขียน Blog KM
ประเด็นสำคัญที่ใช้ในการเขียน Blog KM
การแบ่งปันและการต่อยอดความรู้
วัตถุประสงค์การพัฒนาระบบ :
เป็นแหล่งรวบรวม สร้างและกระจายความรู้ ให้เกิดการต่อยอด
แรงจูงใจและสิ่งกระตุ้นในการเขียน Blog KM
- ความชอบในการจดบันทึก เปลี่ยนจากการจดในสมุด มาเป็นการบันทึกไว้ในเว็บไซด์ ที่ทำให้สามารถกลับมาอ่านเมื่อไรก็ได้ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ในระบบออนไลน์
- ความชอบในการบอกเล่าให้คนอื่นได้รู้ ในระบบออนไลน์ จึงเป็นช่องทางที่ง่ายต่อการเข้าถึงและสามารถเข้าถึงได้แบบเปิดเผยไม่ต้องเข้า Username
- หาช่องทางการเผยแพร่ความรู้/ผลงานที่อ้างอิงและเข้าถึงได้ง่าย
- ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้เจอ ความทรงจำ ที่อยากเก็บไว้ ค้นเมื่อก็ได้ ไม่สูญหาย ตอบโจทย์การหาสมุดโน๊ตไม่เจอ
- เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ในระบบออนไลน์ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่
- เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อที่มีผู้ให้ความสนใจร่วมกัน หรือ เป็น Hot issue
- เป็นแหล่งอ้างอิงในการเสนอผลงาน รายงานผลการปฏิบัติงาน รวมถึงรายงานผลการเข้าร่วมศึกษาดูงาน ฝึกอบรมสัมมนา
- รู้จักตัวเองก่อน ว่ารู้อะไร สนใจอะไร ไม่รู้อะไรแต่อยากค้นหาคำตอบ
- มีวัตถุประสงค์อะไรในการเขียน เพื่อใคร เพื่ออะไร
ประโยชน์ที่ได้จากการเขียน Blog KM
ประเด็นสำคัญที่ใช้ในการเขียน Blog KM
เรื่องที่เผยแพร่ใน Blog KM จึงเป็นอะไรก็ได้ ทั้งที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีในการทำงาน เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานแต่ต้องการหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดี หรือแม้แต่ การใช้ชีวิตประจำวัน การท่องเที่ยว สิ่งที่เราอยากจำ สิ่งที่เราอยากค้นหาคำตอบ เหล่านี้ก่อเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ของตัวเอง
เริ่มต้นอย่างไร เมื่อจะเขียน Blog KM
- เริ่มจากสิ่งที่เรารู้ในปัจจุบันก่อน จากหัวข้อที่ตั้งขึ้น ในกรณีที่เป็นปัญหา/อุปสรรค ที่ยังหาวิธีการแก้ปัญหาไม่ได้ ก็สามารถเขียนในรายละเอียดของปัญหา อาการมันเป็นอย่างไร มันเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไรเป็นต้น ซึ่งตรงกระบวนการบริหารจัดการองค์ความรู้ในขั้นตอนที่ 1 “การบ่งชี้ความรู้”
- ทำการค้นคว้า เพิ่มเติม เพื่อเติมเต็มความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมของเรา ว่ามีใครเคยเจอแบบเดียวกันไม๊ พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้ว่าอย่างไร มีแนวคิดทฤษฎีอะไรคล้องกับความคิดเราไม๊ โดยอาจสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น ซึ่งตรงกระบวนการบริหารจัดการองค์ความรู้ในขั้นตอนที่ 2 “การสร้างและแสวงหาความรู้”
- ขั้นตอนต่อไป คือการนำความรู้ที่ได้มาจัดกลุ่มซึ่งจะเป็นโครงสร้างคร่าวๆ ช่วยในการเขียนเนื้อหาที่ง่ายขึ้น ตรงกระบวนการบริหารจัดการองค์ความรู้ในขั้นตอนที่ 3 “การจัดความรู้ให้เป็นระบบ” โดยจะทำการแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
- การจัดกลุ่มความรู้ เพื่อสร้างเป็นกล่องเก็บบทความในเว็บไซด์ Blog KM ยกตัวอย่างเช่น กล่องเก็บบทความ “แนวปฏิบัติที่ดีในการทำงาน” “การแก้ปัญหาในการทำงาน” “บทความที่น่าสนใจ” หรือ “ชวนกินไปเที่ยวไป” ชื่อกล่องเก็บบทความเหล่านี้ จะเป็นตัวบ่งชี้ประเภทเนื้อหาภายในกล่อง รวมถึงกลุ่มคนที่จะเข้าอ่านด้วย
- การจัดกลุ่มเนื้อหา อาจแยกเป็นหัวข้อย่อย หรือเป็นบทต่างๆ
- ขั้นตอนต่อไปคือการร่างเนื้อหา ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียน Blog KM หัวข้อย่อยๆ ได้แก่
- วัตถุประสงค์การพัฒนา Blog KM
- แรงจูงใจและสิ่งกระตุ้นในการเขียน
- ประโยชน์ที่ได้จากการเขียน Blog KM
- ประเด็นสำคัญในการเขียน Blog KM
- เริ่มต้นอย่างไร เมื่อจะเขียน Blog KM
- การแบ่งปันและการต่อยอดความรู้
การแบ่งปันและการต่อยอดความรู้
เป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการต่อยอดองค์ความรู้ ที่ต้องการเวทีในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นได้ ทั้งในระบบ KM Blog และ บนเวทีเลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งนี้ในระบบ KM จะมีพื้นที่สำหรับการแสดงความคิดเห็น ที่เจ้าของบทความสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อถอดบทเรียน และนำมาต่อยอดความคิดของตนเองและองค์กรได้
คู่มือการใช้ระบบ Blog KM
รูปถ่าย