ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 326
ชื่อสมาชิก : นิรวรรณ ธรรมขันธุ์
เพศ : หญิง
อีเมล์ : nirawan@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 21/3/2554 9:17:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 21/3/2554 9:17:16


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
การเข้าร่วมการประชุมและเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติในงาน The 4th International Conference on Innovative Education and Technology (ICIET 2019) ณ โรงแรมไอยรา แกรนด์ พัทยา จังหวัดชลบุรี ในระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2562 โดยนำเสนอรูปแบบบรรยายภาคภาษาอังกฤษ
เครื่องสำอางเป็นสินค้าที่มีความนิยมเป็นอย่างมากในท้องตลาด เป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเคลื่อนตัวเป็นอย่างดี เนื่องจากตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคจึงทำให้มีผู้ผลิตทำการผลิตเครื่องสำอางที่มากมายหลากหลายชนิด ในการที่ผู้ผลิตจะทำการผลิตเครื่องสำอางเพื่อทำการจัดจำหน่ายนั้นจำเป็นต้องรู้นิยามและกฎหมายที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางเพื่อสามารถจำแนกผลิตภัณฑ์ที่จะจดแจ้งได้อย่างถูกต้อง หากทำการจดแจ้งผลิตภัณฑ์ที่จะจำหน่ายผิดประเภทแล้วจะทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นไม่ผ่านกฎหมายขององค์การอาหารและยา (อย.) มีผลทำให้ต้องยื่นจดทะเบียนใหม่ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น หรือหากผู้ผลิตทำการจัดจำหน่ายสินค้าไปแล้วแต่จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ผิดประเภทจะมีผลทำให้สินค้าที่วางจัดจำหน่ายเป็นสินค้าปลอม ผลิตภัณฑ์คาบเกี่ยวสามารถจดทะเบียนจดแจ้งได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยาหรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการอ้างอิงสรรพคุณของผู้ผลิตเช่น ผลิตภัณฑ์แคลเซียม สามารถจดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารได้ ขึ้นอยู่กับการอ้างสรรพคุณของผู้จดแจ้ง หากอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ว่าใช้รักษาโรค ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องขึ้นทะเบียนยา แต่หากอ้างสรรพคุณว่ามีส่วนช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ผลิตภัณฑ์นี้ก็สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้ นอกจากนั้นแล้วการทราบนิยามของเครื่องสำอางยังทำให้ผู้ประกอบการสามารถกรอกแบบรายละเอียดการผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางควบคุม (แบบ จค.) ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการออกแบบฉลากและการวางแผนโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายได้ถูกต้องโดยไม่มีการบิดเบือนหรืออวดอ้างสรรพคุณเกินจริง นิยามเครื่องสำอางในทางกฎหมายของ อย. คือ (1) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปากโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อความสะอาด ความสวนงาม หรือเปลี่ยนแปลงลีกษณะที่ปรากฏ หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่าง ๆ นั้นให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินต่าง ๆ สำหรับผิวด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย (2) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะ หรือ (3) วัตถุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสำอาง โดยสรุปเครื่องสำอาง คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์รวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก ในการจดแจ้งเครื่องสำอางผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอาง มีหน้าที่จดแจ้งรายละเอียดของสินค้าต่อผู้รับจดแจ้งและเมื่อผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งให้แล้วจึงจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางนั้นได้ ซึ่งมีอายุใช้ 3 ปี นับจากวันจดแจ้ง ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 มาตรา 14 ผู้ที่ต้องการจะจดแจ้งสามารถยื่นออนไลน์ได้แต่ต้องผ่านการอบรมการยื่นแบบออนไลน์เสียก่อน ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์ของ อย. https://goo.gl/rbqpi1 อ้างอิง: ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “อย. กับการพัฒนนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและอาหาร (Functional Food)” วันที่ 23-24 พฤษภาคม 2560