สัมมนา เรื่อง “New Year - New You” New ครู...สู่การเรียนรู้แบบ 'All New'
วันที่เขียน 29/8/2567 10:00:44     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/10/2567 10:10:40
เปิดอ่าน: 39 ครั้ง

กิจกรรมอบรมสัมมนา Webinar ในหัวข้อ “New Year - New You” New ครู...สู่การเรียนรู้แบบ 'All New' จัดโดยโครงการนวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ได้รับความรู้และเทคนิคมากมายในการนำมาปรับใช้ในการจัดการการสอน รวมทั้งอัพเดตเทรนด์ใหม่ๆ ของวงการศึกษาในปี 2024 โดยสรุปได้ดังนี้

  • เปิดมิติใหม่ 2024 โลกแห่งการเรียนรู้ที่ครูทำได้ ได้เรียนรู้

วิทยากร รศ.ดร. นัทธี สุรีย์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับ Trend ใหม่ 5 อันดับทางการศึกษาของปี 2024 ที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก ตามลำดับ ดังนี้

1.Online Learning และ Artificial Intelligence การใช้เทคโนโลยี AI มาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น รวมทั้งการเรียนผ่านระบบออนไลน์

2. Nanolearning คือ การเรียนจากบทเรียนแบบสั้น กระชับ (2-5 นาที) ได้รับความนิยมมาก เช่น Tiktok Youtube Shorts และ Facebook/Instagram Reels โดยปรับเข้ากับพฤติกรรมการเรียนรู้ในปัจจุบัน

3. Soft Skills Training & Emotional Intelligence คือการเรียนทักษะ Soft Skill ที่จำเป็นแห่งอนาคต และความฉลาดทางอารมณ์

4. STEAM Education คือ การเรียนรู้ที่ส่งเสริม STEM+Art โดยทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

5. Competency-Based Education & Microcredentials คือ การออกแบบหลักสูตรฐานสมรรถนะ และหลักสูตรที่มีการเก็บหน่วยกิตย่อย ๆ เพื่อสะสมไปสู่การรับรองสมรรถนะ

 

  • พาผู้เรียนออกจาก Comfort Zone สู่ Learning Zone ด้วยโปรเจ็ค DIY

วิทยากร อ.ผนวกเดช สุวรรณทัต ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ผ่านโปรเจ็ค DIY ความสำคัญของการ DIY ลำดับความสำคัญในการเรียน ต้องเริ่มต้นจาก ความปลอดภัย ดูแลจิตใจ ก่อนที่จะคำนึงถึงการประหยัดเวลา และเงิน คำแนะนำสำหรับการเริ่มต้นโปรเจ็ค DIY สำหรับผู้เรียนมือใหม่ ควรมีการบันทึกวิดีโอการทำงาน มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยง ควรเริ่มต้นจากโปรเจ็คระดับง่ายไปยากขึ้น ควรมีเครื่องมือที่ดีพอสมควร และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากต้องการความช่วยเหลือ หรือคำวิจารณ์ผลงาน โดยผู้เรียนสามารถหาแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น Youtube หนังสือ ทั้งนี้ควรใช้วิจารณญาณในการพิจารณาแหล่งเรียนรู้ที่น่าเชื่อถือ

 

  • DIY Classroom Makeover เปลี่ยนห้องเรียนให้เป็น Maker Space

วิทยากร รศ.ดร.สุทธิดา จำรัส ได้นำเสนอตัวอย่างการนำโปรเจ็ค DIY มาใช้ในห้องเรียน ผ่านโปรเจ็ค STEM x DIY Tinker&Maker ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยผ่านอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง โดยเน้นให้ความสำคัญกับคุณภาพของครูมากกว่าทรัพยากร โดยการออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือทำ เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกภูมิใจและมีความสุขในการเรียนมากขึ้น ได้เห็นตัวอย่างการปรับปรุงห้องเรียนให้มีอุปกรณ์สำหรับให้ผู้เรียนใช้ในการออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยตนเอง และตัวอย่างโปรเจ็ค DIY ที่ผู้เรียนออกแบบและทำจริงที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

การนำความรู้ที่ได้จากการอบรมงานสัมมนานี้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้รับความรู้และมีประสิทธิผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นเท่าที่จะสามารถปรับได้ตามบริบทของแต่ละรายวิชา น่าจะสามารถทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีความสนุก และมีความสุขในการเรียนมากขึ้นได้ อีกทั้งเมื่อได้ทดลองนำเครื่องมือและเทคนิคใหม่ๆ จาก new trend ที่ได้จากการอบรมไปใช้จริงในชั้นเรียน และเห็นผลลัพธ์ที่ดีสามารถนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานในหน่วยงานนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานโดยรวม

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1482
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/10/2567 20:34:53   เปิดอ่าน 221  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/10/2567 10:08:50   เปิดอ่าน 531  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง