ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.นงลักษณ์ วิรัชชัย อธิบายการวิจัยแบบ Implementation Science (IS) of Morality Strength ไว้ว่า Implementation ก็คือ การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ศาสตร์ที่คล้ายๆ กันคือ Deliver ology คือศาสตร์ว่าด้วยการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้น เน้นว่า เมื่อพบนโยบายจากงานวิจัย จะเอานโยบายนั้นไปใช้อย่างไรในทางปฏิบัติจึงจะเป็นประโยชน์ ในขณะที่สนใจการนำส่งนโยบายจากนักวิจัยไปสู่ผู้บริหารและจากผู้บริหารไปสู่ผู้ปฏิบัติด้วย แต่ Implementation Science นี้สนใจกระบวนการที่จะนำเอาผลของงานวิจัยรวมทั้งนโยบายที่ได้ เอาไปใช้ให้เกิดผลจริงในทางปฏิบัติ วัตถุประสงค์ของศาสตร์ทั้ง 2 นี้คล้ายกัน แต่มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกัน
IS เป็นเหมือนเทคนิคการวิจัย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นมาด้วยตัวเอง แต่เกิดขึ้นมาจากการผสมผสานเทคนิคการวิจัยในอดีต เช่น Community based, Participatory Action Research: PAR, Community Participatory Action Research: CPAR ดังนั้น Community base จะต่อด้วย PAR นั้นก็คือการนำเอาเทคนิคการวิจัย 2 ตัวมาผสมกัน ในด้านของ IS ก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้เกิดขึ้นมาโดยถูกคิดขึ้นมาเองใหม่ ต้นกำเนิดของ IS มาจาก
1. Evidence based Practice: EBP หรือ การวิจัยอิงหลักฐาน ลักษณะของ EBP นี้ ต้นกำเนิดอยู่ทางสายสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 1992 โดยเน้นการปฏิบัติต่อคนไข้ของพยาบาล หรือของแพทย์ หรือผู้ที่ให้บริการทางสาธารณสุข พยายามจะเน้นวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด และนำเอาวิธีการปฏิบัติตัวนั้นมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อไป ในการที่จะรู้ว่าแนวปฏิบัตินั้นดีหรือยัง ต้องอาศัยการทำวิจัย ในการวิจัยลักษณะนี้จะเน้นที่แนวปฏิบัติแล้วนำมาประเมินว่าดีจริงหรือไม่ ผลของการวิจัยจะทำให้ได้ข้อค้นพบที่ว่า แนวปฏิบัตินี้เชื่อถือได้ น่าจะนำไปใช้ต่อ ถ้าดูขั้นตอนของ EBP จะเห็นว่า เริ่มจากต้องปลูกให้มีจิตวิญญาณของการแสวงหาความรู้ นักวิจัยต้องมี Spirit of inquiry ก่อน เมื่อนักวิจัยมีและเข้าถึงว่าตนเองต้องการรู้อะไร ก็จะตั้งคำถาม คำถามของนักวิจัย EBP ในระยะแรกจะเป็นทางคลินิก หลังจากนั้นไปเก็บรวบรวมข้อมูลที่ตรงกับเรื่องของคำถามที่จะทำ ข้อมูลที่เลือกเก็บเป็นข้อมูลเฉพาะสิ่งที่เป็น evidence เป็นหลักฐานที่ดีที่สุด ไม่ใช่เก็บข้อมูลทั่วไป
จากนั้นขั้นตอนถัดมาเป็นการนำเอาหลักฐานทั้งหมดที่ได้มาประเมิน เพื่อจะดูว่าผลของการศึกษาที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีที่สุดมาได้นั้น บอกอะไรบ้าง และผลที่ได้มี Valid ถูกต้อง เที่ยงตรงแค่ไหน และผลของหลักฐาน Best evidence หรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดนี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างไร คำตอบที่ได้จากขั้นตอนนี้จะนำไปสู่ขั้นตอนถัดไปที่เป็นการบูรณาการผลของการวิจัยทั้งหมดเข้ากับความรู้ ประสบการณ์ สถิติของนักวิจัย และต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย คนไข้ เพิ่มเติมให้รู้ว่าเขาชอบแบบไหนมากกว่า บางครั้งพบว่าหมอหรือนักวิจัยคิดว่าวิธีนี้ดีแล้ว แต่ผู้ป่วยบอกไม่ใช่วิธีที่ดี วิธีรองลงไปนั้นดีกว่า เป็นต้น เพราะฉะนั้น วิธีที่จะเลือกได้ว่าเป็นแนวปฏิบัติใดดีที่สุด จะต้องสอบถามความคิดเห็นของคนทุกฝ่าย หลังจากที่ประเมินเสร็จจึงจะนำผลดังกล่าวไปเผยแพร่และปฏิบัติต่อไป
ถ้าพิจารณาดูลักษณะของ evidence ที่เก็บต้องเป็น priority คือต้องมีลักษณะความสำคัญลดหลั่นกันลงมา ฉะนั้น เทคนิควิธีการที่ใช้ในการรวบรวมหลักฐาน ที่ง่ายที่สุดคือ ใช้ Systematic reviews คือ การทบทวนหรือการสังเคราะห์แบบมีระบบ ซึ่งทางสาธารณสุขใช้กันมา ดีขึ้นมาอีกขั้นคือการใช้ meta-analysis คือการวิเคราะห์อนุมาน ดียิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็คือ EBP การวิจัยเชิงปฏิบัติ เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่วิธีที่นักวิจัยชื่นชอบและตรงก็คือ การทดลอง วิธีการทดลองที่ใช้ก็คือ Randomize controlled trials นั้นคือกลุ่มตัวอย่างต้องได้มาโดยการสุ่ม และการให้ treatment นั้น ต้องมีการควบคุม การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ย่อมคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะหัวใจของการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ก็คือ Randomize controlled trials ฉะนั้น เทคนิคที่นักพฤติกรรมศาสตร์ใช้คือ เทคนิคที่ดีที่สุดที่ถูกยกย่องในการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐาน และไม่ได้หยุดแค่นั้น ยังมีการปรับปรุงต่อยอดขึ้นไปอีก เกิดเป็นเทคนิคใหม่เรียกว่า FOCUS-PDCA เป็นการเอาผลการวิจัยมา implement ผลของการวิจัยที่นำไป implement นั้นรอบแรกอาจจะไม่ดี นักวิจัยต้องดูว่า ต้องปรับปรุงในส่วนไหน intervention ที่ใส่เข้าไปต้องแก้ไขอย่างไร เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการ implement รอบที่ 2 รอบที่ 3 นั้นคือต้นแบบที่ทำให้เกิดกระบวนการวิจัยสร้างสรรค์
ลักษณะการทำวิจัยซ้ำๆ กันนั้นเหมือนกับการวิจัย PAR หรือในวงจรวิจัยของการปฏิบัติ (Action research) มี 10 ขั้นตอน มาจาก PAOR, P คือ Problem, A คือ Action จากขั้นตอนคำถามจากงานวิจัย Problem ไปสู่ take action, O คือ Observe ผลที่ได้จากการ action คือ การใส่ implementation, R คือ Reflex การสะท้อนคิด แนวคิดของ PAOR ถูกปรับเปลี่ยนเป็น PDSA แล้วจาก PDSA มาต่อยอดกับ FOCUS ฉะนั้น เทคนิคของการ FOCUS-PDSA ก็เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีขึ้น มีการดำเนินการเป็นขั้นตอน เริ่มจาก F เป็นขั้นตอนของการหากระบวนการที่จะทำงานให้ดีขึ้น ต่อมาขั้น O ก็คือการรวบรวมความพยายามทั้งหมดที่จะใช้ในการพัฒนาให้ดีขึ้นว่ามีอะไรบ้าง แล้วหลังจากนั้นก็ C: Clarify ว่าความรู้ที่จะทำให้ดีที่สุดที่รวบรวมมาได้คืออะไร จะได้นำไปใช้ เมื่อเจาะจงได้ว่าจะเอา intervention ใด ก็ต้องมาทำความเข้าใจ U: Understand process กับ probability ว่า ถ้าเอาไปใช้แล้วจะสามารถทำงานได้เพียงใด ระดับใด ขั้นต่อไป เป็นขั้นเลือก S: Select เป็นการเลือกในการศึกษาว่า intervention นี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงใด จะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร และจะพยากรณ์ผลที่ได้อย่างไร PDSA ถ้าเข้าสู่กระบวนการวิจัยเต็มขั้นทั้งหมด เริ่มต้นจากการวางแผนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การวิเคราะห์หลังจากที่ให้ intervention ไป และการทำนาย หลังจากนั้นก็คือ เริ่มต้นเอาแผนที่วางไว้ใหม่ คือ intervention ตัวใหม่ใส่เข้าไป ขั้น S ก็คือเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ ตรวจสอบผลของการเก็บรวมบรวมข้อมูล เสร็จแล้วจึงทำเป็นปฏิบัติการ จะทำให้ผลการวิจัยที่ได้ยั่งยืน มั่นคง ถ้ายังไม่ได้ ขั้นตอนของ PDSA ต้องทำวนไปอีกหลาย loop เป็น literation หลายรอบจนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ในกระบวนการของการทำงาน ประเภทของการทำงาน IS ต้องอาศัยการร่วมมือรวมพลังใช้ Collaborative effectiveness สร้าง Disciplinary Science Initiative การทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขาไม่ว่าจะสาขาใดก็ตาม จะประสบความสำเร็จได้ดี ต้องทำเป็นลักษณะสหวิทยาการ อาศัยความรอบรู้จากศาสตร์ทุกสาขา ในลักษณะของการร่วมมือรวมพลัง ได้แก่ Intrapersonal เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับบุคลากรและ Stakeholder ทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องไปดูว่าเจตคติของพวกเขาในการทำงานร่วมกันเป็นอย่างไร เจตคติของสมาชิกในการที่จะเตรียมรับความซับซ้อนในการทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง สหวิทยาการนี้ชอบหรือไม่ จะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร ปัจจัยต่อมาคือ Physical environmental หมายถึง ต้องมีผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องสภาพทางกายภาพว่าพร้อมที่จะให้ทำงานหรือไม่ ต้องการความช่วยเหลือทั้งในเชิงสังคม รัฐศาสตร์ และการเมือง คือต้องมีความเห็นชอบจากหลายฝ่าย ถัดมาในด้านเทคโนโลยีคือต้องมี technology infrastructure ทั้งหลายเข้ามาช่วย เพื่อให้การปฏิบัติงานได้ผลดี ตัวที่สำคัญที่สุดคือ องค์การที่รับผิดชอบจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อที่จะทำให้เกิดการประสานงานให้เกิดความร่วมมือรวมพลังได้หมด และสุดท้ายคือ Interpersonal การร่วมมือรวมพลังจะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างทุกคนที่มีส่วนร่วมในการทำงาน ดังนั้นจึงมีความสำคัญกับการทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง
ลักษณะของ Evidence based practice research นี้ ถ้าทำให้ดีจริงแล้ว จะช่วยเพิ่มคุณภาพของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ นั่นเป็นขั้นสำรวจ จะเห็นว่า นักวิจัยจะมีเครื่องหมาย question mark คำโตอยู่ ถ้านักวิจัยยังไม่รู้ชัดว่าตนเองกำลังอยากรู้อะไร งานนี้จะไม่ได้ผลดี ฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนคือ ต้องตีคำถามวิจัยให้แตก ว่าตนเองอยากรู้อะไร อยากพัฒนาอะไร แล้วก็คิดหาวิธีหาคำตอบนั้นว่า การพัฒนาจิตนั้นต้องทำอย่างไร เอาความคิดหลายๆ แนวมาผสมผสานกัน เหมือนคนกำลังถือแนวคิดหลายๆ แนวและเอามาประสานกัน พอประสานกันแล้วให้เกิดเป็นรูปร่าง ต้องรวมทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการวิจัย ทำการทดลองดูว่าได้ผลหรือไม่ และประเมินผลว่าสิ่งที่ได้จากการทดลอง intervention ที่ใส่เข้าไปนั้นใช้ได้ผลหรือเปล่า ผลการวิจัยที่ได้มา ต้องถูกนำไปส่ง Practitioner คือ ผู้ปฏิบัติ และ Provider คือนักธุรกิจที่จัดส่ง ในที่นี้คือผู้ประสานงานที่มีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างโครงการวิจัยกับผู้ปฏิบัติ ขั้นตอนส่วนนี้ก็คือขั้นตอนของคนที่จะนำผลวิจัยส่งผ่านไปสู่ผลทางปฏิบัติ สมมติว่าส่งสำเร็จ จะนำไปสู่ความร่วมมือ ต้องมีคนผลักดัน คนขับเคลื่อน คนขับเคลื่อนที่สำคัญมี 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Leadership หน่วยงานที่รับไปปฏิบัติต้องมีภาวะผู้นำสูง และต้องสามารถขับเคลื่อนอีก 2 ส่วนต่อไปได้ ส่วนแรกคือ Organization driver โดย intervention ต้องมี Facilitative administration และต้องมี Support data system คือต้องเตรียมส่วนนี้ให้พร้อม อีกด้านหนึ่งคือ ด้าน Competency driver ถ้าคนที่ทำงานในหน่วยงานไม่มีสมรรถนะ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ งานก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หรือดำเนินไปได้ ฉะนั้นผู้บริหารต้องเริ่มต้นด้วยการ coaching ไปทำการฝึก และ select เลือกคนที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติ ทั้งหมดนี้จึงจะสามารถรับเอาผลของการวิจัยไปพัฒนา และทำให้เกิดผลที่ดีขึ้นต่อกลุ่มเป้าหมาย แนวคิดดังกล่าวนี้มีช่องว่างอยู่ระหว่างการนำผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติ เพราะคนปฏิบัติไม่สามารถเข้าถึงผลการวิจัยที่แท้จริง แม้ว่านักวิจัยจะลงไปถึงที่บางทีก็เข้าไม่ถึง
แนวคิดในการที่จะพัฒนารูปแบบการวิจัยให้ดีขึ้นนั้น นักวิจัยชุดหนึ่งพบว่า ปัจจัยที่สำคัญคือ เราต้องหา effective intervention คือ intervention ใดที่จะให้ผลดีที่สุด นั้นคือ อยากรู้ว่ามันคืออะไร ถ้าหามาได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ หาวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้ผลที่ดีที่สุดในการนำผลการวิจัยไปปฏิบัติ คือ "What" และ "How" แล้วเอา 2 ส่วนนี้คูณกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็น positive outcome สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ผลของแนวคิดนี้ เริ่มทำให้เกิดภาพ IS ขึ้นมา ถ้าเอาผลวิจัยนั้นมาใช้ประโยชน์ก็จะเกิดผลแตกหน่อออกช่อไปอีก ผลที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทรัพยากรและไปสู่ผลการปฏิบัติได้ และจะส่งผลย้อนกลับไปสู่การเปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่ของคนที่นั่งทำงานอยู่ตรงนั้น เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มบุคคลผู้ปฏิบัติ ก็จะลงมือทำวิจัยได้เอง นั้นเป็นความคาดหวังจึงเป็นที่มาของศาสตร์ตัวใหม่ก็คือ Intervention Science
ส่วน Implementation Science เป็นการพัฒนา effective intervention ในขั้นแรกเท่านั้น จากนั้นเป็นการนำผลวิจัยไปใช้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นจุดเน้น เป็นการทำเพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างความรู้จากการวิจัยกับความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาตามที่ต้องการ ถ้าช่องว่างตรงนี้ยังเติมไม่เต็มในรอบแรก ต้องทำใหม่อีกรอบ ฉะนั้น ลักษณะของ Implementation Science นี้ค่อนข้างเป็นวงจรการวิจัยหลายรอบจนกว่าจะดีขึ้น สรุปคือต้องสร้าง intervention ที่ได้ผลก่อน แล้วนำไปใช้ใน real world setting กระบวนการตรงนี้จะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ซับซ้อน และ ยาวนาน
ในขั้นตอนของการนำไปปฏิบัตินั้น นักวิจัยต้องลงไปปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่สามารถให้ผู้ปฏิบัตินำไปใช้แทน เพราะนักวิจัยเท่านั้นที่รู้เรื่องโปรแกรมอย่างละเอียด และรู้กระบวนการของการพัฒนา ผู้ปฏิบัติจะเป็นเพียงผู้ช่วย ดังนั้น นักวิจัยต้องลงไปทำงานร่วมกัน และระหว่างที่ทำงาน ถ้าผลที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือสมมติฐานที่กำหนดไว้ แสดงว่ามีจุดบกพร่องที่จะต้องปรับปรุง คนที่จะปรับปรุงได้ดีที่สุดก็คือนักวิจัย สมัยก่อนมักคิดว่า เวลาที่ทำ intervention เสร็จแล้วไม่ได้ผล จะปรับปรุงไปเรื่อยๆ แต่ IS นี้จะต่างออกไป เพราะ IS นี้ไม่ได้ปรับปรุงเฉพาะ intervention แต่ปรับปรุง stakeholder ทุกคนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ฝึกเป็นอย่างไร มีปัญหาตรงไหน ต้องแก้ตรงไหน ผู้ประเมินเป็นอย่างไร คนที่คอยสังเกตติดตามเป็นอย่างไร ได้ผลดีหรือไม่ มีข้อบกพร่องต้องปรับปรุงอย่างไร มีจุดอ่อนตรงไหน ต้องเพิ่มเติมตรงไหน ดังนั้นเรื่องของ IS จึงเป็นเรื่องใหญ่มาก ขั้นต่อมา เมื่อเราเข้าใจ เข้าถึงแล้วว่า program หรือ intervention สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้ดีตามที่ต้องการแล้วหรือยัง ถ้าได้เป็นผลวิจัยที่ออกมาแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการนำเอาไปตรวจสอบว่า intervention phase นี้เกี่ยวข้องกับ outcome อย่างไร อะไรเป็นตัวที่ทำให้ outcome สัมฤทธิ์ผลได้ดีที่สุด ผลการวิจัย intervention science หลายเรื่อง พบว่า บางทีโปรแกรมที่เราเอาไป implement ไม่ได้สำคัญอะไรเลย แต่ตัวผู้ฝึก mentor เป็นตัวที่ทำให้ learning outcome ของเด็กเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้น IS ก็เปิดโลกใหม่ออกมา
2. Design Research การวิจัยวิทยาศาสตร์การออกแบบ บางครั้งใช้คำว่า Design Science คือเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ตรงนี้เรียกว่า Design Research ซึ่งอาจจะไม่เป็นวิทยาศาสตร์ก็ได้ มีขั้นตอนจากเรื่องของทฤษฎีมาสู่ situational design inquiry เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเกี่ยวกับการออกแบบ แบบแผนนี้ต้องทำคู่ขนานไปกับทฤษฎี ฉะนั้น ถ้านักวิจัยคิดจะใช้วิธีวิจัยนี้ ต้องตรวจสอบกับทฤษฎีแล้วดูว่าทฤษฎีจะทำให้เกิดได้จริงหรือไม่ ต้องนำมาสร้างการออกแบบในขั้นตอนต่อไป การออกแบบในการวิจัยแนวนี้ เป็นอีกแนวที่ใช้กันมากใน IS
3. Engineering Design การออกแบบวิศวกรรม ซึ่งใช้มากที่สุดใน IS สาเหตุเพราะนักวิจัยเชื่อว่า การออกแบบทางวิศวกรรมนี้ เป็นการมองรอบด้าน เช่น เวลาวิศวกรได้รับคำสั่งให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง วิศวกรจะเห็นว่ามันเป็น Sociological process ที่ซับซ้อนมาก คือ เป็นเรื่องทางเทคนิคและเป็นเรื่องทางสังคมด้วย ทั้ง Human factor ทั้ง Social factor ของระบบทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ต้องนำเอามาศึกษาหมด ต้องนำความคิดเห็นของคนที่เกี่ยวข้อง stakeholder ทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ ฉะนั้นพอออกแบบแบบนี้เสร็จ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นจะถูกใจทั้งผู้ใช้ ถูกใจทั้งผู้ที่ต้องได้รับประโยชน์ ทุกฝ่ายต้องได้รับความพอใจ เหมาะสม ตรงกับที่อยากได้พอดี งานวิจัยทางสังคมพยายามที่จะใช้แนวคิดของ Engineering Design เข้ามาจับ จะทำให้การพัฒนา intervention สมบูรณ์มากขึ้น
4. Design research for technological products การวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี มีขั้นตอนดังนี้ 1) ผู้ใช้ ประกอบด้วยใครบ้าง มีจุดตั้งต้นของกระบวนการออกแบบคืออะไร แล้วไปดูว่า มีทฤษฏีหรือวิธีวิทยาประกอบแนวคิดอย่างไร ที่จะนำมาใช้เป็นกรอบแนวคำถามสำคัญในการพัฒนา ถ้าเป็นนักการศึกษาก็คือ การคิดว่าหลักสูตรที่ทำมาดีแล้ว แต่ไม่ได้ดูว่าผู้เรียนต้องการอะไร ที่จริงต้องถามว่าผู้เรียนอยากรู้เรื่องนี้หรือไม่ นั่นคือ เราต้องเข้าใจ เข้าถึงว่า ผู้ใช้ประโยชน์อยากได้อะไร ฉะนั้น นักวิจัยต้องสนใจตรงส่วนนี้ก่อน 2) คนที่จะใช้ประโยชน์ เข้าใจผลิตภัณฑ์นี้ว่าอย่างไร รู้ละเอียดหรือไม่ว่าต้องใช้งานอย่างไร 3) หลังจากที่พัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ต้องดูว่า ผู้ใช้สามารถใช้ได้ ใช้เป็นหรือไม่ 4) หลังจากที่ใช้แล้ว ผู้ใช้ ยอมรับผลิตภัณฑ์หรือไม่ 5) ผู้ใช้สนใจผลิตภัณฑ์หรือไม่ เพื่อจะได้ทราบว่าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปในแนวทางใด ผู้ใช้ให้ข้อเสนอแนะกับผู้ผลิตได้หรือไม่ 6) ผลิตภัณฑ์ มีศักยภาพในการขยายขอบเขตความรู้ของผู้ใช้ได้มากน้อยเพียงใด
กล่าวโดยสรุปขั้นตอนคือ ต้องพัฒนา intervention ที่มีประสิทธิภาพก่อนซึ่งสำคัญที่สุด หลังจากนั้นต้องเชื่อมโยงไปสู่การนำไปทดลองใช้ใน real world setting หลังจากที่ทดลองเสร็จแล้ว กระบวนการตรงนี้ต้องทำเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ยืดยาว แล้วทำความเข้าใจว่า program นี้สำเร็จหรือไม่ เกิดจากการ implement เสร็จในรอบเดียวหรือไม่ หรือว่าต้องทำหลายรอบ และอาจจะตรวจสอบต่อไปว่า ในขั้นของการ implement นี้ กระบวนการ intervention process นอกจาก intervention แล้ว อะไรเกี่ยวข้องกับ outcome บ้างที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ outcome ของคนเพิ่มขึ้น
จะเห็นว่ากระบวนการที่กล่าวมานี้ เป็นการพยายามนำงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง เพื่อให้งานวิจัยทางคุณธรรมจริยธรรมสามารถนำไปแก้ปัญหาวิกฤตคุณธรรมจริยธรรมของคนในชาติได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่ต้องได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ยาวนาน หากผลการวิจัยสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงแล้ว ประโยชน์ย่อมเกิดแก่วงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง