เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ ฯ มีดังนี้
1) การใช้ ChatGPT เป็นโปรแกรมที่สามารถโหลดมาใช้ได้ สำหรับเวอร์ชั่น 3.5 ซึ่งช่วยในการค้นหาเนื้อหา ความรู้ และแหล่งอ้างอิงต่างๆ เพื่อช่วยให้การเขียนบทความสะดวกรวดเร็วขึ้น
2) การหาวารสาร ควรมีแหล่งวารสารที่ต้องการจะส่งบทความไว้สำรองในกรณีที่เผื่อไว้สำหรับพิจารณา โดยควรที่มีลักษณะแบบแผนเกณฑ์พิจารณาที่คล้ายๆ กัน
3) การเขียนบทคัดย่อ ควรแบ่งเป็นประมาณ 10 บรรทัด โดยเขียนเกริ่นนำและวัตถุประสงค์ และระเบียบวิธีวิจัย ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ และสรุป
4) การเขียนบทนำ หลักการและเหตุผล โดยให้สอดคล้องกับ What Where When Why How Whom ต้องมีข้อมูลทุติยภูมิ หรือข้อมูลลงพื้นที่ ภาคสนามมาสนับสนุน
5) การเขียนระเบียบวิธีการวิจัย เขียนให้ละเอียดถึงประชากร กลุ่มตัวอย่าง(การวิจัยเชิงปริมาณ) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถใช้กลุ่มเป้าหมาย/ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้ เครื่องมือในการทำวิจัย คุณภาพของเครื่องมือ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงการตรวจสอบ Assumption
6) การเขียนผลการวิจัย ไม่ควรมีอ้างอิง ผลการวิจัยในเชิงปริมาณจะแสดงในลักษณะของตาราง กราฟ รูปภาพ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพควรมีตาราง รูปภาพสนับสนุนได้
7) การเขียนอภิปรายผล ต้องเขียนตามวัตถุประสงค์ หากมีการอ้างอิงไม่ควรที่อ้างอิงซ้ำในบทที่ 2 ที่เป็นแนวคิดทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเขียนสอดคล้องกับ/อ้างถึงใน
8) การขียนบทสรุป ควรบรรยายผลวิจัยที่ได้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์งานวิจัย และควรเขียนประโยชน์ในเชิงนโยบาย Whom
9) การทำตาราง ควรมีการเชื่อมโยงระหว่างย่อหน้า กับตาราง กราฟ และรูปภาพ
และ 10) การเขียนบรรณานุกรม บางวารสารมีเกณฑ์ในการอ้างอิง เช่น 94 เล่ม 112 เล่ม เอกสารที่ใช้อ้างต้องไม่ควรซ้ำกันในเล่ม
ซึ่งสามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กล่าวมาได้ และในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น
สิ่งที่วงวิชาการต้องตระหนักและคำนึงถึง ซึ่งกรรมการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการจะให้ความสำคัญอย่างมากคือ
* วารสารทุกฉบับและกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการจะให้ความสำคัญกับการเป็นต้นฉบับที่ถูกต้อง ทำเอง ทั้งความคิดริเริ่ม การออกแบบ การเป็นผลงานวิจัยที่ใหม่ ได้ข้อค้นพบใหม่ แปลกใหม่
* สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วางหลักการอันเป็นประเด็นการละเมิดจริยธรรมงานวิชาการและผลงานวิจัยได้ดังนี้
- การสร้างข้อมูลโดยไม่ได้เกิดขึ้นจริง
- การดัดแปลง ตัดต่อ ปกปิด เสริมต่อ บิดเบือนข้อมูลเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิด
- การคัดลอก หรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่นโดยไม่ชอบ
- การเป็นหรือไม่ได้เป็นผู้นิพนธ์โดยไม่เหมาะสม