- สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ในการเข้าร่วมการอบรม “หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย” ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จาก การฝึกอบรม ดังนี้
- ทราบแนวทางการเตรียมความพร้อมในการผลิตโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ทราบคุณสมบัติสำคัญที่นักวิจัยต้องเตรียมเพื่อการยื่นเสนอขอรับรอง โครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคน ตามมาตรฐานของการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ ในองค์กรตัวย่อ NECAST
- ทราบถึง ความเป็นมาของจริยธรรมในคน แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัย
- ทราบบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้วิจัย รวมถึงการทราบลักษณะของภาวะเปราะบาง หลักการรักษาความลับอาสาสมัคร กระบวนการขอความยินยอม
- ทราบ หลักการประเมินความเสี่ยงและคุณประโยชน์ รวมถึงข้อพิจารณาทางจริยธรรมในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสังคมศาสตร์
- ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
งานสัมมนาออนไลน์นี้ข้าพเจ้าได้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่งานด้านการสอน การวิจัย โดยได้รับความรู้จากการฟังบรรยายความรู้เรื่อง จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการออกแบบและเตรียมข้อเสนองานวิจัยที่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน ต้องให้ความสำคัญกับการขอจริยธรรมการวิจัยในคน ตามมาตรฐานของการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ และทราบถึง ความเป็นมาของจริยธรรมในคน แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัย ทราบบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้วิจัย รวมถึงการทราบลักษณะของภาวะเปราะบาง หลักการรักษาความลับอาสาสมัคร กระบวนการขอความยินยอม หลักการประเมินความเสี่ยงและคุณประโยชน์ รวมถึงข้อพิจารณาทางจริยธรรมในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสังคมศาสตร์ รวมถึงหัวข้อสำคัญอื่น ๆ เหล่านี้ สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการพัฒนาการสอน การวิจัย การปฏิบัติงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครที่ต้องดำเนินการขอจริยธรรมการวิจัยในคน
- ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
สำหรับประโยชน์ต่อหน่วยงาน ความรู้ที่ได้สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการสอน การวิจัย ให้สามารถสร้างงานวิจัยที่ดำเนินการโดยมีกลุ่มอาสาสมัครต้องทราบถึง จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ทราบระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้วิจัย รวมถึงการทราบลักษณะของภาวะเปราะบาง หลักการรักษาความลับอาสาสมัคร กระบวนการขอความยินยอม หลักการประเมินความเสี่ยงและคุณประโยชน์ รวมถึงข้อพิจารณาทางจริยธรรมในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสังคมศาสตร์ เหล่านี้ สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการพัฒนาการสอน การวิจัย ถ่ายทอดแก่นักศึกษา ผู้สนใจ เพื่อนร่วมงานและทีมวิจัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานโดยรวม