ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 279
ชื่อสมาชิก : รัชดาภรณ์ ปันทะรส
เพศ : หญิง
อีเมล์ : ratchadaporn_p@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 8/3/2554 21:56:24
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 8/3/2554 21:56:24


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการเสวนาของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ 31 ต.ค. 2566 เรื่อง "ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย" สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท) ได้กำหนดพระราชบบัญญัติวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พศ. 2551 มีเจตนารมณ์ดังนี้ 1) ส่งเสริมการใช้ความรู้และทักษะด้านวิทยาและเทคโนโลยีในการประกอบวิชาชีพ 2) คุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัยพสินของประชาชนจากการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแบ่งกลุ่มสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 2. วิทยาศาสตร์สุขภาพ 3. วิทยาศาสตร์การเกษตร 4. สหวิทยากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ดังนี้ 1. สาขานิวเคลียร์ 2. สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ 3. สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย 4. สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค 5. สาขาธรณีวิทยา 6. สาขาอนามันสิ่งแวดล้อม 7. สาขานิติวิทยาศาสตร์ 8. สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย มี 4 งาน 1. งานวิเคราะห์ตรวจสอบ 2. งานออกแบบและการควบคุม 3. งานอำนวยการ 4. งานให้คำปรึกษา การขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย มีขั้นตอนการขอใบอนุญาต ได้ที่ https://www.cstp.or.th/#!/howtoCertificate การขอใบอนุญาตวิชาชีพสาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย ดังนี้ 1 สำหรับผู้มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีด้านวิทยาสาสตร์สาขาเคมี เคมีอุตสาหกรรม เคมีประยุกต์ เคมีเทคนิค ให้เข้ารับการประเมินภาคทฤษฎีโดยการสอบข้อเขียน 2. สำหรับผู้มีคุณวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวข้องและผ่านการฝึกอบรมตามที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพและเทคโนโลยีกำหนด (ก) ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายน้อยกว่า 8 ปี ให้เข้ารับการประเมินภาคทฤษฎี (ข) ปฏิบัติงานที่เกี่ยวขอ้งกับสารเคมีอันตรายมากกว่า 8 ปี ให้เข้ารับการประเมินภาคทฤษฎีและการประเมินเชิงปฏิบัติการ โดย (1) การจัดทำและนำเสนอบทความเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย (2) การอภิปรายการจัดการความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอันตราย คุณสมบัติสำคัญของการขอรับใบอนุญาตวิชาชีพควบคุม 1. ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญของ สชวท.และถ้าขาดสมาชิกภาพเมื่อใด ให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลง 2. มีสมรรถนะเฉพาะ/ความรู้ประเมินจากกลุ่มวิชาที่เรียนตั้งแต่ปริญญาตรี-เอก อาจมีการพิจารณาจำนวนหน่วยกิต 3. ได้รับการอบรมจรรยาบรรณวิชาชีพ ผู้ถือใบอนุญาตจำต้องเป็นผู้มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีมาตรฐานในการทำงาน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และความชำนาญ มีความรู้ด้านกฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องทั้งวัตถุและสารเคมีระดับประเทศและต่างประเทศ มีความรู้ในเรื่องโรงงานมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีหรือไม่ รู้ระบบ FACCHEM ซึ่งเป็นระบบที่รายงานข้อมูล สารเคมีอันตรายและ วัตถุอันตรายของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยยีควบคุม คือ เป็นการประกันความมั่นใจว่าทำงานได้ดีถูกต้องตามมาตรฐานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำงานด้วยความรู้ความสามารถเพื่อที่ป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เช่น การเกิดอุบัติเหตุ ส่วนผลกระทบต่อธุรกิจหากไม่จ้างงานผู้ถือใบอนุญาตฯ คือ เกิดความไม่มั่นใจหากจ้างงานผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตฯ เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาและอุบัติเหตุจากการทำงานที่ไม่ตรงกับมาตรฐาน เช่น กรณีศึกษาการระเบิดจากการใช้สารเคมีของโรงงาน การทำงานของช่างเชื่อมที่มาทำงานในวันหยุดในโรงงานที่มีสารเคมี สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับสถานประกอบการหรือที่เกียวข้องกับการใช้สารเคมี 1. โรงงานต้องมีข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้ ความรู้ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวข้องและโรงงานมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีหรือไม่ 2. บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย 3. คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบในการดูและสารเคมีอันตราย สถานประกอบการต้องการ Professional personnel ที่มีความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill ในการหาความรู้มากขึ้น) และความชำนาญเฉพาะทาง (expertise) ที่ผ่านการอบรมเพื่อให้มีความชำนาญการในอนาคต ความปลอดภัยในอุตสาหกรรมเคมีเป็นสิ่งสำคัญ การมีบุคลกรที่มีทักษะความรู้ ความชำนาญจะส่งเสริมและพัฒนาระบบความปลอดภัยขององค์กร เพื่อความมั่นคงด้านความปลอดภัย
- ยังไม่มีรายการคำถาม
จากเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ “Weinheim Symposium on Energy Technology” เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00-18.00 น. และวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00-18.00 น. ผ่านระบบสื่อสารทางไกลนั้น มีบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญ ในหัวข้อ 1: Batteries & electrochemical energy storage (A) 2: Chemical & thermal energy storage 3: Batteries & electrochemical energy storage (B) 4: Photovoltaics & solar energy แบตเตอรี่มีความต้องการจากอุตสาหกรรมไฟฟ้า เครื่องยนต์และอื่นๆ มากขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มการใช้แบตเตอรี่เป็นจำนวนมาก จากวันนี้เป็นต้นไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับมือถือ ยานหนะไฟฟ้า วัสดุเก็บพลังงาน รวมทั้งหุ่นยนต์และโดรน ที่จำเป็นต้องแบตเตอรี่เป็นส่วนหนึ่ง จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาวัสดุที่สามารถผลิตแบตเตอรี่และเก็บประจุไฟฟ้าได้สูง และยังต้องสามารถชาร์จไฟได้หลายรอบ มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยจึงมีการผลิตและพัฒนาวัสดุสำหรับผลิตแบตเตอรี่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ วัสดุสำหรับผลิตแบตเตอรี่ที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ 1. คอมโพสิทโดยใช้สารตั้งต้นจากคาร์บอนรูพรุนที่มีการผสมแบบกายภาพกับสารเฉพาะ เช่น ZTC ในอัตราส่วนต่างๆ จากนั้นนำมาทำให้แห้งทั้งแบบเร็วและแบบช้า และเผาไล่คาร์บอนที่อุณหภูมิมากกว่า 550 องศาเซลเซียส 2. การสังเคราะห์วัสดุแอโนดสำหรับลิเทียมไอออนแบบเตอรี่ โดยใช้อัลลอยด์และนำมาทำปฏิกิริยากับลิเทียม ได้ LiZn ที่มีค่าความจุสูง รอบการใช้มีความเสถียรทางไฟฟ้า และเกิดการหลุด-เข้าของลิเทียมอย่างรวดเร็ว ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน 1. ได้รับความรู้และการนำวัสดุอนินทรีย์และอินทรีย์ที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นในการเตรียมแบตเตอรี่ 2. ได้รับความรู้ด้านนวัตกรรมการผลิตวัสดุนำไฟฟ้า 3. นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนและพัฒนางานวิจัยด้านการสังเคราะห์สารที่ใช้ในการเตรียมวัสดุที่มีสมบัติการนำไฟฟ้า (supercapacitors) สมบัติทางไฟฟ้าของสารประกอบอนินทรีย์
Thermogravimetric Analysis (TGA) 1. หลักการทำงาน เครื่อง Thermogravimetric Analysis (TGA) TGA เป็นเครื่องที่ใช้วิเคราะห์ความเสถียรของวัสดุ ได้แก่ พอลิเมอร์ เซรามิก จะนิยมใช้ในการวิเคราะห์ความเสถียรของพอลิเมอร์ เมื่อสารตัวอย่างในรูปของแข็งได้รับความร้อน จะทำการวัดน้ำหนักของวัสดุที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอุณหภูมิด้วยเครื่องชั่งที่มีความไวสูง เครื่องนี้ใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพของสารตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดูดซับก๊าซ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ หรือการระเหยของน้ำ หรือการที่มีโมเลกุลของน้ำอยู่ในโมเลกุล การแตกตัวของวัสดุ หรือการตกผลึกที่เกิดจาการเปลี่ยนเฟส สารตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์จะถูกวางไว้บนจานขนาดเล็กที่เชื่อมกับเครื่องชั่งที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสูง สิ่งเหล่านี้จะอยู่ในเตาที่ควบคุมอุณหภูมิและบรรยากาศได้ เช่น บรรยากาศออกซิเดชัน เช่น อากาศหรือออกซิเจน หากอยู่ในบรรยากาศรีดักชัน ซึ่งอาจจะเป็นก๊าซเฉื่อยเช่น ไนโตรเจน เมื่อสารตัวอย่างได้รับความร้อนที่เปลี่ยนแปลงไป จะเกิดสัญญาณการวัดที่สามารถแสดงผลในรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิต่อน้ำหนัก (TG) โดยน้ำหนักของสารตัวอย่างที่เปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิเฉพาะของสารแต่ละชนิด น้ำหนักของสารตัวอย่างที่หายไปเกิดมาจากการระเหย การสลาย หรือการเกิดปฏิกิริยา 2. ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องมือวิเคราะห์ทางความร้อน TGA ข้อดี - ใช้ง่าย - ใช้วิเคราะห์เชิงปริมาณได้ - มีความว่องไวสูง - ใช้กับสารตัวอย่างโมเลกุลสูงได้ ข้อเสีย - สารตัวอย่างถูกทำลาย ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก - ไม่ได้วิเคราะห์ในรูปแบบลายมือเฉพาะ - ใช้เวลาในการวิเคราะห์ 3. การประยุกต์กับสารตัวอย่าง - สารอินทรีย์ พอลิเมอร์ - ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ - เภสัช - วัสดุอนินทรีย์ - เซรามิกส์ - โลหะ