มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับความจำเป็นในการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ
วันที่เขียน 27/3/2560 8:59:13     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 19:45:43
เปิดอ่าน: 3620 ครั้ง

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะต้องตั้งขึ้นตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มหาวิทยาลัยได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 ซึ่งได้แก่ความเป็นนานาชาติ หากมีการจัดตั้งควรจะมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขในระดับสากลสู่ประชาคมโลก 2. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาที่เป็นความต้องการมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพได้ทั้งในและต่างประเทศ 3. เพื่อสร้างหลักสูตรการศึกษาระดับนานาชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ 4. เพื่อสร้างงานวิจัย และการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ 5. สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม ด้านการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน แก่ชุมชน และประชาคมโลก 6. เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบริหารจัดการ(One- stop service center) ด้านการต่างประเทศ หากมีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เราจะเห็นได้ถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน คือ บัณฑิตมีความเป็นนานาชาติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก เพิ่มอันดับมหาวิทยาลัยจากการจัดอันดับโลกให้สูงขึ้น เนื่องจากคะแนนกว่าร้อยละ 50 ขึ้นกับความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยที่คนเกิดลดลง จำนวนนักศึกษาไทยมีแนวโน้มลดลง จึงต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาจากต่างประเทศให้มากขึ้น เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งมีทุนจำนวนมากจำเพาะให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรนานาชาติเท่านั้น และส่งเสริมบรรยากาศความเป็นนานาชาติภายในมหาวิทยาลัย และส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาแก่นักศึกษาและบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับความจำเป็นในการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ


        ปัจจุบันสถาบันระดับอุดมศึกษาได้มีการแข่งขันและให้ความสำคัญเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นนานาชาติ โดยประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาลัยนานาติ จำนวน 40 แห่ง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(2556) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “อุดมศึกษาไทยเป็นแหล่งการเรียนรู้ชั้นแนวหน้าเพื่อผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพและคุณธรรมให้กับสังคมไทยและประชาคมโลก” มหาวิทยาลัยแม่โจ้ก็เช่นเดียวกัน ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ “เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนําที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ” พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ผลักดันไปสู่ความเป็นนานาชาติอย่างชัดเจน  โดยในแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มหาวิทยาลัยได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 ซึ่งได้แก่ความเป็นนานาชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติดังนี้ คือ 1) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 “การสร้างความสามารถในการแข่งขัน” และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 “การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพคน” 2) สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 “การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์” และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 10 “การต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค”

      นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาตามพันธกิจ (mission plan) ประเด็นที่ 3  ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 12 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนดเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนแผนไว้ 4 ประเด็น (2A2S) ได้แก่ 1) ความรับผิดชอบ (accountability) 2)ความเป็นเลิศด้านวิชาการและการวิจัย (academic and research excellent) 3) การบริการชุมชนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (social engagement and partnership) และ 4) ศักยภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) ซึ่งเมื่อพัฒนาในประเด็นยุทธศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้น ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายลำดับที่ 1 คือ “การจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ” ให้เป็นหน่วยงานขับเคลื่อน ยกระดับการพัฒนาพันธกิจสู่ความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนกลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยแม่โจ้บรรลุตามเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงขอจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ (Maejo University International College: MJU-IC) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของผู้บริหารและสภามหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่วิสัยทัศน์สำหรับการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ

      ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ลงนามความร่วมมือกับ 74 มหาวิทยาลัย/องค์กร จาก 16 ประเทศทั่วโลก  แต่ละปีมีกิจกรรมประมาณ 106 กิจกรรม ซึ่งสร้างเข้มแข็งทางด้านการศึกษา การวิจัย ในระดับนานาชาติเป็นอย่างมาก เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงควรมีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Maejo University International College: MJU-IC) ขึ้น หากมีการจัดตั้งควรจะมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลสู่ประชาคมโลก
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะด้านการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ที่มีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพได้ทั้งในและต่างประเทศ และสามารถทำงานได้ในสถานการณ์ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนสามารถแสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อสร้างหลักสูตรการศึกษาระดับนานาชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
  4. เพื่อสร้างงานวิจัย และการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
  5. สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม ด้านการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน แก่ชุมชน และประชาคมโลก โดยผ่านกระบวรการวิธี และการบริหารวิชาการอย่างมืออาชีพ
  6. เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบริหารจัดการ(One- stop service center)  ด้านกิจกรรม บุคลากร และนักศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

 

     หากมีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เราจะเห็นได้ถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน 5 ประการ คือ

  1. เพิ่มอันดับมหาวิทยาลัยจากการจัดอันดับโลกให้สูงขึ้น เนื่องจากคะแนนกว่าร้อยละ 50 ขึ้นกับความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย
  2. ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยที่คนเกิดลดลง จำนวนนักศึกษาไทยมีแนวโน้มลดลง จึงต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาจากต่างประเทศให้มากขึ้น
  3. เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งมีทุนจำนวนมากจำเพาะให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรนานาชาติเท่านั้น
  4. ส่งเสริมบรรยากาศความเป็นนานาชาติภายในมหาวิทยาลัย และส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาแก่นักศึกษาและบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น

 

     ดังนั้นถ้ามหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ต่อมหาวิทยาลัย สังคมไทย และสังคมโลก อันจะทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้จะเป็นผู้นำและเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรในระดับนานาชาติอย่างแท้จริง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=671
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 18:22:39   เปิดอ่าน 3060  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Creative Commons » จัดการลิขสิทธิ์โลกออนไลน์ ด้วยมาตรฐาน Creative Commons
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โด...
creative commons  ลิขสิทธิ์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน อำนาจ ชิดทอง  วันที่เขียน 21/6/2562 15:11:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 19:07:32   เปิดอ่าน 95092  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง