Blog : Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
รหัสอ้างอิง : 150
ชื่อสมาชิก : พูนพัฒน์ พูนน้อย
เพศ : ชาย
อีเมล์ : poonpat@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 24/1/2554 11:09:02
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 24/1/2554 11:09:02

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารกับเรา ในบทความนี้จึงจะขอนำเสนอเทคนิคการฟังแบบ Active มีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้ครับ 1. นกแก้ว: ลักษณะเด่นของนกแก้ว คือ สามารถเลียนแบบเสียงต่างๆ ได้ เวลาสนทนาเราลองเป็นนกแก้วดูครับ เค้าพูดอะไรกับเราให้ลองทวนคำพูดที่เค้าพูดออกมา เป็นการบอกว่าเราได้ยินสิ่งที่เค้าพูดแล้วนะ ถ้าเราสามารถทวนคำพูดได้แสดงว่าเราฟังอย่างตั้งใจ 2. ฟองน้ำ: มีลักษณะที่นุ่มนวลและซึมซับสิ่งที่อยู่รอบข้างได้เป็นอย่างดี เมื่อเราเป็นคู่สนทนาที่มีลักษณะแบบฟองน้ำเราจะใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล ท่าทางที่เป็นมิตร ภาษาที่ไพเราะ แล้วรับฟังสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสาร โดยไม่ขัดจังหวะ การยิ้ม การสบตา การโน้มตัวเข้าหาผู้พูด ก็เป็นท่าทางที่ดีที่แสดงออกว่าเรากำลังฟัง 3. ลูกหมา: ลูกหมามีความอยากรู้อยากเห็น ในบางการสนทนา เราอาจถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังคุย หากคำถามนั้นช่วยให้สิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อชัดเจนมากขึ้น ที่สำคัญแสดงให้เห็นว่าเราให้ความสนใจกับคำพูดของเขา ลองฟังแบบนกแก้ว ฟองน้ำและลูกหมา ดูไหมครับ บางทีเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เราได้ฟังมาตลอดก็ได้ //ถอดประสบการณ์การอบรม Design thinking: Gain empathy//
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารกับเรา ในบทความนี้จึงจะขอนำเสนอเทคนิคการฟังแบบ Active มีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้ครับ 1. นกแก้ว: ลักษณะเด่นของนกแก้ว คือ สามารถเลียนแบบเสียงต่างๆ ได้ เวลาสนทนาเราลองเป็นนกแก้วดูครับ เค้าพูดอะไรกับเราให้ลองทวนคำพูดที่เค้าพูดออกมา เป็นการบอกว่าเราได้ยินสิ่งที่เค้าพูดแล้วนะ ถ้าเราสามารถทวนคำพูดได้แสดงว่าเราฟังอย่างตั้งใจ 2. ฟองน้ำ: มีลักษณะที่นุ่มนวลและซึมซับสิ่งที่อยู่รอบข้างได้เป็นอย่างดี เมื่อเราเป็นคู่สนทนาที่มีลักษณะแบบฟองน้ำเราจะใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล ท่าทางที่เป็นมิตร ภาษาที่ไพเราะ แล้วรับฟังสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสาร โดยไม่ขัดจังหวะ การยิ้ม การสบตา การโน้มตัวเข้าหาผู้พูด ก็เป็นท่าทางที่ดีที่แสดงออกว่าเรากำลังฟัง 3. ลูกหมา: ลูกหมามีความอยากรู้อยากเห็น ในบางการสนทนา เราอาจถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังคุย หากคำถามนั้นช่วยให้สิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อชัดเจนมากขึ้น ที่สำคัญแสดงให้เห็นว่าเราให้ความสนใจกับคำพูดของเขา ลองฟังแบบนกแก้ว ฟองน้ำและลูกหมา ดูไหมครับ บางทีเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เราได้ฟังมาตลอดก็ได้ //ถอดประสบการณ์การอบรม Design thinking: Gain empathy//
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3181  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 13/9/2567 8:03:04

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้