|
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
»
ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 14 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีครบ 116 ปี “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน”
|
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 14 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีครบ 116 ปี “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน” สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ดังนี้
1. เนื้อหาที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม
1.1 เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน” โดย ศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
1.2 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมวัสดุผสมไททาเนียมไดออกไซด์และไฮดรอกซีอะพาไทต์สำหรับใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์บนวัสดุรองรับ” โดย คุณศุภกร เดโช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.3 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก” โดย อ.ร้อยทิศ ญาติเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
1.4 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์จากชีวมวลหญ้าดอกแดงโดยใช้เอนไซม์” โดย คุณ ณัฐธิดา ประภารัตน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1.5 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “เจลพอลิเมอร์สำหรับประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์วัดปริมาณรังสีในงานประจำ” โดย คุณ ธนกร ทองพุ่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.6 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมและลักษณะเฉพาะของเส้นใยนาโน PVP/SnO2 ด้วยเทคนิคอิเลกโทรสปินนิ่ง” โดย คุณ กชกร ยังให้ผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.7 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การวิเคราะห์แนวโน้มของอุณหภูมิในเขตเมืองและเขตชนบททางภาคเหนือของประเทศไทย” โดย ผศ.ดร. จุฑาพร เนียมวงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1.8 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ผลของความเข้มข้นสารละลายไคโตซานต่อค่าการส่งผ่านแสงของฟิล์มบางไคโตซานที่สังเคราะห์ด้วยวิธีการจุ่มเคลือบ” โดย คุณ พทรา เหล่าพาณิชยางกูร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.9 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมและขึ้นรูปเส้นจากใบสับปะรดเพื่อนำไปเป็นวัสดุกรองอากาศสำหรับกำจัดแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์” โดย คุณ ธนาภรณ์ วงษ์ธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.10 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ระบบควบคุมสภาพอากาศสำหรับโรงเรือนเพาะเห็ดเมืองหนาวขนาดเล็กด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์” โดย ผศ. ชาคริต วินิจธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
2. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
2.1 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ
2.2 ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน
การสอน และการทำงานวิจัย
2.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานวิจัยระหว่างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
3. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ และฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน โดยได้นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และงานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ นอกจากนั้นยังได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ กับนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานเป็นอย่างยิ่ง โดยจะช่วยทำให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1022
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อัจฉรา แกล้วกล้า
วันที่เขียน
3/10/2564 16:05:49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
30/1/2566 2:39:46
|
|
|
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
»
ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ MJU Annual Conference 2018 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ วันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 เป็นเวทีให้นักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และทุนอื่น ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ปิดโครงการในรอบปี ให้แก่ประชาชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรในภาครัฐ และ ภาคเอกชน ตลอดจนร่วมนำเสนอโจทย์วิจัย รวมถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ MJU Annual Conference 2018 นี้ ประกอบด้วยการนำเสนองานวิจัยทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ เช่น งานวิจัยเรื่อง การเตรียมไฮโดรเจลจากน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำสำหรับใช้เป็นวัสดุปิดแผล โดย อัจฉรา แกล้วกล้า เอกวิทย์ ตรีเนตร และ ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน มีเนื้อหาสรุปดังนี้ งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้เอนไซม์โปรติเอสจาก แบคทีเรีย Bacillus subtilis กำจัดโปรตีนในน้ำยาง แล้วนำน้ำยางที่ได้มาทดสอบการขึ้นรูปเป็นแผ่นไฮโดรเจลสำหรับใช้เป็นวัสดุปิดแผล ผลการทดลองพบว่า สามารถขึ้นรูปด้วยกำมะถัน และ N,N’ Methylene-bis-acrylamide ได้ และผลการทดสอบทางชีวภาพ พบว่าเอนไซม์โปรติเอสช่วยลดปริมาณโปรตีนจากน้ำยางธรรมชาติได้จริง และงานวิจัย เรื่อง การศึกษาลักษณะคุณภาพผลและรูปแบบโปรตีนในผลของลำไยพันธุ์ดอที่ปรากฏอาการผิดปกติทางสรีรวิทยาของผล โดย เอกวิทย์ ตรีเนตร วัลลภา คอนคำ อัจฉรา แกล้วกล้า วินัย วิริยะอลงกรณ์ และ อดิศักดิ์ จูมวงษ์ มีเนื้อหาสรุปดังนี้ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ด้านเคมีและรูปแบบโปรตีนของกลุ่มอาการความผิดปกติทางสรีรวิทยาของผล (โรคลำไยแดง) ในระยะผลอ่อนของลำไยพันธุ์ดอ ผลการศึกษาพบว่า ในระยะเริ่มแรกของการเกิดอาการของโรค ขนาดและน้ำหนักผลไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ในการศึกษา 1D gel พบโปรตีนบ่งชี้ ที่สามารถคืนสภาพการแสดงออกหลังการติดผล 30 สัปดาห์
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2104
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อัจฉรา แกล้วกล้า
วันที่เขียน
27/3/2562 22:02:06
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
30/1/2566 4:27:51
|
|
|
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
»
ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
การเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ MJU Annual Conference ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เป็นเวทีให้นักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และทุนอื่น ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ปิดโครงการในรอบปี ให้แก่ประชาชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรในภาครัฐ และ ภาคเอกชน ตลอดจนร่วมนำเสนอโจทย์วิจัย รวมถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
การประชุมวิชาการประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ MJU Annual Conference นี้ ประกอบด้วยการนำเสนองานวิจัยทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ เช่น งานวิจัยเรื่อง ผลของผงถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟในอาหารไก่ไข่ต่อผลผลิตไข่และคุณภาพไข่ โดย รชานนท์ ธนภัทรพงศ์ บัวเรียม มณีวรรณ์ ทองเลียน บัวจูม อัจฉรา แกล้วกล้า และจุฬากร ปานะถึก มีเนื้อหาสรุปดังนี้ การปรับสีของไข่แดงด้วยการเสริมผงถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟในอาหารไก่ไข่ ใช้แม่ไก่สายพันธุ์ ซี.พี.บราวน์ อายุ 104 สัปดาห์ จำนวน 120 ตัว ผลการศึกษาพบว่า การเสริมผงถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟที่ระดับ 0.25 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มช่วยเพิ่มสีของไข่แดงในช่วง 5-8 สัปดาห์ของการทดลอง และงานวิจัย เรื่อง คุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของแผ่นยางพาราที่ผลิตจากน้ำยางพาราโปรตีนต่ำ โดย ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน ฐิตินันท์ รัตนพรหม อัจฉรา แกล้วกล้า พรพิทักษ์ วงศ์เปี้ยจันทร์ ศุภโรจน์ โรจนสุวรรณ และ สุภิญโญ ศรีวิภักดิ์ มีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้ งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้เอนไซม์โปรติเอสจาก แบคทีเรีย Bacillus subtilis กำจัดโปรตีนในน้ำยาง แล้วนำน้ำยางที่ได้มาทดสอบการขึ้นรูปเป็นแผ่นยางพาราสำหรับใช้เป็นแผ่นปิดแผล ผลการทดลองพบว่า สามารถขึ้นรูปด้วยกำมะถัน หรือ N,N’ Methylene-bis-acrylamide ผลการทดสอบทางชีวภาพ พบว่าเอนไซม์โปรติเอสช่วยลดปริมาณโปรตีนจากน้ำยางพาราได้จริง
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2429
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อัจฉรา แกล้วกล้า
วันที่เขียน
19/3/2561 22:38:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
30/1/2566 5:41:57
|
|
|
|