|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย
»
หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย
|
สรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ในการเข้าร่วมการอบรม “หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย” ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จาก การฝึกอบรม ดังนี้
- ทราบแนวทางการเตรียมความพร้อมในการผลิตโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ทราบคุณสมบัติสำคัญที่นักวิจัยต้องเตรียมเพื่อการยื่นเสนอขอรับรอง โครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคน ตามมาตรฐานของการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ ในองค์กรตัวย่อ NECAST
- ทราบถึง ความเป็นมาของจริยธรรมในคน แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัย
- ทราบบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้วิจัย รวมถึงการทราบลักษณะของภาวะเปราะบาง หลักการรักษาความลับอาสาสมัคร กระบวนการขอความยินยอม
- ทราบ หลักการประเมินความเสี่ยงและคุณประโยชน์ รวมถึงข้อพิจารณาทางจริยธรรมในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสังคมศาสตร์
|
คำสำคัญ :
จริยธรรมในคน
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1616
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐิติพรรณ ฉิมสุข
วันที่เขียน
14/9/2564 11:07:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/4/2568 3:07:11
|
|
|
ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยสายสังคมศาสตร์
»
จริยธรรมการวิจัยในคน
|
แนวทางจริยธรรมการวิจัยและการทดลองในคน หรือแนวทางหรือหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและการทดลองในคน โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องเช่น คำประกาศกรุงเฮลซิงกิ หรือปฏิญญาเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางที่องค์กรกำกับดูแลระดับประเทศ (National Regulatory Authorities, NRA) และสถาบันกำหนด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ซึ่งหมายถึง คณะกรรมการที่สถาบัน องค์กร หรือหน่วยงานแต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาทบทวนด้านจริยธรรมการวิจัยของข้อเสนอโครงร่างการวิจัยในคน เพื่อคุ้มครองสิทธิ ศักดิ์ศรี ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครในการวิจัย คณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยของสถาบันต้องมีองค์ประกอบและวิธีดำเนินการมาตรฐาน (SOPs) ของคณะกรรมการจริยธรรมฯ ที่ชัดเจนสอดคล้องกับ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและแนวทางของประเทศตลอดจนแนวทางสากล
|
คำสำคัญ :
การวิจัย จริยธรรมการวิจัยในคน
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
10846
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณภัทร เรืองนภากุล
วันที่เขียน
14/8/2564 23:27:26
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/4/2568 9:17:43
|
|
|
|
|
|
|