พลังจริยธรรมนำวิกฤตชาติ
วันที่เขียน 17/6/2562 16:28:02     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 11:44:41
เปิดอ่าน: 2380 ครั้ง

ที่ผ่านมาคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย มีการดำเนินงานใน 3 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการพัฒนาและเผยแพร่ และด้านผลผลิต แต่ปัญหาที่พบคือ การมีจำนวนผลการวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจำนวนมาก แต่กลับไม่ได้ถูกนำไปใช้ ดังนั้น จึงเสนอแนวทางในการพิจารณาดำเนินการวิจัยในแบบ Implementation Science, Translation Research เพื่อนำผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติ และมีแนวคิด Life Assets ที่เสนอแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน เพื่อน เพื่อเสริมพลังบวกและเป็นอาวุธป้องกันตัวของเยาวชนอย่างยั่งยืนต่อไป

การทำงาน 25 ปี กับการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยสู่พลังจริยธรรมที่ผ่านมา คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ได้ดำเนินการใน 3 ด้านคือ 1) ด้านการวิจัย เป็นการวิจัยเพื่อหาสาเหตุของพฤติกรรม คนดี เก่ง สุข สนับสนุนนักวิจัยโดยให้ทุนนักวิจัย อย่างไรก็ตาม พบว่ามีข้อเสนอโครงการวิจัยจำนวนมากที่ส่งมาแต่ยังเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยที่ไม่มีคุณภาพในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ จึงมีการฝึกอบรมนักวิจัย อีกทั้งยังฝึกอบรมนักพัฒนา เช่น ฝึกอบรมครูเพื่อสร้างนิทานพัฒนาจิต อีกด้วย 2) ด้านการพัฒนาและเผยแพร่ โดยการพัฒนานักวิจัยให้มีมาตรฐานสูง มีการให้รางวัลวิจัย จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ เผยแพร่งานวิจัยสู่นานาชาติ สร้างเครือข่ายนักวิจัยในชาติและต่างชาติ ทำวารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์ระบบพฤติกรรมไทย 3) ด้านผลผลิต มีนักวิจัย งานวิจัย วารสารวิจัย เครื่องมือวิจัย โครงการสร้างนวัตกรรมนิทานจิตมิติใหม่ โครงการวิจัยพัฒนาพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย

การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ต้องอยู่บนพื้นฐานวิชาการ ไม่ใช่วิชากู(นึกคิดเอาเอง) โดยการพัฒนาจิตใจของบุคคลควรต้องใช้ผลวิจัยนำมาพัฒนา เน้นเชิงบวก เน้นรักสนับสนุนใช้เหตุผล (ไม่ใช้อารมณ์) พัฒนาที่ผู้ใหญ่ผู้บริหารด้วย และพัฒนาจิตพร้ิมกันหลายด้านเพราะการพัฒนาเพียงจุดใดจุดหนึ่งนั้นไม่เพียงพอ

ศาสตร์ในการนำพลังคุณธรรมจริยธรรมแก้วิกฤติชาติต้องอาศัยการวิจัยในแบบ Implementation Sciences (IS) of morality strength ซึ่งเกิดจากการนำเทคนิควิจัยเก่าๆ มาประยุกต์ใช้ ได้แก่ Evidence based Practice: EBP, Design research: DR, Engineering design, Design research for technological products นอกจากนี้ยังมีการวิจัยแบบ Translational Research เพื่อแก้ปัญหาที่พบว่า แม้มีงานวิจัยเชิงคุณธรรมจริยธรรมจำนวนมาก แต่กลับไม่ได้มีการนำไปปฏิบัติ ดังนั้น ควรมีทั้งงานวิจัยเชิงแปลและการแปลงานวิจัยเพื่อการปฏิบัติ สุดท้ายของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในเยาวชนจำเป็นจะต้องมีการติดอาวุธป้องกันให้กับเยาวชน ซึ่งปัจจุบันมีการนำเสนอแนวคิดของคนไทยที่ได้รับความยอมรับจากนักวิจัยและนักวิชาการระดับโลก คือ แนวคิดเรื่อง Life Assets โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้กับเยาวชน โดยเน้นความร่วมมือจาก 4 ภาคส่วน ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน เพื่อน นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีต้นไม้จริยธรร ของ ศ.ดร.ดวงเดือน พันธุมนาวิน ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ถือว่าเป็นนักวิจัยคนเดียวของไทยที่มีทฤษฎีที่ทั่วโลกยอมรับและได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว หากนักวิจัยใช้ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมไปเขียนบทความตีพิมพ์ อัตราการยอมรับตีพิมพ์จากวารสารทาง Behavioral science จะค่อนข้างสูง 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมากับการทำเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:46:47   เปิดอ่าน 1619  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง